Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

หลังจากรัฐบาลญี่ปุ่นและคณะกรรมการโอลิมปิกสากลประกาศอย่างเป็นทางการแล้วว่า มหกรรมโอลิมปิก โตเกียว 2020 จะเลื่อนจัดอย่างเป็นทางการแล้วเป็นปีหน้า คำถามก็คือ แล้วใครจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดสำหรับการเลื่อนครั้งนี้ และมันจะมีจำนวนเท่าใดกันแน่

คำตอบที่เป็นไปได้มากที่สุดคือ “ผู้เสียภาษี” ชาวญี่ปุ่นนั่นเอง

 

 

ในบทบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์อาซาฮี ชิมบุน ได้วิพากษ์วิจารณ์นายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรี และคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ว่าตัดสินใจล่าช้าไปมาก และการกระทำครั้งนี้ “ความไม่ไว้วางใจของประเทศต่างๆ ที่มีต่อ IOC และความเป็นผู้นำของญี่ปุ่น ยิ่งทำให้สถานการณ์แย่ลง”

หลังการประกาศของนายอาเบะ นางยูริโกะ โคอิเกะ ผู้ว่าการกรุงโตเกียว กล่าวเสริมว่า โอลิมปิกในปีหน้าจะยังคงเรียกว่า โตเกียว 2020

แต่การรักษาแบรนด์ “2020” จะช่วยรัฐบาลให้ทำตามสัญญาที่จะให้การสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็กที่ได้รับผลกระทบจากการเลื่อน ก่อนหน้านี้บรรดาผู้จำหน่ายที่มีสินค้าที่ระลึกในสต็อก ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับการจำหน่ายสินค้า หากการแข่งขันต้องเลื่อนไปปีหน้า โดยในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา มีการนำสินค้าที่ระลึกวางจำหน่ายในร้านค้าออนไลน์จำนวนมาก

ด้านผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าการเลื่อนจะไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในระยะยาว โดยนักเศรษฐศาสตร์จากบริษัท เอสเอ็มบีซี นิกโกะ เซเคียวริตี้ส์ ได้ระบุในรายงานประจำเดือนมีนาคมว่า “ค่าใช้จ่ายสำหรับการเลื่อนการแข่งขันจะยังคงเหมือนเดิม และผู้ชมจะกลับมาเหมือนเดิมหากสถานการณ์การระบาดที่เลวร้ายที่สุดได้ผ่านไปแล้ว”

อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์จากสถาบันวิจัยโนมุระ กล่าวว่า หากการเลื่อนการแข่งขัน ตามมาด้วยวิกฤตทางการเงินที่เป็นผลจากการะบาดของไวรัส เศรษฐกิจญี่ปุ่นก็จะได้รับความเสียหายอย่างหนัก “มันจะเป็นเหมือนวิกฤตการเงินโลกปี 2008 และผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ จะลดลงราวร้อยละ 2 หรือ 3

นักเศรษฐศาสตร์จากโนมุระ ยังชี้ไปที่เศรษฐกิจของจีน ซึ่งเข้าสู่ภาวะชะลอตัวตั้งแต่ก่อนเกิดการระบาด โดยกล่าวว่าจีนซึ่งเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น ยังไม่มีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวจากผลกระทบของโควิด-19 เป็นระยะเวลาอย่างน้อยหนึ่งปี ขณะที่ภาวะการท่องเที่ยวและการส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มลดลง เป็นปัจจัยที่ยิ่งทำให้ญี่ปุ่นฟื้นตัวได้ยาก

นายโตชิโระ มูโตะ ประธานบริหารการจัดการแข่งขัน กล่าวว่า เมื่อมีการประกาศเลื่อน คำถามที่ว่า “แล้วจะต้องแบกรับค่าใช้จ่ายอีกเท่าไหร่” คำตอบคือเรายังไม่มีตัวเลขในขณะนี้ และคำถามที่ว่า “แล้วใครจะเป็นผู้แบกรับค่าใช้จ่ายทั้งหมด” เขาตอบว่า ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะคุยกันถึงเรื่องนี้

หนังสือพิมพ์นิกเกอิของญี่ปุ่น คาดการณ์ว่าค่าใช้จ่ายจะอยู่ที่ราว 2,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 81,000 ล้านบาท

ทั้งนี้ คณะกรรมการโอลิมปิกญี่ปุ่น จะต้องขอเจรจาเรื่องค่าเช่าสถานที่ใหม่ จ่ายค่าบำรุงรักษาสนามแข่งขัน และอาจต้องหาสนามอื่น พวกเขายังต้องหารือกับบริษัทด้านอสังหาริมทรัพย์ ที่เตรียมจำหน่ายอพาร์ทเมนต์ที่ใช้เป็นหมู่บ้านนักกีฬา นอกจากนั้น เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกว่า 3,500 คน อาจมีบางคนต้องตกงาน

นอกจากนั้น คณะกรรมการฯ ยังได้แต่งตั้งให้ บริษัท เดนท์สุ อิงค์ ประเทศญี่ปุ่น เป็นผู้รับสิทธิจากคณะกรรมการโอลิมปิกสากล หรือ IOC เพื่อเป็นตัวแทนบริหารสิทธิด้านผู้สนับสนุนการแข่งขัน มูลค่ากว่า 3,300 ล้านดอลลาร์ หรือมากกว่าโอลิมปิกครั้งก่อนๆ ถึง 2 เท่า บริษัทต่างๆ จึงอาจจะอยากรู้ว่าพวกเขาจะสามารถขอคืนเงิน หรืออาจต้องต่อสัญญาใหม่หรือไม่

และจนถึงขณะนี้ก็ยังคงไม่มีความคืบหน้าใดๆ แม้แต่กำหนดวันแข่งขันใหม่ แทนกำหนดเดิมในระหว่างวันที่ 24 กรกรฎาคม ถึง 9 สิงหาคม

นายโยชิโระ โมริ ประธานคณะกรรมการจัดการแข่งขันและอดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เราจำเป็นจะต้องพิจาณาเรื่องตารางการแข่งขัน กิจกรรมระดับนานาชาติ และจะต้องปรับอีกหลายอย่างก่อนที่จะมีการพิจารณากรอบเวลาที่แน่นอน

ปัญหาการจัดตารางการแข่งขันอาจได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 และภาวะเศรษฐกิจขาลงของประเทศ

นายมูโตะกล่าวว่า จะต้องมีการหารือกับ IOC ซึ่งทำหน้าที่ดูแลการแข่งขันทั้งหมดในอนาคต แต่ภาระเรื่องเรื่องค่าใช้จ่ายคือสิ่งที่ประเทศเจ้าภาพจะต้องจัดการ

คณะกรรมการฯ และหน่วยงานรัฐบาลญี่ปุ่นระบุว่า งบประมาณสำหรับจัดโอลิมปิกอยู่ที่ราว 12,600 ล้านดอลลาร์ หรือราว 378,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม รายงานจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเมื่อเดือนธันวาคมระบุตัวเลขไว้ที่ 28,000 ล้านดอลลาร์ หรือราว 840,000 ล้านบาท ที่ผ่านมามีการหารือกันว่า ค่าใช้จ่ายใดที่มีความเกี่ยวข้องหรือไม่เกี่ยวข้องกับโอลิมปิกบ้าง และไม่แน่ชัดว่าอาจมีการปรับแต่งตัวเลขทางบัญชีหรือไม่

ทั้งนี้ เงินสนับสนุนจากภาคเอกชนอยู่ที่ราว 5,600 ล้านดอลลาร์ จากงบประมาณปัจจุบันทั้งหมด ส่วนที่เหลือซึ่งไม่แน่ชัดว่าเท่าใดกันแน่ คือเงินภาษีของประชาชน

คณะกรรมการฯ ใช้งบประมาณด้านสถานที่จัดการแข่งขันทั้งแบบชั่วคราวและถาวร ไปกว่า 7,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งกว่าร้อยละ 85 มาจากเงินกู้ของรัฐบาล ค่าใช้จ่ายที่สูงที่สุดคือการก่อสร้างสนามกีฬาแห่งชาติแห่งใหม่ โดยรัฐบาลตั้งงบประมาณไว้ที่ 1,430 ล้านดอลลาร์

นอกจากนั้น IOC ยังให้ความช่วยเหลือด้านเงินสนับสนุนอีกราว 1,300 ล้านดอลลาร์ ซึ่งนับว่าไม่มากนัก ทั้งนี้ IOC มีรายได้ในช่วงระหว่างปี 2013-2016 ราว 5,700 ล้านดอลลาร์ ซึ่งกว่า 3 ใน 4 มาจากการจำหน่ายสิทธิในการออกอากาศ และอีกร้อยละ 18 มาจากผู้สนับสนุน นอกจากนั้น IOC ยังมีกองทุนสำรองมูลค่าราว 2,000 ล้านดอลลาร์ และการประกันภัยเพื่อครอบคลุมความเสียหาย

นายเบนต์ ฟลูแบร์ก นักภูมิศาสตร์ด้านเศรษฐกิจจากมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด กล่าวว่า IOC ควรเพิ่มเงินสนับสนุน เพื่อให้ตนเองอยู่ในฐานะ “ผูกขาด” แต่เพียงรายเดียว ผลการศึกษาพบว่า มหกรรมโอลิมปิก มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยสูงที่สุดในบรรดาเมกะโปรเจ็คต์ทั้งหลาย

ฟลูแบร์ก กล่าวว่า IOC ควรเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่สำหรับการจัดการแข่งขัน ซึ่ง IOC ก็จะได้ผลกำไรด้วย ส่วนคณะกรรมการจัดการแข่งขัน และรัฐบาลญี่ปุ่น จะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายที่เหลือ เว้นแต่ IOC จะยกเว้นและเพิ่มกองทุนสำรอง ซึ่งเป็นสิ่งที่ IOC ควรทำเมื่อพิจารณาจากมุมมองด้านจริยธรรม

การแข่งขันครั้งนี้ จะใช้สถานที่จัดการแข่งขัน 42 แห่ง จาก 33 ชนิดกีฬา และอีก 1 สนามพิเศษสำหรับพาราลิมปิก นายมูโตะกล่าวว่า ยังไม่แน่ชัดว่าจะเหลือสนามกี่แห่งที่จะพร้อมจัดการแข่งขันได้ในอีกหนึ่งปีต่อจากนี้ และบางแห่งอาจจะต้องจ่ายค่าเช่าไปเรื่อยๆ จนถึงปีหน้า เพราะสถานที่บางแห่งอาจต้องใช้เวลานานนับปีสำหรับการเตรียมพร้อม

 

 

แต่ปัญหาที่น่าปวดหัวที่สุดคือหมู่บ้านนักกีฬา ซึ่งใช้เป็นที่พักของนักกีฬาโอลิมปิกและสตาฟฟ์โค้ช กว่า 11,000 คน และอีกกว่า 4,400 คนสำหรับพาราลิมปิก โดยสถานที่ตั้งซึ่งอยู่บริเวณอ่าวโตเกียว ประกอบด้วยห้องพัก 5,632 ห้อง เดิมทีจะถูกขายหลังเสร็จสิ้นการแข่งขัน และตอนนี้มีการซื้อขายแล้วกว่า 1 ใน 4 บางห้องมีมูลค่ามากกว่า 1 ล้านดอลลาร์

บริษัท มิตซุย ฟุโดซัง หนึ่งในผู้พัฒนาพื้นที่ กล่าวว่า ได้ยกเลิกการขายหมู่บ้านนักกีฬาแล้ว ซึ่งประกอบด้วยอาคาร 23 หลัง

แม้จะต้องมีการคัดเลือกอาสาสมัครใหม่ทั้งหมดอีกกว่า 80,000 คน ที่อาจทำให้เกิดค่าใช้จ่ายและสร้างภาระเพิ่ม ทางการกรุงโตเกียวยังวางแผนที่จะใช้อาสาสมัครกว่า 30,000 คน เพื่อช่วยผู้ชมเรื่องการเดินทางด้วยรถไฟ สนามแข่งขันต่างๆ และให้การช่วยเหลือนักท่องเที่ยวต่างชาติ

ขณะที่ความต้องการตั๋วการแข่งขันถือว่าสูงมาก หรือมากกว่า 10 เท่า เมื่อเทียบจำนวนตั๋วที่มีอยู่กว่า 7.8 ล้านใบ คาดว่ายอดจำหน่ายตั๋วแข่งขันจะอยู่ที่ราว 1,000 ล้านดอลลาร์

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเหตุสุดวิสัยจากการระบาด อาจทำให้ผู้จัดการแข่งขันต้องเผชิญกับปัญหาการคืนเงินค่าตั๋ว หากกการระบาดของไวรัสเกินกว่าที่จะควบคุมได้

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า