Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กสิกรไทยฟันธง ถ้าสงครามรัสเซีย-ยูเครนยืดเยื้อ เศรษฐกิจโลกและไทยอาจเปลี่ยนจาก Stagflation สู่ภาวะถดถอยแน่นอน

ตั้งแต่ราวปลายปีที่ผ่านมา สภาวะเศรษฐกิจที่นักวิชาการและสถาบันการเงินเริ่มพูดถึงมากขึ้นเรื่อยๆ และกังวลว่าจะเกิดขึ้นก็คือภาวะ Stagflation

ซึ่งหมายถึงการที่เงินเฟ้อ (Inflation) และภาวะการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ (Stagnation) เกิดขึ้นพร้อมกัน

เฉพาะวิกฤตเศรษฐกิจจากโควิด ก็ทำให้ผู้เชี่ยวชาญทางการเงินกังวลว่าโลกและไทยอาจเจอภาวะ Stagflation อยู่แล้ว

แต่เมื่อมีสงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่ตอนนี้ครบรอบ 1 เดือนที่รัสเซียบุกแล้ว สภาวะนี้ก็ดูจะรุนแรงมากยิ่งขึ้น

คือเงินเฟ้อพุ่งตัวสูงขึ้นอย่างรุนแรง หลายที่เริ่มปรับคาดการณ์จีดีพีลง

โดย ‘กอบสิทธิ์ ศิลปชัย’ ผู้บริหารงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย บอกว่า อย่างเศรษฐกิจโลกที่ต้นปีประเมินไว้ว่าโต 4.1% ก็น่าจะลดลงอีก

สหรัฐอเมริกา ตอนแรกนักเศรษฐศาสตร์ประเมินเงินเฟ้อไว้ที่ 2% ปรับเป็น 6.2% ปรับลดคาดการณ์จีดีพีจาก 4% เป็น 3.5%

ส่วนของไทยเงินเฟ้อพุ่งขึ้นมาอยู่ที่ 5.3% จีดีพีเองก็น่าจะปรับลดลงจาก 3.7% เช่นกัน

และแม้หลายที่ชะล่าใจและประเมินว่าน่าจะเจอสถานการณ์นี้น่าจะเกิดขึ้นไม่นาน แต่กสิกรไทยประเมินว่าเศรษฐกิจโลกและไทยเสี่ยงมากที่จะเปลี่ยนจาก Stagflation แล้วเข้าสู่ ‘ภาวะถดถอย’ (Recession) มากขึ้น

ทำไมถึงเป็นแบบนั้น?

‘กอบสิทธิ์’ อธิบายว่า ภาวะ Stagflation ที่รุนแรงขึ้น มาจากแรงกดดันอุปทานที่เพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะพลังงาน ที่รัสเซียเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลก

การคว่ำบาตรรัสเซียในเรื่องพลังงาน ส่งผลให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้น จนตอนนี้แตะเหนือระดับ 110 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลไปแล้ว

เมื่อราคาน้ำมันเพิ่ม ก็เป็นการเพิ่มต้นทุนให้ผู้ประกอบการ ซึ่งท้ายที่สุดก็จะผลักต้นทุนนั้นมาให้ผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคซื้อของแพงขึ้น เข้าสู่สภาวะเงินเฟ้อนั่นเอง

ซึ่งเมื่อเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น หลายภาคส่วนก็พยายามกดดันให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ Fed ควบคุมเงินเฟ้อไม่ให้บานปลาย

และ Fed เองก็ดูเหมือนจะสื่อสารว่ากำลังพยายามจะจัดการเงินเฟ้อด้วยการปรับขึ้นดอกเบี้ยนั่นเอง

โดยเมื่อสัปดาห์ก่อน Fed ประกาศปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% เป็นการปรับขึ้นครั้งแรกในรอบ 4 ปี

ซึ่ง ‘กอบสิทธิ์’ มองว่าปีนี้มีโอกาสสูงมากที่เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยอีก 7-8 ครั้ง เนื่องจาก Fed มองว่าเงินเฟ้อไม่ใช่เรื่องชั่วคราวอีกต่อไป

แต่ถึงอย่างนั้น การที่ Fed ขึ้นดอกเบี้ยเพื่อบรรเทาเงินเฟ้อ จะทำให้โครงสร้างดอกเบี้ยเปลี่ยนแปลงมากขึ้น พันธบัตรรัฐบาลผลตอบแทนระยะสั้นให้ผลดีกว่าระยะยาว

และเมื่อเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้นไปจนถึงจุดที่สินค้ามีราคาแพงเกินกว่าที่ผู้บริโภคจะซื้อได้ ส่งผลให้สภาพคล่องลด ระดับเงินเฟ้อลดลง กดราคาสินค้าลง กดปริมาณสินค้าที่จะขายในตลาด อุปทานขาดแคลน และเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอยนั่นเอง

—–

ไทยก็ได้รับผลกระทบ

‘กอบสิทธิ์’ บอกว่า ประเทศไทยเจอเงินเฟ้อในรูปแบบ Import Inflation เนื่องจากไทยนำเข้าน้ำมันสูงมาก คือ 316 ล้านบาร์เรลต่อปี คิดเป็นมูลค่าสูงถึง 2.25 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

เมื่อราคาน้ำมันแพง สินค้าในไทยก็มีราคาแพงขึ้นไปด้วย

แถมยิ่งถ้าอัตราแลกเปลี่ยนของไทยอ่อนค่า ก็ยิ่งทำให้ Import Inflation ของเราสูงขึ้น ยิ่งซ้ำเติมให้ข้าวของราคาแพงยิ่งขึ้นไปอีก

ขณะที่มาตรการเยียวยาจากภาครัฐ ก็ทำได้เพียงแค่บรรเทาเท่านั้น ทั้งยังเป็นมาตรการที่ช่วยเหลือคนกลุ่มเปราะบางมากที่สุด

ส่วนคนที่ไม่ได้รับการช่วยเหลือจากรัฐ ก็ต้องรับมือปัญหาเงินเฟ้อด้วยตัวเอง ส่งผลให้พฤติกรรมผู้บริโภคเริ่มเปลี่ยน ระมัดระวังการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ซื้อแต่ของจำเป็น

เมื่อสภาพคล่องไม่ดี ส่งผลให้จีดีพีบวกน้อยลง และเข้าสู่ภาวะถดถอยในที่สุด

ความหวังของประเทศไทยเหมือนจะอยู่ที่ภาคการท่องเที่ยว เนื่องจากการบริโภคในประเทศไทย ส่วนหนึ่งก็มาจากการนักท่องเที่ยวด้วย

แต่การท่องเที่ยวไทยเรียกได้ว่าอยู่ในสภาพน่ากังวล

เพราะหากดูตัวเลขนักท่องเที่ยวในเดือน ม.ค. 2565 อยู่ที่ 1.33 แสนรายเท่านั้น และเกือบ 79% มาจากยุโรป สงครามรัสเซีย-ยูเครน จึงเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการฟื้นการท่องเที่ยวของไทยเลยก็ว่าได้

‘กอบสิทธิ์’ ยกตัวอย่างว่า เส้นทางบินตรงจากลอนดอนมาไทย ระยะทางที่สั้นที่สุดต้องผ่านน่านฟ้าของรัสเซีย แต่ถ้าย้อนดูเหตุการณ์เครื่องบินมาเลเซียถูกยิงตกในไม่กี่ปีก่อน สาเหตุมาจากความขัดแย้งทางการเมือง

และนั่นก็เพิ่มความกังวลให้นักท่องเที่ยวยุโรป ที่หากจะมาไทยแบบไม่ผ่านน่านฟ้ารัสเซีย ก็ต้องบินอ้อม ส่งผลให้ต้นทุนการท่องเที่ยวเพิ่ม และเป็นอุปสรรคต่อการท่องเที่ยวนั่นเอง

ซึ่งถ้าสถานการณ์สงครามยังยืดเยื้อ เศรษฐกิจคงเข้าสู่ภาวะถดถอยแน่นอน

โดย ‘กอบสิทธิ์’ มองว่าระดับคาดการณ์จีดีพีไทยที่ศูนย์วิจัยกสิรไทยประเมินไว้ 3.7% อาจสูงไป แต่เงินเฟ้อทั้งปีที่ 2.2% นั้นสมเหตุสมผล จากเงินเฟ้อที่ลดลง (เพราะเมื่อขึ้นไปสูงระดับหนึ่ง คนจะสู้ราคาไม่ไหว หยุดซื้อ แล้วสินค้าก็ปรับราคาลดลง เงินเฟ้อก็ลดลง แต่นั่นเป็นสภาพของภาวะเศรษฐกิจถดถอย)

ส่วนในเรื่องของค่าเงินบาท เนื่องจากมีความไม่แน่นอนสูง เงินบาทจะเคลื่อนไหวด้วยความผันผวน ‘กอบสิทธิ์’ ประเมินว่าค่าเงินบาทจะเคลื่อนไหวระหว่าง 32.9-34.2 ภายใน 1 เดือนข้างหน้า

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า