Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ยื่นหนังสือเรียกร้อง กสทช. เร่งตรวจสอบและแก้ไขปัญหาผลกระทบผู้บริโภค หลังควบรวม ทรู-ดีแทค ที่ลามถึงเครือข่ายมือถือรายอื่น พร้อมแนบหลักฐานผลสำรวจเกือบ 3 พันราย

วันนี้ (22 ธ.ค. 66) นางนฤมล เมฆบริสุทธิ์ รองผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค พร้อมด้วยนายธนัช ธรรมิสกุล หัวหน้าหน่วยงานประจำ กรุงเทพมหานคร สภาองค์กรของผู้บริโภค เข้ายื่นหนังสือถึง เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) รวมถึงคณะอนุกรรมการเพื่อติดตามและประเมินผลการรวมธุรกิจตามประกาศ กสทช.

โดยมี พล.อ.กิตติ เกตุศรี ที่ปรึกษาประจำประธาน กสทช. เป็นตัวแทนรับหนังสือ ให้กสทช. เร่งตรวจสอบและแก้ไขปัญหาผลกระทบของผู้บริโภค หลังการควบรวม ทรู-ดีแทค (TRUE – DTAC) พร้อมแนบหลักฐานผลสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบจากเครือข่ายมือถือทุกระบบ ระหว่างวันที่ 9 – 23 พ.ย. 66 มีผู้ทำแบบสำรวจทั้งหมด 2,924 ราย ซึ่งใช้งานในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา โดยพบ 5 ปัญหาใหญ่มากที่สุดถึงร้อยละ 81 ได้แก่ สัญญาณอินเทอร์เน็ตช้า, สัญญาณหลุดบ่อย, โปรโมชั่นเดิมหมด ต้องใช้โปรโมชั่นที่แพงขึ้น, ค่าแพ็กเกจราคาเท่ากันหมดทำให้ไม่มีทางเลือก, และคอลเซ็นเตอร์ (call center) โทรติดยาก

นอกจากนี้ ยังมีผู้บริโภคร้องเรียนได้รับข้อความสั้นจากผู้ให้บริการ ระบุว่า โปรโมชั่นปัจจุบันเดือนละ 299 บาท จะสิ้นสุดลง และนำเสนอโปรโมชั่นเดือนละ 349 บาท และค่าโทรส่วนเกิน นาทีละ 1 บาท 50 สตางค์ หากต้องการใช้โปรโมชันเดิมให้กด *966*8# ซึ่งหมายความว่า โปรโมชั่นจะถูกเปลี่ยนแปลงโดยอัตโนมัติ แม้ว่า โปรโมชั่นใหม่ที่นำเสนอ จะทำให้อัตราค่าบริการเฉลี่ยถูกลง แต่ทำให้ผู้บริโภครับภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น โดยไม่ยินยอมและอาจไม่มีความจำเป็น อีกทั้งค่าโทรส่วนเกินยังสูงถึง 1.50 บาท ซึ่งไม่เป็นไปตามมาตรการเฉพาะที่กำหนดขึ้น ที่ระบุว่า การกำหนดอัตราตามต้นทุนเฉลี่ยรายบริการ (Average cost pricing) ให้นำไปใช้กับกรณีค่าบริการส่วนเกินที่เกิดขึ้นจากการใช้บริการรายการส่งเสริมการขายแบบร่วมบริการ (Bundle package) ด้วย

การนำเสนอรายการส่งเสริมการขายในลักษณะเปลี่ยนโปรโมชั่นอัตโนมัติหากไม่กดยกเลิกนี้ ยังขัดกับประกาศ กสทช. เรื่องการกำหนดและกำกับดูแลโครงสร้างอัตราค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายในประเทศ ข้อ 18 ซึ่งกำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตคงบริการตามรายการส่งเสริมการขายเดิมต่อไปเป็นลำดับแรกเมื่อสิ้นสุดอายุการใช้งาน หากไม่มีรายการส่งเสริมการขายเดิม ให้เปลี่ยนไปให้บริการรายการส่งเสริมการขายขั้นเริ่มต้น และพฤติการณ์ดังกล่าวเป็นการกระทำที่เข้าข่ายการกระทำที่น่าจะเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ตามข้อ 5 (2) ของประกาศ กสทช. เรื่องการกระทำที่น่าจะเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมฯ เนื่องจากเป็นการกำหนดเงื่อนไขในลักษณะที่เป็นการบังคับโดยทางตรงหรือทางอ้อม ให้ผู้บริโภคต้องใช้บริการโทรคมนาคมโดยผู้บริโภคไม่ประสงค์จะใช้บริการนั้น หรือเป็นเหตุให้ผู้บริโภคต้องรับภาระค่าบริการที่เพิ่มขึ้น

จากปัญหาที่เกิดขึ้นทำให้ผู้บริโภคที่ตอบแบบสำรวจฯ มีข้อเสนอแนะไปยังผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือทุกเครือข่ายต้องปรับปรุงคุณภาพสัญญาณอินเทอร์เน็ตให้ดีขึ้น สามารถใช้งานได้ต่อเนื่อง มีความเสถียร ขยายให้ครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่ และให้มีความเร็วที่ใช้ได้จริงตรงตามที่แพ็กเกจระบุไว้, ลดราคาแพ็กเกจให้ถูกลง มีโปรโมชั่นให้เลือกหลากหลายในราคาที่สมเหตุสมผล ตอบโจทย์การใช้งานของผู้บริโภคแต่ละกลุ่ม และเสนอให้ไม่ยกเลิกแพ็กเกจไม่อั้นไม่ลดสปีด, ที่สำคัญต้องให้บริการอย่างตรงไปตรงมา ทำตามเงื่อนไขที่แพ็กเกจระบุไว้ กรณีจะเปลี่ยนแพ็คเกจต้องมีการแจ้งล่วงหน้าและได้รับความยินยอมจากผู้บริโภคก่อนเปลี่ยนแปลงแพ็กเกจหรือปรับลดสปีด

นอกจากนี้ ยังมีความคิดเห็นที่เป็นข้อเสนอแนะจากผู้บริโภคฝากไปถึง คณะกรรมการ กสทช. ขอให้ยกเลิกการควบรวมรวมธุรกิจโทรคมนาคม ระหว่าง ทรู และ ดีแทค เพราะหลังจากที่มีการควบรวมแล้ว ผู้บริโภคพบเจอปัญหาสัญญาณอินเทอร์เน็ตมีปัญหา ราคาค่าบริการแพงขึ้น แพ็คเกจไม่หลากหลาย

ทั้งนี้จากแบบสำรวจผู้บริโภคให้ความเห็นว่า ยังไม่เห็นประโยชน์ใดๆ ที่ผู้บริโภคจะได้รับโดยตรง หลังจากการควบรวม, ขอให้ควบคุมและตรวจสอบการให้บริการอย่างเข้มงวด โดยควบคุมคุณภาพของสัญญาณให้ได้มาตรฐาน กำหนดเกณฑ์ราคาที่เหมาะสม และตรวจสอบข้อมูลแพ็คเกจและบริการต่างๆ ว่า เป็นไปตามที่โฆษณาไว้หรือไม่,กำกับดูแลให้ผู้ประกอบการทำตามข้อตกลง มีมาตรการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ, สำคัญอย่างยิ่งต้องเปิดรับฟังความเห็นสาธารณะจากทุกภาคส่วน

ด้าน นางสมพิศ กนกลดารมย์ หน่วยงานประจำจังหวัดกรุงเทพมหานคร สภาองค์กรของผู้บริโภค ที่มาร่วมยื่นหนังสือต่อ กสทช. เล่าถึงปัญหาที่ใช้โปรโมชันอินเทอร์เน็ต 199 บาท ค่าย AIS แต่ไม่สามารถใช้งานทั้งในบ้านและนอกสถานที่ เพราะสัญญาณหมุนตลอดเวลา ทำให้รู้สึกหงุดหงิดเวลาต้องส่งไฟล์งาน หรือมีคนอื่นส่งลิงก์มาให้แต่เปิดไม่ได้ เชื่อว่า เป็นเพราะการที่ตลาดมือถือไม่มีคู่แข่ง หลังจากการควบรวม ทรู-ดีแทค ทำให้คุณภาพการให้บริการไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้บริโภค เพราะหากดีขึ้นจริง ต้องทำให้ค่าบริการถูกลงและต้องมาพร้อมกับคุณภาพที่ดีขึ้น

จากเหตุทั้งหมดข้างต้น มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จึงขอให้กสทช. ศึกษาผลกระทบการควบรวมธุรกิจโทรคมนาคมโดยคำนึงถึงประโยชน์ของผู้บริโภคเป็นที่ตั้ง โดยขอตรวจสอบข้อเท็จจริงและพิจารณาภายใน 15 วัน และสั่งให้ผู้ให้บริการระงับการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมาย และหากเพิกเฉยให้มีคำสั่งปรับทางปกครองในอัตราสูงสุดตามที่กฎหมายกำหนด มิเช่นนั้นถือได้ว่าสำนักงาน กสทช. ละเลยต่อปัญหาของผู้บริโภคและละเว้นต่อการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติ

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า