Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

อุทิน รับอาสาฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เป็นคนแรกของไทย หลังนักวิจัยไทยได้คิดค้น วิจัยและพัฒนาวัคซีนต้นแบบสำเร็จ โดยได้ทำการทดลองกับลิงไปเมื่อเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา หากทุกอย่างเป็นไปตามแผน ไทยจะมีข่าวดีปลายปี 2564

วันที่ 18 มิ.ย.2563 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยความคืบหน้าการพัฒนาวัคซีนป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 ว่า มีการคิดค้นและวิจัยมีความก้าวหน้าไปมาก หลังจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสถาบันวัคซีนแห่งชาติ (NVI) คณะนักวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ทดลองวัคซีนต้นแบบป้องกันโควิด-19 ชนิด mRNA ของศูนย์วัคซีนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทดลองในลิงชุดแรกที่ศูนย์วิจัยไพรเมทแห่งชาติ จ.สระบุรี เพื่อดูการตอบสนองภูมิคุ้มกันและอาการแพ้หรือไม่
นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า จากการหารือร่วมกับนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขทราบว่าการทดลองคืบหน้าไปมาก แต่ยังไม่ได้มีการทดลองกับคนเนื่องจากยังไม่มีอาสาสมัคร โดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้แสดงความเป็นห่วงพร้อมกับสอบถามนายอนุทินว่า พร้อมที่จะเป็นอาสาสมัครคนแรกของประเทศหรือไม่ ซึ่งนายอนุทิน ยืนยันว่า พร้อมที่จะเป็นผู้ทดลองวัคซีนเป็นคนแรก มั่นใจในความสามารถของบุคลากรทางการแพทย์
สำหรับการทดลองในคนมี 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 ทดลองในอาสาสมัครประมาณ 100 คน แบ่งกลุ่มละ 10-15 คน จะทดลองฉีดวัคซีนขนาดโด๊สต่ำ, โด๊สกลาง และโด๊สสูง โดยจะฉีด 1-2 เข็ม และจะเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ฉีดวัคซีนหลอกเพื่อดูอาการ ไข้ ผื่น เน้น กลุ่ม คนทั่วไป ที่มีความเสี่ยงต่ำ
ระยะที่ 2 ทดลองในอาสาสมัครประมาณ 500 คน เป็นกลุ่มคยทั่วไป จะให้โด๊สยาต่ำลงกว่าในกลุ่มแรก
ระยะที่ 3 ทดลองในกลุ่มอาสาสมัครกลุ่มใหญ่ โดยจะเลือกอาสาสมัครจากพื้นที่การระบาดมากมีอาชีพเสี่ยง เป็นต้น
ก่อนหน้านี้ นพ.นคร เปรมศรี ผอ.สถาบันวัคซีนแห่งชาติ เปิดเผยว่า การพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของไทยได้ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เช่น คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล คณะเภสัช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไบโอเทค สวทช. บริษัท ไบโอเนท-เอเชีย จำกัดในการพัฒนาวิจัยวัคซีนต้นแบบในหลายรูปแบบทั้งรูปแบบดีเอ็นเอ (DNA), เอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA), แต่ที่มีความก้าวหน้า 2 ตัว คือ DNA วัคซีน และ mRNA วัคซีน โดยวัคซีน DNA ของบริษัทไบโอเนท-เอเชีย จำกัด และไบโอเทค เริ่มทดสอบในหนูทดลอง ส่วนวัคซีน mRNA โดยคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผ่านการทดสอบในหนู และเริ่มทดสอบในลิงเมื่อวันที่ 23 พ.ค.ที่ผ่านมา โดยจะใช้เวลาในการทดลอง 3-6 เดือน

เมื่อวันที่ 23 พ.ค.ที่ผ่านมา นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รมว.กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมผู้บริหาร อว.ลงพื้นที่เตรียมการทดสอบวัคซีนโควิด-19 ที่ศูนย์วิจัยไพรเมทแห่งชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ.แก่งคอย จ.สระบุรี เพื่อติดตามความคืบหน้างานวิจัยวัคซีนชนิด mRNA ที่ศูนย์วัคซีนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสถาบันวัคซีนแห่งชาติและกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ซึ่งประสบความสำเร็จในระดับดีหลังทดสอบในหนูทดลองและกำลังเตรียมจะทดสอบในลิง
นาย สุวิทย์ กล่าวว่า การทดสอบในลิงจะฉีดทั้งหมด 3 ครั้ง โดยวัคซีนที่ทดลองในลิงใช้เทคโนโลยีใหม่ของการวิจัยวัคซีน คือ ใช้สารพันธุกรรมของเชื้อ ชนิด mRNA ฉีดครั้งที่ 1 วันที่ 23 พ.ค. เวลา 07.39 น. ครั้งที่ 2 นับไปอีก 4 สัปดาห์ และครั้ง 3 นับไปอีก 8 สัปดาห์ ขั้นตอนการทดสอบในลิงถือเป็นสัตว์ที่ตอบสนองกับไวรัสได้ใกล้เคียงกับมนุษย์มากที่สุด โดยการทดสอบในลิงจะดูเรื่องความปลอดภัย ไม่เกิดโรคแทรกซ้อนเมื่อได้รับวัคซีน และการตอบสนอง คือ สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้จริงก่อนที่จะทดสอบในมนุษย์ ซึ่งคาดว่าอีก 2-3 เดือนจะเริ่มทดสอบได้

ทั้งนี้ กระบวนการทดสอบในมนุษย์มี 3 ระยะเพื่อพิจารณาใน 4 ประเด็นได้แก่ ความเป็นพิษ ความปลอดภัยต่อร่างกาย การกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และประสิทธิผลของวัคซีน คาดว่าจะเริ่มผลิตวัคซีนเพื่อทดสอบในคนได้ในเดือน ส.ค.นี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : ไทยลุ้นผลิตวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ใช้เองปีหน้า

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า