Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

สธ.สรุปผลตรวจผู้ป่วยสงสัยติดเชื้อฝีดาษลิง 10 ราย พบเป็นเชื้อไวรัสเริม สั่งเข้มเฝ้าระวัง เน้นย้ำมาตรการคัดกรองผู้ป่วยคลินิกเฉพาะ สนามบินนานาชาติยืนยัน ไทยยังไม่พบผู้ป่วยฝีดาษลิง

Hand of a patient with monkeypox infection, 3D illustration. Monkeypox is a zoonotic virus from Poxviridae family, causes monkeypox, a pox-like disease.

วันนี้ (23 มิ.ย. 2565) นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยว่าได้รับรายงานจากด่านควบคุมโรคระหว่างประเทศ และจากโรงพยาบาลทั้งภาครัฐ และเอกชนพบผู้ป่วยสงสัยฝีดาษลิงรวม 10 ราย ทั้งหมดเป็นชาวต่างชาติ ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการได้รับการยืนยันว่า ในจำนวนนี้ 6 รายพบเชื้อไวรัสเริม (Herpes Simplex Virus type 1) ซึ่งทั้ง 6 ราย มีประวัติเชื่อมโยงกับการซ้อมมวยในสนามฝึกซ้อมมวยที่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาใช้บริการจำนวนมาก โดยเฉพาะในพื้นที่ท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ต และจังหวัดกระบี่ ส่วนอีก 4 ราย เป็นโรคติดเชื้อที่ผิวหนัง

นพ.โอภาส กล่าวว่า หน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ได้ประสานให้คำแนะนำสนามฝึกซ้อมมวยที่พบผู้ป่วยทุกแห่ง ให้ทำความสะอาดฆ่าเชื้ออุปกรณ์ฝึกซ้อมและสถานที่เป็นประจำ หากผู้ที่มาฝึกซ้อมมวยมีอาการป่วย โดยเฉพาะมีผื่น หรือตุ่มน้ำ หรือตุ่มหนอง ให้รีบไปพบแพทย์และแจ้งประวัติการเดินทางและร่วมกิจกรรมเสี่ยง รวมถึงเน้นย้ำให้บุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขช่วยกันเฝ้าระวังการระบาดของโรคไวรัสเริม หรือ Herpes Simplex Virus ในพื้นที่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว

• ย้ำฝีดาษลิงติดยากกว่าโควิด-19

นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา กล่าวว่า ในการสอบสวนโรคเบื้องต้นผู้ป่วยสงสัยรายล่าสุดซึ่งศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข กรมควบคุมโรค กรณีฝีดาษลิง ได้รับรายงานจากโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการเมื่อวันที่ 21 มิ.ย.ที่ผ่านมา

ผู้ป่วยสงสัย เพศชาย อายุ 21 ปี ชาวออสเตรเลีย อาชีพนักมวย เดินทางเข้ามาในประเทศไทยเมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 2565 มีประวัติได้ไปซ้อมมวยที่สนามฝึกซ้อมมวยแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี เริ่มมีไข้ ไอ เจ็บคอ และเริ่มมีผื่นแดง ตุ่มน้ำ ตุ่มหนอง บริเวณใบหน้า ลำคอ และแขน ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ยืนยันตรวจไม่พบเชื้อฝีดาษลิง

ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา ระบุว่า เจ้าหน้าที่อยู่ระหว่างเร่งตรวจหาสาเหตุของโรค พร้อมกับเน้นย้ำว่า โรคฝีดาษลิงติดต่อได้ยากกว่าโรคโควิด-19 เพราะต้องมีการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยระยะแพร่เชื้อ ซึ่งเป็นระยะที่ปรากฏอาการแล้ว เช่น มีไข้ ตุ่มหนองตามผิวหนัง

สำหรับสถานการณ์โรคฝีดาษลิงทั่วโลก ตั้งแต่วันที่ 7 พ.ค. – 22 มิ.ย. 65 พบผู้ป่วยยืนยันแล้ว 3,157 ราย จากทั้งหมด 45 ประเทศ

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบผู้ป่วยยืนยันโรคฝีดาษลิงรายแรก ในประเทศสิงคโปร์ เป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ชาวอังกฤษ อายุ 42 ปี มีประวัติเดินทางมาสิงคโปร์ระหว่างวันที่ 15-17 มิ.ย. 65 และกลับมาอีกครั้งวันที่ 19 มิ.ย. 65 เริ่มมีอาการปวดศีรษะวันที่ 14 มิ.ย. และมีไข้วันที่ 16 มิ.ย. อาการหายไปแล้วมีผื่นขึ้นวันที่ 19 มิ.ย. จึงเข้ารับการตรวจทาง tele-consultation ในคืนวันนั้น ถูกส่งตัวไปสถาบันโรคติดเชื้อแห่งชาติ (NICD) และตรวจพบเชื้อวันที่ 20 มิ.ย. โดยทำการค้นหาผู้สัมผัส (contact tracing) พบผู้สัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูง 13 ราย อยู่ระหว่างการกักตัว 21 วัน และผู้สัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงต่ำอีก 2 ราย อยู่ระหว่างติดตามอาการป่วยทุกวันเป็นเวลา 21 วัน ซึ่งนับเป็นผู้ป่วยติดเชื้อมาจากพื้นที่อื่น (imported case) ที่ทางหน่วยงานด้านสาธารณสุข สิงคโปร์ ดำเนินการควบคุมโรค และประเมินเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อ โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติไปในสถานที่เดียวกับผู้ป่วยยืนยันด้วย

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า