Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

จากกระแสข่าวพนักงานแห่ลาออกจาก Twitter (ซึ่งก็เป็นจุดประสงค์ของ Elon Musk เจ้าของคนใหม่ที่อยากขจัดพนักงานที่ไม่มีใจออกไป จนคนแห่ลาออกสมใจ) ล่าสุดสำนักงาน Twitter ถึงกับต้องปิดลงชั่วคราว จนทำให้สังคมเริ่มตั้งคำถามว่า แล้ว Twitter จะอยู่ต่อไปอย่างไร จะยังเหลือพนักงานรันระบบมากแต่ไหน ใครจะเป็นคนคอยทำหน้าที่ให้แอป Twitter ดำเนินต่อไปได้

หลายเสียงคาดเดากันไปแล้วว่าหรือนี่จะเป็นจุดจบของ Twitter เกิดแฮชแท็ก #RIPTwitter ติดเทรนด์ และที่น่าสนใจคือ คนเริ่มมองหาแพลตฟอร์มอื่นมาทดแทนแล้ว 

โดยแพลตฟอร์มที่คนคิดว่าเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในตอนนี้คือ Mastodon เพราะหน้าตาคล้าย Twitter มาก สะท้อนให้เห็นว่า สุดท้ายคนก็ยังอยากได้ฟังก์ชั่นแบบ Twitter อยู่แต่แค่เริ่มไม่แน่ใจในอนาคตของ Twitter แล้วนั่นเอง 

[ มาทำความรู้จัก Mastodon กัน ] 

หน้าตาของ Mastodon และ Twitter มองเผินๆ แล้วคล้ายกัน คือมีช่องให้ตั้งสเตตัส มีปุ่มตอบกลับ ไลค์โพสต์ รีทวีต (ใน Mastodon ใช้คำว่า boost) บุ๊กมาร์ก แต่ความต่างอยู่ที่  Mastodon ทำงานด้วยระบบหลายเซิร์ฟเวอร์ คล้ายๆ การเล่นเกมที่เราต้องเลือกห้องที่จะเข้าไปเล่นเกมร่วมกัน ซึ่งแต่ละเซิร์ฟเวอร์จะกำหนดธีม และความสนใจแตกต่างกันไป 

Mastodon ระบุตัวเองว่าเป็นแพลตฟอร์มไร้ศูนย์กลาง (decentralized) และไม่มีการควบคุมโดยบริษัทใดบริษัทหนึ่ง ตัว Mastodon เองก็ไม่ใช่สตาร์ทอัพหรือบริษัทใด แต่เป็น community หนึ่งเท่านั้น โดยซอฟต์แวร์เบื้องหลัง Mastodon นั้นสร้างขึ้นโดย ActivityPub เป็นโปรโตคอลประเภทหนึ่งที่แอปอื่นๆ สามารถมาเชื่อมต่อได้ 

การเข้าใช้งานช่วงแรก อาจสร้างความสับสนและไม่คุ้นเคยที่ต้องเลือกเซิร์ฟเวอร์เพื่อใช้งาน แต่สิ่งนี้คือไอเดียตั้งต้นของ Mastodon เพราะแต่ละเซิร์ฟเวอร์เป็นอิสระต่อกันจริงๆ ผู้สร้างเซิร์ฟเวอร์สามารถแต่งเติมอะไรเข้าไปในพื้นที่ของตัวเองได้ นำซอฟต์แวร์มาปรับแต่ง หรือแม้แต่สร้างกฎสำหรับเซิร์ฟเวอร์นั้นๆ และปิดบัญชีคนที่ทำผิดกฎได้ 

การใช้งาน Mastodon อาจกระทบความเป็นส่วนตัวเพราะเจ้าของเซิร์ฟเวอร์สามารถอ่าน DM ของเราได้ ทางแก้ปัญหาคือ ต้องเลือกเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็ก ที่ผู้สร้างเป็นคนรู้จัก สนิท ใกล้ชิด 

เมื่อเลือกเซิร์ฟเวอร์ได้แล้ว ก็เข้าสู่ขั้นตอนสร้างโปรไฟล์ ซึ่งก็คล้ายกับการสร้างโปรไฟล์ในโซเชียลอื่นๆ คือตั้งชื่อจะเป็น ชื่อจริง หรือชื่อที่คิดขึ้นมาเองก็ได้, อีเมลเพื่อยืนยันบัญชีและตั้งรหัสผ่าน 

แม้ Mastodon จะถูกแบ่งแยกเป็นเซิร์ฟเวอร์ แต่ก็สามารถมองเห็นโพสต์ของคนที่เราติดตามในฟีดรวม ไม่ว่าเขาจะสร้างโปรไฟล์ในเซิร์ฟเวอร์ใดก็ตาม นอกจากนี้เรายังสามารถเปลี่ยนและย้ายข้อมูลไปยังอีกเซิร์ฟเวอร์ได้ ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางไร้ศูนย์กลางที่ Mastodon พยายามจะสื่อออกมา

ฟีดของ Mastodon ไม่มีอัลกอริทึม แต่ละโพสต์จะแสดงขึ้นอยู่กับการติดตามของเราเท่านั้น และแสดงตามลำดับเวลา ถือเป็นเรื่องดีสำหรับที่คิดถึงโซเชียลมีเดียแบบเก่า ปราศจากโฆษณา และการแนะนำโพสต์จาก AI

นอกจากนี้เราจะยังมองไม่เห็นจำนวนไลค์และยอดไลค์ของโพสต์ แต่จะมองเห็นได้ก็ต่อเมื่อคุณคลิกเท่านั้น เป็นเจตนาของ Mastodon ที่ให้เราตัดสินโพสต์จากเนื้อหา แทนที่จะพิจารณาจากความนิยมของมัน

อีกเรื่องที่ต่างจาก Twitter คือ ช่องค้นหา เราไม่สามารถค้นหาด้วยข้อความเต็มๆ แต่ค้นหาได้แค่แฮชแท็กเท่านั้น ซึ่งคนที่ติดแฮชแท็กในโพสต์ตัวเอง เท่ากับยินยอมให้ผู้อื่นเข้ามาเห็นโพสต์ของเรา ทำให้ troll หรือที่เราเรียกกันว่าเกรียนในโลกอินเทอร์เน็ต แทรกตัวเข้ามาในบทสนทนาได้ยากขึ้น

[ คนแห่เข้าใช้งานเงียบๆ หลัง Musk ซื้อ Twitter และเพิ่มขึ้นเมื่อ Musk เลย์ออฟพนักงาน ]

Mastodon ไม่ใช่ของใหม่เพิ่งสร้าง ตัวแพลตฟอร์มมีมานานแล้วตั้งแต่ปี 2016 ซึ่งผ่านมาแล้วถึง 6 ปี ก่อตั้งโดย Eugen Rochko นักพัฒนาซอฟต์แวร์ชาวเยอรมัน แต่ความนิยมของ Mastodon ค่อยๆ เพิ่มขึ้นหลังจาก Musk เข้าซื้อ Twitter อย่างเป็นทางการในเดือน ต.ค. ที่ผ่านมา Mastodon มีผู้ใช้ใหม่เพิ่มขึ้น 70,000 ราย

การดาวน์โหลดรายวันเพิ่มขึ้นจาก 3,400 ดาวน์โหลดต่อวันในวันที่ 27 ต.ค. เป็น 113,400 ในวันที่ 6 พ.ย. และในวันที่ 11 พ.ย. มีรายงานจำนวนผู้ใช้ใหม่เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้าที่ 700,000 ราย ตัวเลขผู้ใช้งานรวมของ Mastodon ล่าสุดวันที่ 12 พ.ย. มี 6.63 ล้านบัญชี 

สำหรับโมเดลรายได้ Mastodon ตอนนี้ยังเป็นแบบ crowdfunded หรือการระดมทุนจากผู้ใช้งาน ใช้โมเดลนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการขายโฆษณา ซึ่งจะสร้างปัญหาตามมามากมายอย่างที่เราก็รู้กัน โดยข้อมูลจากสื่อเยอรมันรายงานว่าตอนนี้ Mastodon มีผู้ร่วมระดมทุน 3,500 คน

ผู้ใช้งานสามารถทดลองใช้ Mastodon ได้ทั้งในรูปแบบเว็บไซต์ และแอปพลิเคชั่น Android, iOS (iPhone, iPad)

ซึ่งนอกจาก Mastodon ชาวเน็ตก็พิจารณาโซเชียลทางเลือกอื่นด้วยเช่น Tumblr, Mind และที่น่าสนใจคือ ไม่ค่อยมีชาวเน็ตคนไหนแนะนำให้กลับมาใช้ Facebook ในการติดต่อกัน

ที่มา : Wired, Wikipedia, Mastodon

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า