Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

สถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อภาคเศรษฐกิจของประเทศไทย ธุรกิจไม่ว่าจะขนาดเล็ก กลาง หรือใหญ่ ต่างต้องเผชิญความท้าทายสำคัญที่จะตัดสินความอยู่รอดของกิจการ ความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมของผู้บริโภค ทำให้หลายธุรกิจพยายามปรับตัวเข้าสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ และเริ่มต้นค้าขายบนตลาดดิจิทัล 

ช่วงเวลากว่า 2 ปีทำให้รูปแบบการจับจ่ายซื้อขายสินค้าของคนไทยเปลี่ยนไป แม้ปัจจุบันสถานการณ์ดูเหมือนจะเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ผู้ประกอบการบางส่วนเองก็เริ่มกลับไปทำการค้าขายแบบออฟไลน์ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า พฤติกรรมการซื้อขายออนไลน์ได้กลายมาเป็น new normal ของผู้คนในภูมิภาคนี้ไปเสียแล้ว

รายงานจาก SYNC Southeast Asia ประจำปี 2022 โดย Mata และ Bain & Company ที่ทำการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคกว่า 15,000 คน จาก 6 ประเทศในภูมิภาคอาเซียน เผยว่า ช่องทางออนไลน์ยังคงเป็นพื้นที่สำคัญสำหรับการซื้อสินค้าของผู้บริโภค เพราะ 80% ของการค้นหาและประเมินก่อนซื้อสินค้า เกิดขึ้นบนช่องทางออนไลน์ รวมถึงมีความคาดหวังในอนาคตด้วยว่า เส้นทางการซื้อขายออนไลน์ ตั้งแต่การค้นหา ซื้อสินค้า ไปจนถึงบริการหลังการขาย จะถูกพัฒนาให้มีความลื่นไหลมากขึ้น

เหล่าผู้ประกอบการ (SMBs) ที่มองเห็นโอกาส และต้องการจะปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย ถึงเวลาแล้วที่จะต้องหันมาให้ความสนใจกับองค์ความรู้ด้านการค้าขายและการตลาดดิจิทัล ตลอดจนการใช้งานเครื่องมือต่างๆ ของแพลตฟอร์มออนไลน์ ที่หลายคนอาจไม่คุ้นเคยมาก่อน

ไม่ใช่ “ทางเลือก” แต่เป็น “ทางรอด”

“พอยุคเปลี่ยน เราก็ต้องเปลี่ยนตาม ที่ผ่านมาเราค่อยๆ เข้าสู่โลกออนไลน์ สร้างเพจ Facebook ให้สมาชิกได้เริ่มเข้าถึง ต่อให้สมาชิกจะไม่ได้ติดตาม แต่หากลูกหลานสามารถดูข่าวสารทางโลกโซเชียล เขาก็สามารถมารับข่าวสารจากเรา ไปแจ้งคุณพ่อคุณแม่ของเขาได้” สรารัตน์ ทรงเจริญ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สหกรณ์วัดจันทร์ จำกัด สหกรณ์อายุกว่า 106 ปี พูดถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย เพื่อให้องค์กรอยู่รอด

ด้าน ภิรมย์พร ทำบุญ เจ้าของร้านป้ากลมข้าวคลุกกะปิ ร้านอาหารตามสั่ง อายุกว่า 26 ปี ก็เริ่มหันมาสนใจการตลาดผ่านโซเชียลมีเดีย หลังจากได้รับผลกระทบอย่างหนักในช่วงโควิดที่ผ่านมา “ช่วงที่คนต้องอยู่บ้าน ออกมาทานข้าวที่ร้านไม่ได้ ร้านเราได้รับผลกระทบหนักเลย เพราะงานประจำของเราคนเดียวมันไม่พอใช้จ่าย ตอนนั้นที่จริงเราเปิดเพจเข้าสู่โลกออนไลน์มา 5 ปีแล้ว แต่ก็ไม่ได้ขายจริงจัง ใช้ไม่ค่อยเป็นด้วย แต่พอเจอปัญหาเราเลยต้องลองมาศึกษาดู”

ตลาดใหม่ ไร้ขีดจำกัด

นอกจากจะเป็นทางรอดของธุรกิจอายุยาวนาน การเชื่อมโยงที่ไร้ขีดจำกัดของแพลตฟอร์มออนไลน์ ยังได้ทำหน้าที่ขยายตลาดให้กับเจ้าของกิจการบางประเภท โดยเฉพาะเหล่าเกษตรกร

“เมื่อก่อนบางสวนเขาปล่อยให้ปาล์มร่วงเลย เพราะพ่อค้าไม่มาซื้อ เจ้าของสวนก็ร้องไห้กันไป” ธิดาพร ศรีดี ประธานหจก. ปาล์มแปลงใหญ่มายอ เผย และแม้ช่วงโควิดที่ผ่านมา ธุรกิจสวนปาล์มอาจไม่ได้รับผลกระทบนัก แต่ตลาดซื้อขายก็ถือว่าชะลอตัวลง ธิดาพรจึงหันมาเคลื่อนไหวมากขึ้นในช่องทาง Facebook 

“ถ้าเราไม่เปิดโลกออนไลน์ มันก็คือเป็นตลาดปิด แต่ถ้าเราเปิดออนไลน์ไปด้วย มันก็คือตลาดกว้าง ไม่ใช่แค่ในอำเภอมายอ ไม่ใช่แค่จังหวัดปัตตานี แต่คือทั่วหมดเลย”

เช่นเดียวกับ แสงระวี ภูมิลามัย เจ้าของพริกทอดยายเปรี้ยว จ.บุรีรัมย์ ที่เดิมมีอาชีพเป็นเกษตรกรปลูกพริก และกำลังหาทางแก้ปัญหาพริกล้นตลาด ด้วยการเปลี่ยนพริกซึ่งเป็นผลผลิตทางการเกษตรให้กลายเป็นสินค้าแปรรูป

“พอพริกมันเยอะ ราคาก็ตก เราเลยคิดว่าจะทำอย่างไรเพื่อยืดอายุและเพิ่มมูลค่าของพริกเรา ตอนนั้นก็นึกถึงอาจารย์ราชภัฏท่านหนึ่งที่ให้เราชิมพริกทอด เราเลยมีไอเดียว่าลองทำดูดีกว่า เพราะพริกเราก็ได้มาตรฐาน GAP จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เราน่าจะทำได้ สุดท้ายกลายเป็นแบรนด์พริกทอดสูตรของเรา พอลองเอาไปออกบูธแล้วพบว่าคนชอบ เราเลยคิดว่าควรเอามาขายออนไลน์ สร้างตลาดใหม่ๆ สร้างรายได้ให้ชาวบ้าน คนเฒ่าคนแก่ที่มาช่วยเด็ดพริกให้เรา”

‘ขาย’ อย่างเดียว เดี๋ยวนี้ไม่พอ

แต่เพราะการนำสินค้าไปโพสต์ ‘ขาย’ เพียงอย่างเดียว อาจไม่สามารถทำให้กิจการเติบโตหรือเดินหน้าต่ออย่างที่คาดหวังได้ เพราะความหลากหลายของสินค้ามีมากขึ้น ทางเลือกของผู้บริโภคก็มีมากขึ้นตาม นี่จึงเป็นจุดที่กลยุทธทางการตลาดและเครื่องมือดิจิทัล เริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญ และเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้โครงการ Meta Boost 2022 ซึ่งจัดขึ้นเพื่อแบ่งปันองค์ความรู้ด้านการตลาดออนไลน์ และการใช้งานแพลตฟอร์มดิจิทัล ได้รับความสนใจเป็นอย่างยิ่งในช่วงที่ผ่านมา

“ก่อนหน้านี้เรามีตลาดทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ออฟไลน์ของเราคือการขายผักปลอดภัยให้คนในชุมชน ส่วนออนไลน์คือการเปิดขายข้าวโพดราชินีทับทิมสยามผ่าน Facebook พอเราได้มาอบรมกับ Meta Boost เราเข้าใจถึงการวิเคราะห์ข้อมูล การดูข้อมูลเชิงลึก และการ Live ขายของมากขึ้น อย่างการถ่ายทำกิจกรรมภายในสวนของเราให้คนเห็นผ่าน Reels ก็เป็นการโปรโมทแบบไม่ต้องเสียเงินเพิ่มเลย ตอนนี้เราเองก็มีคนที่รู้จักและเห็นข้อมูลมากขึ้นจาก Reels”

สายรุ้ง แง่มสุราช เจ้าของหัวร้อนฟาร์ม เกษตรกรรุ่นใหม่ที่ก่อนหน้านี้ไม่เคยเห็นความสำคัญของการทำคอนเท้นต์วิดีโอมาก่อน เล่าให้ฟังถึงประสบการณ์การเข้าร่วมอบรมกับ Meta Boost ที่จังหวัดบุรีรัมย์ 

ผลลัพธ์นี้ สอดคล้องกับผลการศึกษาจาก SYNC Southeast Asia ที่พูดถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เริ่มแสวงหาการทดลองและอยากมีส่วนร่วมกับการซื้อขายสินค้ามากขึ้น เราจึงได้เห็นกระแสการทำวิดีโอเพื่อสื่อสารถึงธุรกิจต่างๆ รวมไปถึงสถิติที่เผยว่า เกือบ 1 ใน 3 ของผู้ตอบแบบสำรวจ จัดอันดับให้วิดีโอเป็นช่องทางที่ตนใช้สำหรับการค้นหาสินค้า ขณะที่เราก็ได้เห็นการเพิ่มขึ้นของครีเอเตอร์ที่กลายมาเป็นชนวนขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการใช้งานวิดีโอตามมา

“ทราบข่าวว่ามีจัดอบรม Meta Boost เลยไปเข้าอบรมกับเขา เขาสอนตั้งแต่เป้าหมายในการทำธุรกิจเลย ว่าเราจะไปทางไหนและไปแบบไหน เราได้รู้จักกับเครื่องมือชื่อ Business Suite ที่้ทำให้เราจัดการเพจได้ง่ายขึ้นกว่าเมื่อก่อน มากกว่าตอนที่เราใช้ Facebook ส่วนตัว” ณภัทร เชาวกรกุล เจ้าของร้าน Yummy room สลัด ดิลิเวอรี่ บุรีรัมย์ คุณแม่ฟูลไทม์ที่เริ่มต้นธุรกิจได้หลังจากลูกๆ เริ่มเข้าโรงเรียน เผย

เพราะการค้าขายผ่านช่องทางออนไลน์อาจเป็นสิ่งที่ไม่ว่าใครก็เริ่มต้นทำได้ แต่การใช้งานทุกเครื่องมือให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดกลับเป็นคนละเรื่องกัน นัสรี่ย์ สามะ เจ้าของ Naaree shop อีกหนึ่งแม่ค้าออนไลน์พ่วงตำแหน่งคุณแม่เลี้ยงเดี่ยวจากจังหวัดปัตตานี ก็ได้รับความรู้ที่น่าสนใจไปจากการอบรมของ Meta Boost เช่นกัน 

“เราได้ฝึกในการใช้เครื่องมือของ Instagram และ Facebook มากขึ้น จากเมื่อก่อนที่เคยโพสต์ของขายลงกลุ่ม หรือไม่ก็ Live ขายตรงๆ เราเริ่มรู้จักวิธีการถ่ายรูปให้สวย ทำคอนเท้นต์ให้ปังเพื่อดึงความสนใจ ตอนนี้ต่อให้เป็นตลาดที่มีแต่การแข่งขันและตัดราคา แต่ถ้าสินค้าและการนำเสนอน่าสนใจ ยังไงเราก็ขายได้”

อนุรักษ์ทุกความสนใจให้คงอยู่ต่อ

แพลตฟอร์มออนไลน์ยังเป็นอีกพื้นที่ที่พาให้กลุ่มคนที่มีความสนใจแตกต่างหลากหลาย สามารถทำความรู้จักและรวมกลุ่มเป็น community ได้ เพื่อสืบทอดและส่งต่อสิ่งที่อาจจะกำลังสูญหายไป

“ไก่เหลืองหางขาว หรือ ไก่ชนพระนเรศวร ก่อนหน้านี้ก็พอจะมีตลาดประกวดและแหล่งอนุรักษ์ในจ.พิษณุโลกอยู่บ้าง แต่เพราะคนที่อนุรักษ์ก่อนหน้านี้เริ่มอายุเยอะขึ้น เราที่เป็นเด็กรุ่นใหม่ก็อยากจะช่วยกันผลักดันและอนุรักษ์ให้มันได้ไปต่อ” ศักดิ์สิทธิ์ ด้วงรอด  ผู้ดูแลศูนย์เรียนรู้ชุมชนไก่เหลืองหางขาว จ.พิษณุโลก เล่า

“ถ้าพูดถึงการเปิดเพจ ผมเปิดมาเป็น 10 ปีแล้ว เราก็เห็นเป็นแนวทางว่ามันจะทำให้คนนอกพื้นที่ คนต่างประเทศสามารถเข้ามารู้จักตัวตนของเราในสื่อออนไลน์ได้ แต่ก่อนหน้านี้เราก็ทำแค่ถ่ายรูปลงไป ไม่ได้ครีเอทอะไร พอได้อบรมกับ Meta Boost เราก็ได้ศึกษาเกี่ยวกับการยิงโฆษณา ที่ทำให้มีการมองเห็นหลากหลายมากขึ้น บางทีมีคนทักเข้ามาแลกเปลี่ยนความคิดกัน เราก็ได้ความคิดแปลกใหม่ที่เข้ามาต่อยอดกับธุรกิจของเรา บางทีเรื่องที่เราไม่รู้เลย เราก็ได้เปิดโลกทัศน์ใหม่จากตรงนี้”

ส่วน อับดุลมาลิบ เจะนา เจ้าของ ฟาร์มชันโรง ตรีโกน่าฟาร์ม ก็ได้แบ่งปันแนวคิดการทำธุรกิจเชิงอนุรักษ์ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ไว้อย่างน่าสนใจ “ตอนแรกที่ผันตัวมาเลี้ยงชันโรง เราก็คิดอยู่ว่าจะขายให้ใคร เพราะว่าคนบ้านๆ แถวนี้เขาไม่ซื้อหรอก มันไม่มีตลาด ลูกๆ ที่เรียนอยู่เขาก็บอกว่า พ่อน่าจะเปิดเป็นเพจที่สามารถโฆษณาของเราได้ พอเราทำคนก็สนใจติดต่อมา มาซื้อบ้าง มาขอคำแนะนำบ้าง กิจการของเรามันก็ขยาย แล้วการที่เราเลี้ยงชันโรงมันก็ไม่ใช่ว่าจะดีเฉพาะตัวเรา แต่มันดีกับธรรมชาติด้วย เพราะถ้าไม่มีต้นไม้ ชันโรงก็ทำรังอยู่ไม่ได้ ดังนั้นทุกครั้งที่มีคนมาดูงาน เราจะไม่ได้แนะนำให้เลี้ยงอย่างเดียว แต่เราจะแนะนำให้ปลูกต้นไม้ด้วย ยิ่งพื้นที่อุดมสมบูรณ์เท่าไหร่ ก็หมายถึงจำนวนน้ำผึ้งที่เพิ่มขึ้น และธุรกิจที่เติบโต”

โอกาสต่อไป ของใครที่ถูกทอดทิ้ง

วิชัย จาดพันธ์อินทร์ หนึ่งในเจ้าหน้าที่จาก มูลนิธิส่งเสริมและพัฒนาคนพิการ ทำหน้าที่สอนวิชาคอมพิวเตอร์เบื้องต้นและคอมพิวเตอร์กราฟิกพื้นฐาน ให้แก่เยาวชนและผู้ที่สนใจมาตลอด 5 ปี พูดถึงทักษะสำคัญที่มูลนิธิมองว่าคนพิการควรได้เรียนรู้ หรือก็คือทักษะการใช้คอมพิวเตอร์

“เนื้อหาที่เราสอนจะเป็นการใช้โปรแกรมออฟฟิศพื้นฐาน และการออกแบบงานกราฟิกเบื้องต้น เพื่อให้น้องๆ นำไปประยุกต์ใช้ หรืออัพสกิลให้ใช้งานโปรแกรมได้ ทีนี้พอ Meta Boost เสนอโครงการอบรมนี้มา เราก็อยากผลักดันให้น้องบางคนที่มีความฝันจะขายของออนไลน์ หรือว่าใครอยากจะเป็นช่องทางสร้างแรงบรรดาลใจให้กับคนอื่นก็ทำได้”

แพลตฟอร์มออนไลน์กำลังเชื่อมให้ผู้คนเข้าใกล้กันมากยิ่งขึ้น และลบข้อจำกัดต่างๆ ที่เคยมีออกไป พื้นที่แห่งนี้กำลังโอบรับทุกความแตกต่างหลากหลาย เปิดกว้างให้กับทุกความเป็นไปได้ และรอให้คุณมาเริ่มต้นมองหาโอกาสใหม่ๆ Meta Boost จะเป็นหนึ่งในหลายๆ โอกาสที่เหล่า SMBs สามารถคว้าไว้ เพื่อเตรียมตัวให้พร้อม สำหรับโลกที่มีแต่จะหมุนไปข้างหน้า และเต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลง

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า