Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

 

วันที่ 7 เมษายน 2565 องค์กร Global Labor Justice-International Labor Rights Forum (GLJ-ILRF) ภาคประชาสังคมสหรัฐอเมริกาจัดเวที “การประชุมสรุป: ข้อค้นพบของคณะทำงานด้านอาหารทะเล (SWG) เกี่ยวกับสถานการณ์การค้ามนุษย์ในประเทศไต้หวันและไทยสำหรับรายงาน TIP Report 2022” สรุปสถานการณ์สิทธิแรงงานภาคประมงในไทยและไต้หวัน เพื่อจัดส่งประกอบการทำรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ (Trafficking in Persons Report: TIP Report) ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งจัดอันดับประเทศไทยเป็นประจำทุกปีในเดือนมิถุนายน 

ตั้งแต่ปี 2018 เป็นต้นมา ประเทศไทยถูกจัดอันดับอยู่ในวงที่ 2 ซึ่งต้องจับตามองเป็นพิเศษ (Tier 2 Watch List) ซึ่งหมายถึงยังคงมียอดผู้ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์เพิ่มขึ้นและรัฐบาลยังไม่มีท่าทีในการแก้ไขเพียงพอ ซึ่ง สถานะการค้ามนุษย์ของไทยส่งผลต่อการพิจารณาดำเนินนโยบายการต่างประเทศและเศรษฐกิจของสหรัฐต่อไทย 

คณะทำงานภาคประชาสังคมของไทยที่นำเสนอข้อมูล ประกอบด้วย โรยทราย วงศ์สุบรรณ เจ้าหน้าที่โครงการอาวุโส Freedom Fund, อดิศร เกิดมงคล ผู้ประสานงาน เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ (MWG) และ สุธาสินี แก้วเหล็กไหล เครือข่ายสิทธิแรงงานข้ามชาติ (MWRN) โดยฟิล โรเบิร์ดสัน รองผู้อำนวยการสำหรับทวีปเอเชีย Human Rights Watch ร่วมให้ความคิดเห็น 

ภาคประชาสังคมไทยมีความเห็นสำหรับประกอบการทำ TIP report ว่า ควรที่จะให้ประเทศไทยยังอยู่ในวงที่ 2 ซึ่งต้องจับตามองเป็นพิเศษ (Tier 2 Watch List) ดังเดิม จากหลักฐานหลายประการ เช่น การดำเนินนโยบายกีดกันแรงงานข้ามชาติช่วงโควิด-19 สภาพการจ้างงาน สิทธิในการตั้งสหภาพแรงงาน และความพยายามในการออกกฎหมายจำกัดการรวมกลุ่ม 

โรยทราย นำเสนอว่านโยบายภาครัฐในช่วงโควิด-19 มีการเลือกปฏิบัติ เช่น กรณีล็อกดาวน์ในชุมชนแรงงานข้ามชาติ ออกคำสั่งห้ามเดินทาง และแรงงานข้ามชาติยังเข้าไม่ถึงกลไการร้องทุกข์ออนไลน์ซึ่งมีแต่เป็นภาษาไทย ตลอดช่วงโควิด-19 มีการเลิกจ้างมิชอบ หรือลดจำนวนการทำงานจนผิดกฎหมายหลายกรณี ขณะที่สวัสดิการและเงินชดเชยจากรัฐบาลภายใต้กฎหมายประกันสังคมไม่ครอบคลุมแรงงานช้ามชาติ แม้แรงงานกลุ่มนี้ถูกกฎหมายบังคับให้จ่ายประกันสังคมทุกเดือน 

สุธาสินี แก้วเหล็กไหล ถ่ายทอดประเด็นที่เธอได้รับการร้องเรียนว่าชั่วโมงการบังคับทำงานล่วงเวลาของแรงงานยังคงเกินมาตรฐานที่กำหรด และการจ่ายเงินเดือนในช่วงโควิด-19 หลายรายผิดสัญญาจ้าง MOU โดยเลี่ยงไปคิดเงินเป็นรายวัน และเกิดพนักงานเหมา ช่วงโควิด-19นายจ้างหลายรายประสบภาวะปัญหาเศรษฐกิจจากโควิด-19 ต้องลดเวลาการทำงานของแรงงานอย่างผิดกฎหมาย ลูกจ้างบางรายได้ค่าแรงเพียง 4-5 วัน/เดือน ขณะที่ภาระค่าใช้จ่ายในการขึ้นทะเบียนของแรงงานมีอยู่อย่างต่อเนื่องทำให้หลายรายเหลือเงินใช้เพียง 20 กว่าบาทต่อวันเท่านั้น

 

สถานการณ์การสู้รบในเมียนมาทำให้ไทยเกิดสภาวะขาดแคลนแรงงานและมีขบวนการนายหน้าลักลอบพาคนเข้าเมือง แต่เจ้าหน้าที่ไทยที่ทำหน้าที่ในการตรวจสอบคนเข้าเมืองยังขาดการคัดครองว่าแรงงานที่ถูกจับกุมตกเป็นเหยื่อการละเมิดหรือไม่ ไม่มีการถามว่าถูกยึดเอกสาร หรือถูกทำร้ายร่างกายหรือไม่ เจ้าหน้าที่มักมองว่าแรงงานเป็นผู้กระทำผิดในฐานะผู้ลักลอบเข้าเมืองเท่านั้นโดยไม่ได้สืบทราบว่าเข้าองค์ประกอบการค้ามนุษย์หรือไม่ 

 

อดิศรยังสะท้อนว่าระหว่างช่วงโควิด-19 มีมาตรการภาครัฐเพิ่มขึ้นมา ทำให้แรงงานและนายจ้างต้องพึ่งพาระบบนายหน้าและเพิ่มค่าใช้จ่าย โดยรัฐไม่ได้เพิ่มมาตรการในการควบคุมนายหน้าแต่อย่างใด

 

โรยทรายและ สุธาสินี แก้วเหล็กไหล สะท้อนตรงกันว่าปัญหาใหญ่ของการแก้ปัญหาแรงงานภาคประมงและการค้ามนุษย์ในประเทศไทยคือการที่แรงงานข้ามชาติในไทยไม่มีสิทธิในการจัดตั้งสหภาพแรงงานเพื่อให้แรงงานต่อรองกับนายจ้างได้อย่างถูกกฎหมาย ที่ผ่านมาแรงงานข้ามชาติจึงใช้วิธีประท้วงซึ่งก็ถูกนายจ้างขอแรงภาครัฐมาสลายการชุมนุมโดยไม่ฟังข้อเรียกร้อง และทำให้แรงงานข้ามชาติที่เรียกร้องบางคนถูกจับกุม 

 

การรวมตัวของแรงงานยากยิ่งขึ้นเมื่อรับบาลพยายามออกกฎหมายเพื่อควบคุมการรวมกลุ่มและองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ทำให้แรงงานจากเดิมที่ตั้งสหภาพได้ยาก เมื่อรวมกลุ่มโดยไม่ตั้งสหภาพก็ยังทำได้ยากอีก

 

“เมื่อไม่มีกลไกร้องเรียน เมื่อถึงที่สุดเขาก็ใช้วิธีขาดงาน เมื่อขาดงานก็จะถูกกล่าวหาว่าแรงงานพวกนี้มาก่อความวุ่นวายทำลายความมั่นคง ซึ่งเขาไม่ได้ต้องการทำลายความมั่นคง เขาแค่่ต้องการโต๊ะเจรจาลดข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ” สุธาสินีให้ภาพ

 

การใช้กฎหมายเป็นเครื่องหยุดยั้งการเคลื่อนไหวของแรงงานมีอยู่อย่างทั่วไป เช่น มีการฟ้องคดีกลั่นแกล้ง (slapps) โดยนายจ้างและภาครัฐ เช่น กรณีนักข่าวท้องถิ่นรายงานสถานการณ์ในโรงงานแปรรูปอาหารทะเลว่ามีความเสี่ยงในการแพร่กระจายโควิด-19 นักข่าวคนดังกล่าวโดนฟ้องในเวลาต่อมา หรือพบการฟ้องเพื่อปิดปากนักเคลื่อนไหวเรื่องแรงงานที่เรียกร้องเรื่องข้อพิพาทแรงงานและมาตรการดำเนินการของรัฐ ซึ่งเจ้าหน้าที่ดำเนินการจับกุมนักกิจกรรมคนดังกล่าวและตั้งข้อหาให้ความช่วยเหลือซ่อนเร้นบุคคลต่างด้าว แต่ต่อมาเจ้าหน้าที่รับก็เปลี่ยนไปฟ้องเป็นดำเนินการชุมนุมผิดพรก.ฉุกเฉิน แทน อดิศรชี้ว่านี่คือความพยายามในการสกัดกั้นการเคลื่อนไหวภาคแรงงาน 

 

โรยทรายกล่าวถึงประเด็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้แรงงานบังคับในไทยช่วงปีที่ผ่านมา เช่น ปี 2021 มีสื่อต่างประเทศรายงานว่าผู้ต้องขังของไทยโดนบังคับใช้แรงงานในเรือนจำโดยไม่ได้รับค่ำจ้างขั้นต่ำ และสภาพการทำงานเป็นไปโดยถูกละเมิดสิทธิ ทำให้มีกรณีที่เป็นไปได้ว่าถูกบังคับใช้แรงงานและยังขาดการตรวจสอบเพียงพอ ส่วนในส่วนกลไกทางกฎหมาย มีรายงานกรณีเด็กผู้หญิงอายุต่ำวก่า 18 ปีตกเป็นเหยื่อในคดีค้ามนุษย์ แต่กระบวนการทางศาลทำให้เธอกลับต้องมาเผชิญหน้าอดีตหน้านายจ้างเพื่อให้การในชั้นศาล ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อจิตใจ

 

ที่ผ่านมาตอนที่ประเทศไทยถูกลดอันดับใน TIP Report และได้ใบเหลืองจากสหภาพยุโรปก็มีความพยายามในการปฏิรูปกฎหมายแต่ยังคงขาดการบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ได้ฟังเสียงภาคประชาสังคมและไม่ได้มีความพยายามในการแก้ปัญหาภาวะขาดแคลนแรงงานซึ่งนโยบายการเข้าเมืองของแรงงานอย่างถูกกฎหมายยังคงทำได้ง่าย

 

ด้านฟิล โรเบิร์ดสัน ประเทศไทยควรคงอำดับไว้ที่เดิมเนื่องจาก ฮิวแมนไรท์วอชยังเห็นว่าแนวทางการบังคับใช้กฎหมายป้องกันและปราบปรามการบังคับใช้แรงงานประมง ไม่ได้เปลี่ยนแปลงตั้งแต่ปี 2018 เป็นต้นมา ไม่ได้มีการบังคับใช้กฎหมายป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในภาคประมงอย่างมีประสิทธิภาพ และไม่ได้มีการนำข้อแนะนำขององต์การแรงงานสากล (ILO) ไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า