Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ชาวเมียนมา 16 ราย ยื่นคำร้องให้อัยการเยอรมันฟ้องทหารประเทศตัวเองฐานกระทำทารุณโหดร้าย ขัดกับกฎหมายอาญาสากลฯ กระบวนการทางอาญาระหว่างประเทศนี้ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในประเทศไทยนัก วันนี้ (24 มกราคม 2566) สำนักข่าว TODAY พูดคุยกับ แพทริก พงศธร ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านการรณรงค์ขององค์กร ฟอร์ติฟายไรท์ (Fortify Rights) ที่ทำงานกับโจทก์ทั้ง 16 ในการยื่นคำร้องเพื่อฟ้องครั้งนี้

แพทริก : “วันนี้ ฟอร์ติฟายไรท์ และพลเมืองเมียนมาจำนวน 16 รายจากหลากหลายชาติพันธุ์ยื่นฟ้องคดีอาญา จริง ๆ เรายื่นคำร้องไปแล้วเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาแต่วันนี้เป็นวันที่เรามาแถลงว่าเราได้ยื่นคำร้องต่ออัยการสูงสุดแห่งสหพันธรัฐเยอรมนี ขอร้องให้ได้มีการเข้าไปสืบสวนสอบสวนว่านายพลทหารเมียนมาได้กระทำการอาชญากรรมร้ายแรง (atrocity) ไม่ว่าจะเป็นการฆาตกรรม ข่มขืน กักขังหน่วงเหนี่ยว ทรมาณ และอาชญากรรมในระดับนานาชาติอื่น ๆ ดังนั้นภายใต้ประมวลกฎหมายอาญาของเยอรมนีเปิดช่องให้ใครก็ตามที่ทำผิดกฎหมายเหล่านี้จะสามารถถูกฟ้องได้ ในกรณีของเราก็มีหลายกรณีที่ถือว่าจัดเป็นอาชญากรรมร้ายแรงได้ ดังนั้นตามหลักการเขตอำนาจศาลสากล (Universal Jurisdiction) ที่ถือว่าไม่ว่าอาชญากรรมนั้นจะถูกกระทำที่ไหน และถ้าอาชญากรรมนั้นถึงเกณฑ์อาชญากรรมร้ายแรงและส่งผลต่อมนุษยชาติ เจ้าหน้าที่เยอรมนีสามารถพิจารณาเปิดคดีได้โดยใช้ตามหลักฐานที่เรามอบให้“

แพทริก พงศธร ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านการรณรงค์ขององค์กร ฟอร์ติฟายไรท์ (Fortify Rights)

ปกติคดีอาญาที่ถูกพิจารณาในศาลระหว่างประเทศจะได้แก่ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ อาชญากรรมสงคราม การกระทำผิดต่อมวลมนุษยชาติ (ข้อหานี้รวมครอบคลุมการฆาตกรรม ข่มขืน กักขังหน่วงเหนี่ยว อุ้มหาย เอาคนลงเป็นทาส ค้าทาสทางเพศ ทรมาณ เป็นต้น โดยต้องมีการกระทำอย่างเป็นระบบและกว้างขวาง) เมื่อเกิดอาชญากรรมเหล่านี้ขึ้น เรามักจะนึกถึงศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court) ที่ตั้งขึ้นมาโดยสนธิสัญญาโรม เช่นนี้แล้ว กรณีนี้ต่างจากศาลอาญาระหว่างประเทศ อย่างไร? 

พงศกร : “ทั้งสององค์กรมีหลักการคล้ายกันแต่สิ่งที่ต่างกันก็คือ สนธิสัญญาโรมที่รับรองศาลอาญาระหว่างประเทศจะเปิดคดีต่อรัฐใดได้ รัฐนั้นจะต้องรับรองหรือเกี่ยวข้องในทางใดทางหนึ่งกับสนธิสัญญาโรมเสียก่อน  ตอนนี้เมียนมาไม่ได้ให้สัตยาบันสนธิสัญญาโรมที่จะเข้าร่วมศาลอาญาระหว่างประเทศ ดังนั้นกรณีที่ก่ออาชญากรรมร้ายแรงตามที่เราได้ร้องไปก็เลยฟ้องในศาลอาญาระหว่างประเทศไม่ได้ เราก็เลยเลือกใช้วิธีนี้แทนหลังจากที่หาหลากหลายทางเลือกมาดูกัน ก็ตัดสินใจว่าเยอรมนีนี่แหละที่เราจะยื่นคำร้อง เพราะเราเชื่อว่าน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดที่จะแสวงหาความรับผิดจากการก่ออาชญากรรมที่เราได้กล่าวไป”

TODAY : การร้องขอให้ฟ้องนี้จะครอบคลุมนายพลกี่คน

แพทริก :ผมยังบอกไม่ได้ว่าจะมีกี่คนที่ถูกระบุว่าเป็นผู้กระทำการนั้นแต่กล่าวได้ว่ามีจำนวนหนึ่งเลยและจะพันไปถึงเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกองทัพเมียนมาด้วย 

TODAY: อย่างนี้แล้วบางคนก็ถูกแบนจากสหภาพยุโรปอยู่แล้ว หากมีการฟ้องเกิดขึ้นหรือมีการตัดสินเกิดขึ้นจะยังเกิดผลอะไรอีก

แพทริก :”ใช่ครับ หลายคนก็ถูกแบนจากสหภาพยุโรปแล้ว เรายินดีกับการตัดสินใจนั้นแต่สิ่งที่จะเกิดจากการฟ้องนี้คือ ข้อแรกมันจะเป็นการบันทึกว่าคนเหล่านี้หรือกองกำลังที่อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของคนเหล่านี้เคยก่อให้เกิดอาชญากรรมนี้ขึ้น ข้อสอง สถานการณ์จะเปลี่ยนไปหรือไม่ ก็เป็นไปได้ว่าในวันหนึ่งเราอาจจะเห็นคนในกองทัพเมียนมาต้องไปตอบคำถามเกี่ยวกับอาชญากรรมเหล่านี้ในศาลเยอรมนี เรื่องแบบนี้สำคัญมาก ผมอยากจะบอกว่าไม่เพียงแต่สำคัญแค่หาคนมารับผิดในภาพใหญ่ แต่มันสำคัญกับโจทก์ทั้ง 16 รายที่เราทำงานในคดีนี้ด้วย พวกเขาต้องการที่จะเห็นความยุติธรรม เห็นคนมารับผิดต่ออาชญากรรมที่พวกเขาเป็นประจักษ์พยานหรือเป็นเหยื่อ”

หลังการรัฐประหาร 2021 เกิดความรุนแรงทั่วทุกภูมิภาคในเมียนมา หญิงชาวชินซึ่งเป็นโจทก์รายหนึ่งบอกกับ Fortify Rights ว่า “พวกเขาไม่เคยคิดว่าเราเป็นคนเลย ปฏิบัติกับเราเหมือนเป็นวัตว์ หรือวัตถุสิ่งของ” 

TODAY: นอกจากการได้ความเป็นธรรมในแง่ความรู้สึกแล้ว ถ้ามีการพิจารณาคดีนี้และมีการตัดสินจะส่งผลกระทบอย่างไรในเชิงรูปธรรม หรือต่อเวทีโลก

แพทริก : “เราหวังว่าจะได้รับควาวมสนใจและสร้างความตระหนักรู้ต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในเมียนมา ตอนนี้มีทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นในอัฟกานิสถาน ในยูเครน ความสนใจของคนในโลกค่อนข้างพุ่งไปหลายทาง แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในเมียนมาก็เป็นเรื่องใหญ่มากเหมือนกัน คนต้องย้ายที่อยู่เป็นล้านคน หลายพันคนถูกฆ่า กว่าหมื่นคนถูกขังคุกในเรื่องที่ไม่สามารถให้คำอธิบายได้ เราก็เลยคิดว่าสถานการณ์อย่างนี้ก็เป็นสถานการณ์ที่โลกควรให้ความสนใจด้วยเหมือนกัน สาเหตุนี้แหละที่ทำให้เราร้องขอให้ฟ้องคดีนี้ แต่นอกจากนั้นเราก็ต้องการคนมารับผิด เราต้องการให้คนที่ก่ออาชญากรรมได้รับผลของสิ่งที่เขาทำซึ่งหนักหนาสาหัสมาก ทั้งฆ่า ข่มขืน และความทารุณโหดร้ายอื่น ๆ เราและเหยื่อต้องการให้มีคนมารับผิดชอบสิ่งนี้”

การแถลงข่าวการยื่นคำร้องเพื่อฟ้องในเยอรมนี จัดโดย Fortify Rights ที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศประจำประเทศไทย กรุงเทพมหานคร วันที่ 24 มกราคม 2566

TODAY: หากอัยการสูงสุดเยอรมนีรับคดี กระบวนการสอบสวนจะสามารถทำได้อย่างไรหากไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปสอบสวนในเมียนมา

แพทริก : “เราได้รวบรวมพยานหลักฐานให้อัยการเยอรมนีร่วมกับคำร้องแล้ว รวมแล้วตัวคำร้องหนากว่า 200 หน้า และภาคผนวกอีกกว่า 1,000 หน้า ให้อัยการได้ตรวจสอบและวิเคราะห์เรายังร่วมกับองค์กรอื่น ๆ และบุคคลเพื่อให้เป็นพยานต่อเจ้าพนักงานในเยอรมันด้วยเหมือนกัน  ดังนั้นเจ้าพนักงานเยอรมันจะมีทรัพยากรมากมายให้พิจารณา แน่นอนว่าด้วยสถานการณ์ตอนนี้อาจจะไปตรวจสอบในเมียนมาไม่ได้ แต่สถานการณ์ก็จะเปลี่ยนไปในอนาคต 

ที่ผ่านมาก็มีการตัดสินภายใต้เขตอำนาจศาลสากลมาแล้ว หนึ่งในคดีที่อาจเทียบเคียงกันได้คือกรณีซีเรียที่มีความขัดแย้ง เราเคยเห็นกรณีที่ผู้นำเผด็จการในแอฟริกา ในอเมริกาใต้ต้องรับผิดชอบต่ออาชญากรรมที่เขาก่อในประเทศตัวเองมาแล้ว เรารู้ว่ากระบวนการนี้จะกินเวลานาน แต่หวังว่าวันหนึ่งจะบรรลุเป้าหมายที่จะหาคนรับผิดชอบผ่านกระบวนการนี้”

คำร้องเพื่อฟ้องในครั้งนี้ครอบคลุมเนื้อหาบทสัมภาษณ์ของผู้เสียหายมากกว่า 1,000 ราย ที่รอดชีวิตจากปฏิบัติการของกองทัพเมียนมา

จาก 16 รายที่เป็นโจทก์ร่วม กว่าครึ่งในจำนวนนี้ได้แก่ชาวโรฮิงญาที่เป็นผู้เสียหายจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และปฏิบัติการกวาดล้างชาวโรฮิงญาในช่วงปี 2559-2560 ขณะที่ที่เหลือได้แก่ผู้รอดชีวิตจากเหตุรุนแรงหลังการรัฐประหารในภูมิภาคอื่น ๆ มีชาติพันธุ์ทั้งพม่า ฉิ่น กะเหรี่ยง มอญ คะเรนนี ทั้งหมดมาจากเบื้องหลังที่หลากหลายทั้งเกษตรกร นักศึกษา นักวิชาการ นักปกป้องสิทธิมนุษยชน นักธุรกิจ อดีตผู้ใหญ่บ้านและคนทำงานบ้าน โดยทั้งหมดเป็นทั้งผู้เสียหายและประจักษ์พยานรู้เห็นต่ออาชญากรรมที่เกิดขึ้น หลายคนหลบหนีในต่างประเทศและพำนักในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ทั้งเมียนมา บังคลาเทศ อินเดีย มาเลเซีย เยอรมนีและสหรัฐอเมริกา การยื่นคำร้องเพื่อฟ้องนี้ได้รับความช่วยเหลือโดยสำนักงานกฎหมาย Covington & Burling LLP ซึ่งมีสำนักงานในเยอรมนีเป็นผู้รับว่าความ

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า