Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ตำแหน่งที่สูงขึ้น มักมาพร้อมกับความรับผิดชอบและความกดดันที่เพิ่มขึ้น เพราะการเปลี่ยนบทบาทหน้าที่จาก ‘ลูกน้อง’ สู่ ‘หัวหน้า’ ไม่ใช่เรื่องง่าย ความคิดที่วนเวียนกับเรื่องงานตลอดทั้งวันจนสลัดไม่ออก เพราะความตั้งใจที่อยากทำให้งานออกมาดี กลายเป็นเรื่องปกติที่หัวหน้าหลายคนต้องเผชิญ

แต่รู้หรือไม่ว่า มีงานวิจัยในวารสารด้านจิตวิทยาระบุไว้ว่า การคิดเรื่องงานตลอดเวลาส่งผลเสียมากกว่าที่คิด ไม่เฉพาะกับประสิทธิภาพงาน แต่ยังรวมไปถึงจิตใจของคนเป็นหัวหน้าที่อาจเข้าสู่ภาวะ ‘แบตหมด’ ได้โดยพลัน เป็นสาเหตุที่นำไปสู่หายนะของการเป็น ‘Leader’ ในระยะยาวได้

[ ‘หัวหน้ามือใหม่’ ชอบคิดเรื่องงานตอนกลางคืน ถึงเวลาจริงก็หมดแรงจะสู้ ]

เมื่องานของหัวหน้าไม่ได้มีแค่การปิดจ็อบให้จบในแต่ละวัน แต่ยังมีเรื่องของการบริหารจัดการทีม วิธีรับมือกับแผนกอื่นๆ ที่ต้องทำงานร่วมกัน โปรเจกต์สารพันที่ต้องเข้าไปมีส่วนร่วม ปริมาณงานที่เยอะกว่าตำแหน่งคนทำงานทั่วไป ทำให้พวกเขารู้สึกว่า ต้องคิดเรื่องงานบ่อยขึ้น ถี่ขึ้น การคิดทบทวนเรื่องที่ต้องทำในวันรุ่งขึ้นทันที่ที่ก้าวเท้าออกจากออฟฟิศช่วงหัวค่ำ จึงกลายเป็นวิถีปกติของคนกลุ่มนี้ไปแล้ว

แต่การคิดถึงเรื่องงานบ่อยๆ ไม่ได้ช่วยให้หัวหน้าทำงานได้ดีขึ้น กลับให้ผลลัพธ์ในทางตรงกันข้าม เรื่องนี้มีงานวิจัยชื่อว่า ‘The importance of leader recovery for leader identity and behavior’ ที่เพิ่งตีพิมพ์ลงในวารสาร ‘Journal of Applied Psychology’ ชี้ให้เห็นว่า การคิดเรื่องงานอยู่ตลอดเวลาสร้างผลกระทบเชิงลบกับประสิทธิภาพการทำงานในฐานะผู้นำองค์กร

การทำงานที่ต่อเนื่องยาวนานจะยิ่งทำให้กลุ่มคนนี้สูญเสียพลังงานที่เรียกว่า ‘Mental Resources’ หรือทรัพยากรทางจิตใจ ตรงกันข้ามกับหัวหน้าที่ไม่นำเรื่องงานกลับมาคิดต่อ คนกลุ่มหลังจะมีประสิทธิภาพการทำงานในเช้าวันรุ่งขึ้นได้ดีกว่ามาก

เพื่อทำความเข้าใจงานศึกษาชิ้นนี้ให้ดียิ่งขึ้น เราลองมาดูรายละเอียดคร่าวๆ กันสักหน่อย งานชิ้นนี้ทำการศึกษาผู้นำหรือหัวหน้าจำนวน 73 คน ด้วยการให้พวกเขาจดบันทึกประจำวันของตนเองติดต่อกันเป็นเวลา 10 วัน

โดยให้หัวหน้าเหล่านี้ทบทวนไตร่ตรองถึงประสบการณ์ของพวกเขาในยามค่ำคืน รวมถึงความรู้สึกในห้วงสุดท้ายก่อนเข้าสู่โหมดปิดสวิตช์เรื่องการทำงาน เพื่อดูว่า กลุ่มตัวอย่างเหล่านี้มีความคิดเชิงลบเกี่ยวกับการทำงานมากน้อยแค่ไหน และในระหว่างวันพวกเขายังมีพลังงานเหลือล้นในการทำงานด้วยรึเปล่า

ผลสรุปจากงานศึกษาชิ้นนี้บอกว่า หัวหน้าหรือผู้นำที่เลิกคิดเรื่องงานในตอนเย็น รู้สึกมีชีวิตชีวา พร้อมทำงานในวันรุ่งขึ้น ส่วนกลุ่มที่เก็บเรื่องงานมาคิดต่อหลังเลิกงานไปแล้ว รู้สึกเหนื่อยล้ามากกว่าในเช้าวันรุ่งขึ้น บทบาทของหัวหน้าที่มี ‘Task’ ให้จัดการมากมาย ทำให้กลุ่มที่ชอบเก็บเรื่องงานมาคิดต่อไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ กลายเป็นหัวหน้าที่เพลีย เหนื่อยล้า เข้าสู่โหมด ‘Lack of productivity’ 

ที่น่าสนใจไปกว่านั้น คือภาวะหยุดคิดเรื่องงานหลังเลิกงานไม่ได้ มักเกิดขึ้นกับ ‘หัวหน้ามือใหม่’ หรือคนที่ไม่เคยมีประสบการณ์ในงานเชิงบริหารมาก่อน ซึ่งเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ว่า ความท้าทายที่พวกเขาต้องรับมือคงจะเป็นเรื่องใหม่และนักหนา จนยากที่จะจัดการให้จบได้ภายใน 5 โมงเย็น

ซึ่งเรื่องนี้นักจิตวิทยาบอกว่า อย่างไรเสีย ไม่ว่าคุณจะเป็นหัวหน้ามือฉมัง หรือหัวหน้ามือใหม่ ก็ต้องฝึกจัดการกับภาวะดังกล่าวให้อยู่ในที่ทางที่เหมาะสม หากทำได้จะดีกับทั้งตัวหัวหน้าและลูกน้องในทีม กลุ่มคนที่ต้องรับมือกับความเหนื่อยล้าของหัวหน้าโดยตรง

[ งานคืองาน ชีวิตคือชีวิต ฝึกวางให้เป็น ]

มายด์เซ็ตของหัวหน้าหลายคน มักคิดว่า ต้องทำงานหนักและเตรียมพร้อมสำหรับปัญหาที่จะเข้ามาอยู่เสมอ วิธีคิดเช่นนี้ทำให้ชีวิตส่วนตัวกับการทำงานถูกหลอมรวมเข้าด้วยกัน แม้ในยามว่าง วันหยุด ใช้เวลาพักผ่อนอยู่กับครอบครัวก็ยังรู้สึกว่า ต้องเตรียมพร้อมเสมอ บางคนสแตนบายตอบลูกน้องที่ทักมาในวันหยุดอย่างรวดเร็วแม้ไม่ใช่เรื่องด่วน บ้างก็พกแลปท็อปติดตัว เพราะไม่ต้องการเป็นหัวหน้าที่ไร้ประสิทธิภาพ

ทว่า วิธีคิดเช่นนี้ออกจะเกินตัวไปสักหน่อย เพราะแม้คุณจะสวมหมวก ‘หัวหน้า’ หรือ ‘ผู้นำ’ ก็ไม่ได้แปลว่า มีหมวกอยู่ใบเดียวเสียเมื่อไร เรียนรู้พาร์ทอื่นในชีวิตบ้าง การพักผ่อนไม่ได้ทำให้ขี้เกียจหรือดูเกียจคร้านลง แต่งานอดิเรกเหล่านี้ต่างหากที่จะช่วย ‘บูสต์เอเนอจี้’ ให้วันทำงานของคุณกลับมามีประสิทธิภาพได้

งานวิจัยชิ้นนี้ยังชี้ให้เห็นด้วยว่า กิจกรรมนอกเวลางานมีความสำคัญต่อประสิทธิภาพการทำงานของหัวหน้าอย่างไร พลังงานดีๆ ที่ได้รับจากกิจกรรมที่หัวหน้าได้เป็นผู้เลือกเอง เชื่อมโยงกับบทบาทการทำงานในแต่ละวัน ทำให้เป็นหัวหน้าที่พร้อมเปิดรับสิ่งใหม่ๆ ลดความเหนื่อยล้า การแบ่งอาณาเขตที่ชัดเจนระหว่างงานและการพักผ่อนมีส่วนสนับสนุนซึ่งกันและกัน ทำให้หัวหน้าเป็น ‘Better Leader’ ได้ในที่สุด

ที่มา psycnet, hbr

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า