SHARE

คัดลอกแล้ว

โควิดระลอก 3 ไม่ใช่เรื่องตลก แต่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อคนไทยในทุกมิติ ทั้งสุขภาพกาย สุขภาพจิต เศรษฐกิจปากท้อง การศึกษา และอื่นๆ

ตั้งแต่ต้นเดือน เม.ย. – 28 มิ.ย. 64 ไทยพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในระลอก 3 แล้วกว่า 220,000 คน โดยสัปดาห์ที่ผ่านมาพบผู้ติดเชื้อใหม่วันละ 3,000 – 5,000 คน รวมพบผู้ติดเชื้อทั้งหมด 249,853 คน นับตั้งแต่โควิด-19 เริ่มระบาดในไทย

จำนวนผู้ป่วยใหม่เพิ่มขึ้นสูงกว่าจำนวนผู้ป่วยที่รักษาหาย ในช่วง 9 วันที่ผ่านมา

  • 20 มิ.ย. พบผู้ติดเชื้อใหม่ 3,682 คน ผู้ป่วยรักษาหาย 2,401 คน
  • 21 มิ.ย. พบผู้ติดเชื้อใหม่ 3,175 คน ผู้ป่วยรักษาหาย 2,030 คน
  • 22 มิ.ย. พบผู้ติดเชื้อใหม่ 4,059 คน ผู้ป่วยรักษาหาย 2,047 คน
  • 23 มิ.ย. พบผู้ติดเชื้อใหม่ 3,174 คน ผู้ป่วยรักษาหาย 1,941 คน
  • 24 มิ.ย. พบผู้ติดเชื้อใหม่ 4,108 คน ผู้ป่วยรักษาหาย 1,578 คน
  • 25 มิ.ย. พบผู้ติดเชื้อใหม่ 3,644 คน ผู้ป่วยรักษาหาย 1,751 คน
  • 26 มิ.ย. พบผู้ติดเชื้อใหม่ 4,161 คน ผู้ป่วยรักษาหาย 3,569 คน
  • 27 มิ.ย. พบผู้ติดเชื้อใหม่ 3,995 คน ผู้ป่วยรักษาหาย 2,253 คน
  • 28 มิ.ย. พบผู้ติดเชื้อใหม่ 5,406 คน ผู้ป่วยรักษาหาย 3,343 คน

ในขณะที่โรงพยาบาลหลายแห่งออกมาประกาศงดตรวจหาเชื้อโควิดชั่วคราว เพราะเตียงเต็ม ไม่มีเตียงรองรับผู้ป่วย และไม่มีบุคลากรการแพทย์ดูแล ผู้ป่วยจึงต้องรอเตียงอยู่บ้านและบางรายเสียชีวิตที่บ้านของตนเอง

จำนวนผู้เสียชีวิตจากโควิดระลอก 3 อยู่ที่ 1,840 คน (1 เม.ย. – 28 มิ.ย. 64) โดยเฉพาะสัปดาห์ที่ผ่านมามีผู้เสียชีวิตวันละ 20 – 50 คน

  • 20 มิ.ย. มีผู้เสียชีวิต 20 คน
  • 21 มิ.ย. มีผู้เสียชีวิต 29 คน
  • 22 มิ.ย. มีผู้เสียชีวิต 35 คน
  • 23 มิ.ย. มีผู้เสียชีวิต 51 คน
  • 24 มิ.ย. มีผู้เสียชีวิต 31 คน
  • 25 มิ.ย. มีผู้เสียชีวิต 44 คน
  • 26 มิ.ย. มีผู้เสียชีวิต 51 คน
  • 27 มิ.ย. มีผู้เสียชีวิต 42 คน
  • 28 มิ.ย. มีผู้เสียชีวิต 22 คน

รวมมีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 1,934 คน นับตั้งแต่โควิด-19 เริ่มระบาดในประเทศไทย

ด้านสุขภาพจิต ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข แสดงให้เห็นว่าปี 2563 อัตราการฆ่าตัวตายของคนไทยเพิ่มขึ้น จาก 6.64 คน ต่อประชากร 1 แสนคน ในปี 2562 เป็น 7.37 คน ต่อประชากร 1 แสนคน ในปีที่แล้ว และสูงกว่าค่าเฉลี่ยช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

ผลกระทบด้านการศึกษา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ระบุว่าปีการศึกษา 2564 มีเด็กหลุดจากระบบการศึกษาแล้ว 6,568 คน พบหลายครอบครัวยากจนเฉียบพลัน และคาดว่าสิ้นปีการศึกษา 2564 จะมีเด็กหลุดจากระบบการศึกษากว่า 65,000 คน แบ่งเป็น

  • ชั้นประถมศึกษา ประมาณ 4% จากเด็กประถมทั้งหมด
  • ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ประมาณ 19-20% จากเด็ก ม.ต้น ทั้งหมด
  • ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ประมาณ 48% จากเด็ก ม.ปลาย ทั้งหมด

นอกจากนั้น กสศ. ยังพบอีกด้วยว่า ครอบครัวยากจนต้องกู้เงินมาผ่อนมือถือ เพื่อให้ลูกเรียนออนไลน์

ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ประชาชนจำนวนมากประสบกับภาวะ Income Shock หรือรายได้ลดลงอย่างกะทันหัน ส่งผลให้ความสามารถในการชำระหนี้ลดลงและมีหนี้สูงขึ้น ช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ครัวเรือนไทยมีหนี้เพิ่มขึ้นประมาณ 500,000 ล้านบาท จาก 13,489,333 ล้านบาท (79.8% ต่อ GDP) ในไตรมาส 4 ปี 2562 กลายเป็น 14,020,730 ล้านบาท (89.3% ต่อ GDP) ในไตรมาส 4 ปี 2563

ส่วนการจ้างงาน ช่วงต้นปี 2564 ธนาคารแห่งประเทศไทยประเมินว่าโควิด-19 ส่งผลให้มีคนตกงาน เสี่ยงตกงาน และเสมือนว่างงาน รวมกันประมาณ 4,700,000 คน อย่างไรก็ดี การประเมินดังกล่าวยังไม่รวมผลกระทบจากโควิดระลอก 3

หมายเหตุ : เสมือนว่างงาน หมายถึง ถูกลดชั่วโมงทำงาน ส่งผลให้รายได้ลดลง (ทำงานน้อยกว่า 24 ชั่วโมง/สัปดาห์)

 

ที่มา

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า