Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ชวนประชาชนร่วมตั้งชื่อลูกพะยูน วัย 3 เดือน หลังเกยตื้นที่ จ.กระบี่ และเจ้าหน้าที่ย้ายมาพักฟื้นที่ศูนย์ช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหายากภูเก็ต แหลมพันวา เมื่อวันที่ 1 ก.ค.ที่ผ่านมา ล่าสุดลูกพะยูนปรับตัวได้ดีขึ้นมาก

วันนี้ (4 ก.ค.62) กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) โพสต์คลิปการป้อนนมลูกพะยูน เพศผู้ อายุ 3 เดือน ความยาว 111 เซนติเมตร รอบตัว 66 เซนติเมตร น้ำหนัก 25 กิโลกรัม หลังชาวบ้านและเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือจากการเกยตื้นที่บ่อม่วง จ.กระบี่ พร้อมเคลื่อนย้ายมาพักฟื้นอยู่ที่โรงพยาบาล ศูนย์ช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหายากภูเก็ต แหลมพันวา เมื่อวันที่ 1 ก.ค.ที่ผ่านมา

สำหรับคลิปดังกล่าวมีความยาว 2.42 นาที เป็นภาพขณะทีมสัตวแพทย์ป้อนนมลูกพะยูน พร้อมระบุว่า การป้อนนมจะใช้นมผงทดแทนสำหรับลูกสัตว์ (แบบเดียวกับมาเรียม) ผสมวิตามินและพลังงานทดแทน โดยมีการให้ทุกชั่วโมง ขณะนี้ลูกพะยูนปรับตัวได้ดีขึ้นมาก รอผลการตรวจเชื้อ เบื้องต้นต้องอยู่ที่ศูนย์วิจัยฯ หากไม่พบเชื้อและแข็งแรงขึ้นอาจปรับย้ายไปอยู่ที่เดียวกับพะยูนมาเรียมในช่วงเวลาที่เหมาะสม

ขณะที่เมื่อวานนี้ (3 ก.ค.62) นายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ลงพื้นที่ จ.ภูเก็ต เพื่อติดตามกรณีลูกพะยูนตัวดังกล่าวพลัดหลงกับแม่และเกยตื่น พร้อมสั่งการให้เร่งติดตั้งกล้อง CCTV เพื่อให้ประชาชนได้ติดตามการทำงานของทีมสัตวแพทย์ และอาการของลูกพะยูนอย่างใกล้ชิด

“หลังจากที่มีการนำมาอนุบาลพบว่า ขณะนี้มีสภาพร่างกายที่แข็งแรงขึ้น ซึ่งเป็นที่น่าดีใจอย่างยิ่ง แต่ยังคงต้องมีการติดตามอาการอย่างใกล้ชิด เนื่องจากขณะนี้อยู่ในการรอผลตรวจจากห้องปฏิบัติการว่า มีการติดเชื้อหรือไม่อย่างไร เนื่องจากการดูแลพะยูนไม่ค่อยปรากฏมากนัก และถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย ซึ่งได้กำชับให้ทางเจ้าหน้าที่และผู้เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะสัตวแพทย์ให้ดูแลอย่างใกล้ชิด และยังคงต้องดูแลในสถานที่ปิด เพราะค่อนข้างบอบช้ำมาก โดยจะมีการประเมินกันอีกครั้งเมื่อสภาพร่างกายแข็งแรงดีว่าจะนำไปดูแลในพื้นที่เปิดได้หรือไม่อย่างไร ซึ่งพะยูนตัวนี้แตกต่างจากน้องมาเรียมพะยูนที่พบในพื้นที่ จ.ตรัง ที่เลี้ยงในพื้นที่เปิด โดยได้ให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ และได้กำชับ พร้อมระดมกำลังสัตวแพทย์ในพื้นที่อื่นมาช่วยอีกแรง”

นายจตุพร กล่าวว่า ส่วนว่าจะเอาไปเลี้ยงดูร่วมกับมาเรียมได้หรือไม่นั้น คงต้องมีการพิจารณารายละเอียดทุกมิติกันอีกครั้ง เช่น สภาพร่างกาย ความแข็งแรง เป็นต้น  หากพิจารณาเห็นแล้วว่ามีความแข็งแรงสมบูรณ์ 100 %  ไม่มีบาดแผลต่างๆ แล้ว จะมีการหารือกันอีกครั้งว่า จะนำไปไว้ยังพื้นที่เปิดที่ใดที่เหมาะสม

“ขณะนี้ทางเจ้าหน้าที่ได้มีการเฝ้าสังเกตพื้นที่ที่มีการพบพะยูนทั้ง 2 จุด  ซึ่งพบว่าอยู่ห่างกันประมาณ 60 กิโลเมตร โดยจะมีการเฝ้าระวังเป็นพิเศษในพื้นที่ที่เป็นแหล่งหญ้าทะเล เพราะเป็นที่อยู่อาศัยของพะยูน จึงทำให้มีโอกาสเกยตื้นค่อนข้างมาก ฉะนั้นต้องขอบคุณพี่น้องอาสาสมัครเครือข่ายทางทะเลในการช่วยเป็นหูเป็นตาและระวังให้กับเจ้าหน้าที่อีกทางหนึ่ง  เพราะส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่ผ่านมาการอบรมมาแล้ว เมื่อเจอจะมีการแจ้งเจ้าหน้าที่ฯ เพื่อให้เข้ามาตรวจสอบทันที และมีการดูแลพยาบาลในเบื้องต้นอย่างถูกวิธีด้วย เพราะเมื่อมีการแจ้งเร้วและมีการดูแลเบื้องต้นอย่างถูกวิธีก็ทำให้สัตว์มีโอกาสรอดค่อนข้างมาก”

สำหรับสถานการณ์ของพะยูนในประเทศไทย ว่า ในช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมาสถานการณ์ดีขึ้นค่อนข้างมาก จากก่อนหน้านี้มีประมาณ 100 กว่าตัว แต่ปัจจุบันเพิ่มเป็นประมาณ 300 กว่าตัว เฉาะในพื้นที่ จ.ตรัง มีประมาณ 200 ตัว  ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่ายินดี และขณะเดียวกันเราก็ต้องช่วยกันดูแล พร้อมกันนี้ขอขอบคุณพี่น้องประชาชนในการช่วยเจ้าหน้าที่อีกทางหนึ่งด้วย

“สิ่งที่เป็นห่วงและกังวลเกี่ยวกับการดูแลเฝ้าระวังพะยูน กรณีที่เป็นพื้นที่เปิด เนื่องจากพะยูนจะอยู่รวมตัวกันเป็นฝูง ที่น่าเป็นห่วง คือ เครื่องมือการทำประมง เพราะจากการสังเกตพะยูนที่มาเกยตื้น พบว่าส่วนหนึ่งได้รับบาดเจ็บจากเครื่องมือประมง อาจเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เนื่องจากเขาอยู่รวมตัวกันเป็นฝูงใหญ่ และขนาดลำตัวค่อนข้างใหญ่ มีการเคลื่อนตัวช้า ขณะเดียวกันจะได้ทำการเพิ่มแหล่งหญ้าทะเล เพราะเป็นแหล่งอาหารของพะยูน เมื่อมีแหล่งอาหารเพิ่มมากขึ้นก็จะทำให้พะยูนมีโอกาสเพิ่มมากขึ้น” นายจตุพร กล่าว

อธิบดีกรม ทช. ยังเชิญชวนประชาชนร่วมตั้งชื่อลูกพะยูนตัวใหม่ พร้อมเหตุผลในการตั้งชื่อ เพื่อเป็นกำลังใจและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และดูแลพะยูน โดยจะปิดรับชื่อในวันที่ 21 ก.ค.นี้ และประกาศผลในวันที่ 22 ก.ค.นี้ ส่วนกรณีที่มีชื่อซ้ำจะพิจารณาจากเหตุผลและลำดับในการส่งชื่อ เพื่อคัดเลือกหาชื่อที่เหมาะสม ส่วนของมาเรียมที่ไม่มีการประกวด เพราะได้รับการตั้งชื่อจากชาวบ้านบนเกาะลิบง แปลว่า สาวน้อยที่มีความสวยงามแห่งท้องทะเล

กติกาตั้งชื่อ “ลูกพะยูน”

  • กดถูกใจเพจ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
  • ส่งชื่อ พร้อมเหตุผลที่โดนใจ ใต้โพสต์ “อธิบดี ทช. ชวนตั้งชื่อลูกพะยูนน้อยตัวใหม่บ้านบ่อม่วง”
  • ติดแฮชเทค #DMCRTH #รักษ์ทะเล #สัตว์ทะเลสงวน
  • แชร์โพสต์นี้ไปยัง Facebook ส่วนตัว และเปิดเป็นสาธารณะ
  • ร่วมกิจกรรมได้จนถึงวันที่ 21 ก.ค.นี้ เวลา 18.00 น.
  • คำตอบและเหตุผลที่โดนใจคณะกรรมการมากที่สุดจะได้รับของรางวัล
  • ประกาศรายชื่อผู้โชคดี วันที่ 22 ก.ค.2562

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า