Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ทุกวันนี้คนไทยบริโภคมันฝรั่งทอดกรอบเลย์ปีละ 1.2-1.3 แสนตันต่อปี ซึ่งเลย์ที่บริโภคในไทยใช้มันฝรั่งที่เกษตรกรไทยเป็นคนปลูก 70% ส่วนอีก 30% มาจากการนำเข้าจากต่างประเทศ

วันนี้ทาง PepsiCo ผู้ผลิตเลย์ในไทย อยากจะใช้มันฝรั่งในประเทศให้มากกว่านี้ โดยตั้งเป้าไว้ว่าจะใช้มันฝรั่งในประเทศที่ 85% ภายในปี 2030

แต่ต่อไปมันฝรั่งที่เกษตรกรไทยปลูกอาจจะมีจำนวนลดลงไปเรื่อย ๆ เพราะมันฝรั่งเป็นพืชเมืองหนาว แล้วต้องปลูกท่ามกลางอากาศประเทศไทยนับวันก็มีแต่จะร้อนขึ้น

นี่เป็นความท้าทายที่ผู้ผลิตเลย์ต้องหาทางรับมือ เพราะถ้าผลผลิตมันฝรั่งลดลง อาจจะไม่ได้ส่งต่อการผลิตมันฝรั่งอย่างเดียว แต่จะกระทบถึงรายได้ของเกษตรกรไทยด้วย

TODAY Bizview พาไปลงเดินสำรวจที่ไร่มันฝรั่งเลย์แห่งหนึ่งใน จ.เชียงรายว่าผู้ผลิตเลย์รับมือกับเรื่องนี้อย่างไร

มันฝรั่ง พืชเมืองหนาวที่ต้องต่อสู้กับความร้อนของไทย

จริง ๆ แล้วมันฝรั่งเป็นพืชล้มลุกที่มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศทางตะวันตก จึงเติบโตได้ดีในสภาพภูมิประเทศที่มีอากาศเย็น ซึ่งอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการปลูกช่วงกลางวันอยู่ที่ 24-26 องศาเซลเซียส และกลางคืนอยู่ที่ 14-18 องศาเซลเซียส นั่นทำให้มันฝรั่งเป็นพืชที่สามารถปลูกในประเทศแถบยุโรปหรือสหรัฐอเมริกาได้ดี

โดยมันฝรั่งที่ปลูกในยุโรปและสหรัฐฯ ใช้เวลาปลูก 120-250 วัน จะได้ผลผลิตประมาณ 6.4-6.9 ตันต่อไร่ มีโรคน้อย

ส่วนประเทศไทยอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร มันฝรั่งของไทยจึงใช้เวลาปลูกน้อยกว่าอยู่ที่ 90 วัน ได้ผลผลิตประมาณ 2-3 ตันต่อไร่ และเป็นโรคง่าย

ทุกวันนี้ อุณหภูมิเฉพาะหน้าร้อนแบบนี้ก็เกือบแตะระดับ 40 องศาเซลเซียสแล้ว และไม่แน่ว่าภาวะโลกร้อนอาจจะทำให้อากาศบ้านเราร้อนขึ้นไปอีก 

PepsiCo คาดการณ์ว่าหากโลกยังร้อนขึ้นอีกพื้นที่เพาะปลูกมันฝรั่งจะหายไป 46% ผลผลิตลดลง 17% และสร้างมูลค่าความเสียหายต่อธุรกิจ 14 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 514 ล้านบาท

นอกจากนี้ ทางฝ่ายเกษตรของ PepsiCo ยังเจอปัญหาอีกว่าเกษตรกรปลูกมันฝรั่งในไทยมีจำนวนไม่มากและยังขาดความรู้ในการปลูกมันฝรั่ง 

นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นในการลงพื้นที่ทำเกษตรพันธสัญญากับเกษตรกรทางภาคเหนือและภาคอีสาน

สร้างเกษตรกรเงินล้าน เพิ่มผลผลิตในประเทศ

สาเหตุที่ทาง PepsiCo หนุนการผลิตมันฝรั่งภายในประเทศคือสามารถประหยัดค่าขนส่งมันฝรั่งจากต่างประเทศได้ สามารถควบคุมดูแลการผลิตเองได้ และที่สำคัญคือได้ช่วยเกษตรกรไทย

ธนกฤต ศรีวิชัย ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาศักยภาพการผลิตเกษตร บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด บอกว่าคุณภาพชีวิตของเกษตรกรเป็นหัวใจสำคัญในการเติบโตของเลย์ ทาง PepsoCo ประเทศไทยจึงส่งเสริมให้เกษตรไทยกว่า 5,800 ราย ใน 10 จังหวัด คือ เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน ตาก เพชรบูรณ์ สกลนคร และนครพนม บนเนื้อที่กว่า 38,000 ไร่ในการปลูกมันฝรั่งแบบเกษตรพันธสัญญา (Contract Farming)

PepsiCo จะลงพื้นที่ทำงาน แลกเปลี่ยนความรู้กับเกษตรกร พร้อมกับนำเทคโนโลยีการเกษตร อย่าง Agro Drone Scout เป็นโดรนสำหรับประเมินโรคและตรวจสอบสภาพพื้นที่ปลูกมันฝรั่ง และ ListenField เป็นเทคโนโลยีอินฟาเรตตรวจสอบสภาพดิน ทำให้ได้ผลผลิตเพิ่มจาก 1.5 ตันต่อไร่ เป็น 3 ตันต่อไร่ และตอนนี้ Lay’s ก็ตั้งเป้าว่าจะใช้เทคโนโลยีเหล่านี้เพิ่มผลผลิตมันฝรั่งให้เป็น 6 ต่อไร่ให้ได้ภายใน 5 ปี

ส่วนเรื่องผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภาวะโลกรวน PepsiCo ได้ร่วมมือกับ GIZ หน่วยงานเพื่อการพัฒนาด้านความยั่งยืนของเยอรมัน หน่วยงานด้านเกษตรของไทย เช่น การวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร และเพื่อร่วมกันหาทางรับมือกับสภาพภูมิอากาศโลกที่เปลี่ยนแปลงด้วยวิธีการปลูกข้าวมันฝรั่งและข้าวโพดหมุนเวียนอย่างยั่งยืน เพื่อเสริมทักษะให้เกษตรกรไทยสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและเรียนรู้แนวทางการจัดการพื้นที่เกษตรฟื้นฟูอย่างเป็นระบบ

เตรียมรีไซเคิล ลดขยะ ลดโลกร้อน

ถึงแม้ว่าโลกร้อนจะเป็นหนึ่งในความท้าทายของการผลิตมันฝรั่งเลย์ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า PepsiCo เองก็มีส่วนร่วมในการทำให้โลกร้อนขึ้นเหมือนกัน

ในปี 2023 The Surfers Against Sewage หรือ SAS กลุ่มนักอนุรักษ์ในสหราชอาณาจักร ทำการตรวจสอบแบรนด์จากขยะพลาสติกหรือ Brand Audit จากขยะ 30,000 ชิ้นในสหราชอาณาจักร พบว่าแบรนด์ที่สร้างขยะมากที่สุดคือ Coca-Cola, McDonals’s และ PepsiCo

ในประเทศไทยเอง PepsiCo เคยติดโผแบรนด์ที่สร้างขยะมากที่สุดจากการทำ Brand Audit ของ Greenpeace ประเทศไทยเช่นกัน 

การรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ จึงกลายเป็นนโยบายที่ทางบริษัทหันกลับมาโฟกัสอย่างจริงจัง

ปีที่ผ่านมา PepsiCo ประเทศนำร่องเป็นผู้ผลิตน้ำอัดลมเจ้าแรกในประเทศไทยที่หันมาใช้ขวดรีไซเคิล 100% และอีกหนึ่งเป้าหมายสำคัญตอนนี้คือการผลิตซองขนมทอดกรอบจากพลาสติกรีไซเคิล 100% ภายในปี 2030 แต่นี่เป็นเป้าหมายที่ท้าทายมาก

ความท้าทายแรกคือเรื่องการรวบรวมขยะ เพราะขยะเหล่านี้ต้องการการคัดแยกและทำความสะอาดอย่างถูกต้อง จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้บริโภค

ความท้าทายต่อมาคือเรื่องต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นจากกระบวนการรีไซเคิลเอง

แต่หากทำได้สำเร็จก็คาดการณ์ว่าจะสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 40% แต่ก็ต้องแลกมากับต้นทุนการรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์ที่สูงขึ้น 100-200% เลยทีเดียว

เมื่อมันฝรั่งปลูกยากขึ้นและเจอต้นทุนเรื่องการรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์แล้ว เลย์จะขึ้นราคาหรือเปล่า

PepsiCo ประเทศไทยบอกกับ TODAY Bizview ว่าจะพยายามคงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้ได้มากที่สุด 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า