Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

“ยิงจนกว่าพวกมันจะตาย” เป็นคำสั่งที่ตำรวจเมียนมานายหนึ่งเปิดเผยกับสื่อ หลังตัดสินใจข้ามแดนไปขอลี้ภัยในอินเดีย เพราะรับไม่ได้กับคำสั่งให้ตำรวจเข่นฆ่าผู้ประท้วงต่อต้านรัฐประหาร

ปากคำของตำรวจเมียนมา อาจเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่แสดงให้เห็นว่า ทางการเมียนมากำลังยกระดับปราบปรามม็อบต้านรัฐประหาร ที่อาจใช้มาตรการเด็ดขาดถึงขั้นปลิดชีพประชาชนที่ออกมาประท้วง วันนี้ workpointTODAY จะนำการเปิดเผยของตำรวจเมียนมามาเล่าให้ฟัง

1.) สำนักข่าวรอยเตอร์ส สัมภาษณ์ตำรวจเมียนมาที่ตัดสินใจข้ามแดนไปขอลี้ภัยในอินเดีย โดยให้เหตุผลการยื่นขอลี้ภัยว่า เป็นเพราะกลัวอันตรายจากการไม่ยอมทำตามคำสั่งให้สังหารประชาชน ที่ออกมาต่อต้านการรัฐประหารของกองทัพเมียนมา

2.) หนึ่งในตำรวจที่ยื่นขอลี้ภัยทั้งหมด มีตำรวจนายหนึ่งนำเอกสารออกมาแสดงหลักฐานต่อเจ้าหน้าที่อินเดียว่า เขาคือตำรวจเมียนมาจริง โดยหลักฐานที่เขายื่นมีตั้งแต่บัตรประจำตัวประชาชน รวมไปถึงรูปถ่ายขณะที่เขาสวมเครื่องแบบตำรวจ ซึ่งเขาอ้างว่า รับใช้ชาติในฐานะผู้พิทักษ์สันติราษฎร์มาตั้งแต่ 9 ปีที่แล้ว

3.) ตำรวจเมียนมาลี้ภัยนายนี้เปิดเผยว่า เขากับเพื่อนตำรวจอีก 6 นาย ตัดสินใจข้ามแดนเข้าอินเดียเพื่อขอลี้ภัย เพราะไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ และตัดสินใจเดินทางออกจากเมืองคำปัด (Khampat) ของเมียนมาในวันที่ 1 มีนาคม โดยใช้เวลาเดินทางข้ามแดนเข้าอินเดีย 3 วัน

โดยในกรณีของตำรวจนายนี้ต้องจำใจทิ้งภรรยาและลูกสาว 2 คน ซึ่งหนึ่งในนั้นเพิ่งมีอายุ 6 เดือน ซึ่งเขายอมรับว่า คิดถึงครอบครัวที่อยู่ในเมียนมา แต่ก็ไม่กล้ากลับประเทศเพราะกังวลเรื่องความปลอดภัย

4.) ตำรวจเมียนมาลี้ภัยเปิดเผยว่า พวกเขาถูกสั่งให้ใช้อาวุธสังหารประชาชนที่ออกมาต่อต้านรัฐประหาร โดยให้ยิงผู้ประท้วงจนกว่าจะเสียชีวิต ซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเขาทำไม่ลง

นายตำรวจเมียนมาระบุว่า คำสั่งนี้ขัดกับหลักปฏิบัติของตำรวจอย่างชัดเจนที่ระบุไว้ว่า การควบคุมฝูงชนให้ใช้กระสุนยาง และยิงให้ต่ำกว่าเข่า อย่างไรก็ตาม สำนักข่าวรอยเตอร์สระบุว่า ไม่สามารถยืนยันได้ว่านี่คือแนวปฏิบัติตามมาตรฐานของตำรวจเมียนมาจริงหรือไม่

5.) ตำรวจลี้ภัยไม่ยอมเปิดเผยว่า ผู้บังคับบัญชาที่สั่งการให้ยิงผู้ชุมนุมจนเสียชีวิตคือใคร แต่นายตำรวจที่ยื่นขอลี้ภัยในอินเดียหลายคนกล่าวตรงกันว่า คำสั่งตอบโต้ผู้ชุมนุมที่รุนแรงถึงขั้นเอาชีวิต น่าจะมาจากกองทัพเมียนมาเป็นหลัก โดยเปิดเผยว่า กองทัพเมียนมาเป็นฝ่ายกดดันตำรวจให้ออกไปเผชิญหน้ากับประชาชน

ตำรวจนายหนึ่งเปิดเผยว่า ในสถานีตำรวจที่เขาทำงานอยู่ ตำรวจมากถึง 90% สนับสนุนผู้ชุมนุม แต่ไม่มีใครกล้าพอจะออกมานำการประท้วง

6.) ในตอนนี้มีตำรวจเมียนมาและครอบครัวราว 100 คน ที่ข้ามแดนเข้าไปในอินเดียเพื่อยื่นขอลี้ภัย หลังไม่ยอมปฏิบัติหน้าที่สลายการชุมนุมต้านรัฐประหาร โดยมีหลายคนที่ปักหลักรอผลการขอลี้ภัยที่เขตจามปาย (Champai) ในรัฐมิโซรัมของอินเดีย ซึ่งมีชายแดนติดกับเมียนมา

7.) ก่อนหน้านี้มีรายงานว่า เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นของอินเดีย ได้รับจดหมายจากเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นของเมียนมา ให้ส่งตัวตำรวจเมียนมา 8 นายกลับประเทศ โดยอ้างเหตุผลเพื่อรักษาความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

จดหมายดังกล่าวมีเนื้อหาระบุรายละเอียดของตำรวจทั้ง 8 นายอย่างชัดเจน โดยทั้งหมดมีอายุ 22-25 ปี และมีตำรวจหญิง 1 นาย ขณะที่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นของอินเดียเปิดเผยว่า ในตอนนี้อยู่ระหว่างรอการตัดสินใจจากกระทรวงมหาดไทยอินเดียว่า ควรส่งตำรวจเมียนมาเหล่านี้กลับประเทศหรือไม่

8.) อินเดียมีพรมแดนติดกับเมียนมาราว 1,600 กิโลเมตร โดยบางช่วงเป็นพรมแดนธรรมชาติและมีความยืดหยุ่นให้ผู้คนสามารถข้ามแดนไปมาได้ ซึ่งที่ผ่านมาอินเดียเป็นประเทศที่มีผู้ลี้ภัยข้ามพรมแดนจากเมียนมาเข้าไปเป็นระยะ โดยส่วนใหญ่มักเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ชินและชาวโรฮิงญา ที่หนีภัยความรุนแรงในเมียนมา แต่นี่ถือได้ว่าเป็นครั้งแรกที่มีรายงานตำรวจเมียนมาขอลี้ภัย เพราะไม่ต้องการทำตามคำสั่งกองทัพ

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า