Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

เพราะ ‘มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก’ แห่งเฟซบุ๊ก ประกาศแผนสร้าง ‘Metaverse’ หรือ ‘โลกเสมือน’ ที่เกิดจากการผสานกันของพื้นที่โลกจริง-โลกเสมือน ผู้คนทั่วโลกจึงเริ่มตื่นตัวและเห็นความเป็นไปได้ในการใช้ชีวิตแบบ ‘กึ่งจริงกึ่งเสมือน’ มากขึ้น 

แต่จริงๆ มีหนึ่งในผลิตภัณฑ์จากแนวคิด Metaverse ที่เริ่มแพร่หลายแล้วและพวกเราพอจะได้ยินคุ้นหูมาบ้าง อย่าง ‘ห้างเสมือนจริง’ หรือ Virtual Mall 

[ เมื่อโลกปรับ พฤติกรรมคนก็เปลี่ยน ] 

ในโลกปัจจุบันผู้คนมีแนวโน้มใช้เทคโนโลยีในการอำนวยความสะดวกมากขึ้นเรื่อยๆ ที่เห็นได้ชัดเลยคือ การจับจ่ายซื้อผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น โดยเฉพาะประเทศไทยที่มีอัตราการเติบโตของ B2C (Business to Consumer) สูงเป็นอันดับหนึ่งของอาเซียน

จากการสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคในประเทศไทยปี 2559 มียอดผู้ใช้บริการซื้อสินค้าออนไลน์กว่า 8 ล้านคน และยอดใช้จ่ายผ่านช่องทางออนไลน์รวมกว่า 3.25  แสนล้านบาท ส่วนในปี 2560 การซื้อขายทางออนไลน์มีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากปี 2559 ถึง 16% อยู่ที่ 3.76 แสนล้านบาท 

แสดงให้เห็นว่า ‘พฤติกรรมของผู้บริโภคเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงสู่ออนไลน์มาสักพักแล้ว’ 

ไม่ว่าจะเป็นการซื้อของออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์ม Alibaba และ Amazon ที่โด่งดังในระดับสากล หรือแพลตฟอร์ม Shopee Lazada แม้กระทั่ง JD central ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศไทย

ต่อมาโควิด-19 ส่งผลให้ผู้บริโภคต้องเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตอย่างสิ้นเชิง สู่การเว้นระยะห่างทางสังคมหรือกักตัวอยู่ที่บ้าน ทำให้หลายๆ คนเลือกรักษาสุขภาพและความปลอดภัยของตนเอง หลีกเลี่ยงการออกจากบ้านไปช้อปปิ้ง 

วิถีชีวิตที่ปรับเปลี่ยนนี้ยิ่งเป็นปัจจัยกระตุ้นให้ผู้บริโภคใช้บริการร้านค้าและห้างสรรพสินค้าน้อยลงมาก 

จากผลวิจัยกรุงศรีได้ประเมินว่า ในปี 2563 ร้านค้าปลีกมีแนวโน้มหดตัว 10-12% ถือว่ารุนแรงที่สุดในประวัติการณ์ และผู้บริโภคหันมาใช้บริการทางออนไลน์มากขึ้น โดยพบว่าในปี 2563 ธุรกิจช้อปปิ้งออนไลน์เติบโตจากปี 2562 ถึง 35% มีมูลค่าอยู่ที่ 2.2 แสนล้านบาท 

[ ห้างฯ ดิ้นหาทางรอด มุ่งสู่หนทางดิจิทัล ] 

ห้างสรรพสินค้ามีความจำเป็นต้องปรับตัวตามสถานการณ์ จึงเร่งพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์ของตนเองเพื่อดึงดูดผู้บริโภค จะเห็นว่าในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 หลายๆ ประเทศมีความพยายามพัฒนา ‘โครงการห้างสรรพสินค้าเสมือนจริง’ บนแพลตฟอร์มออนไลน์ หรือ Virtual Mall ขึ้น

ใน ‘ญี่ปุ่น’ มีการเปิดตัวห้างสรรพสินค้าอิชิตันในรูปแบบ ‘ห้างเสมือนจริง’ จำลองจากแผนผังจริงของห้างอิเซตันที่ชินจุกุ กรุงโตเกียว มีพนักงานประจำร้านเสมือนจริงคอยให้บริการประจำร้านต่างๆ โดยผู้บริโภคสามารถพิมพ์แชทคุยกับพนักงานได้หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม 

หรือ ‘สิงคโปร์’ ก็มีการจัดทำโครงการ ‘IMM Virtual Mall’ หรือห้างเสมือนจริงขึ้นบนระบบออนไลน์ของ Shopee ที่เชื่อมกับร้านค้าต่างๆ ที่อยู่ในห้างสรรพสินค้า IMM ที่ใหญ่ที่สุดในสิงคโปร์ เพื่อตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายที่ไม่ต้องการออกไปเจอผู้คนในช่วงโควิด-19 แต่ยังคงต้องการจับจ่ายซื้อของเสมือนโลกแห่งความเป็นจริง

ส่วนใน ‘ไทย’ มีการร่วมมือกันของ บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด, บริษัท ซิตี้มอลล์ กรุ๊ป จำกัด (ดิ เอ็มโพเรียม), บริษัท ทีวีไดเร็ค จำกัด (มหาชน), และกลุ่มแบรนด์ไลฟ์สไตล์รีเทลชั้นนำไม่ว่าจะเป็น Loft, Jung Saem Mool, ALAND เพื่อพัฒนาภาคการค้าปลีกของไทยจนเกิดเป็นแพลตฟอร์ม V-Avenue by AIS 5G ซึ่งถือเป็น Virtual Mall แห่งแรกของไทย

โดยแพลตฟอร์ม V-Avenue by AIS 5G สามารถเข้าใช้งานห้างเสมือนจริงได้ผ่านเว็บไซต์ V-Avenue.Co ที่จะนำเสนอห้างสรรพสินค้าและคอมมูนิตี้มอลล์แบบสามมิติ เชื่อมต่อโดยตรงกับมาเก็ตเพลสออนไลน์ของแต่ละห้างฯ และร้านค้า ให้สัมผัสประสบการณ์ช้อปปิ้งที่แตกต่าง

แต่จริงๆ แล้ว Virtual Mall ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย

ข้อดีของ Virtual Mall คือ ตอบโจทย์ผู้ใช้ในยุคปัจจุบันมาก เพราะผู้คนเข้าถึงโลกออนไลน์ได้อย่างแพร่หลาย และการนำเทคโนโลยี 3D มาใช้ใน Virtual Mall ทำให้ผู้ใช้บริการมองเห็นภาพรวมของห้างเสมือนจริงที่มีการรวมกันของร้านหลากหลายแบรนด์ รวมถึงร้านเล็กๆ จากผู้ประกอบการณ์รายย่อยได้อย่างครบถ้วนถึง 360 องศา 

อีกทั้งยังสามารถพบปะกับผู้ใช้บริการคนอื่นๆ ได้ใน Virtual Mall เสมือนกับการใช้ชีวิตในสถานการณ์ปกติในสถานการณ์ที่ไม่ปกติอย่างการแพร่ระบาดของโควิด-19

ส่วนข้อเสีย คือ ยังคงมีการตั้งคำถามเรื่องความปลอดภัยในการใช้บริการ เนื่องจาก Virtual Mall จะมีการบันทึกข้อมูลการใช้งานของผู้ใช้บริการทั้งข้อมูลส่วนตัว รวมถึงข้อมูลบัตรเครดิตของผู้ใช้ และตัวผู้บริโภคเองก็ยังไม่คุ้นชิน เลยทำให้เกิดความลังเลในการจับจ่าย หลายคนเลือกที่จะใช้บริการผ่าน E-Commerce ที่คุ้นเคยมากกว่า

[ โอกาสธุรกิจกับ Virtual Mall ]

อ้างอิงจากข้อมูลของ Goldman Sachs (ธนาคารเพื่อการลงทุนรายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา) คาดการณ์ว่าภายในปี 2025 ตลาดค้าปลีกที่มีการใช้เทคโนโลยีสร้างความเสมือนจริงจะเติบโตถึง 1.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจำนวน 2 ใน 3 ให้ความสนใจกับเทคโนโลยีนี้ ส่วนสินค้าที่มีแนวโน้มว่าจะได้ประโยชน์จากเทคโนโลยี Virtual Reality คือ สินค้าประเภทเทคโนโลยี

การสร้าง Virtual Mall บนแพลตฟอร์มช้อปปิ้งออนไลน์จะเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขันให้แก่ผู้ประกอบการ แต่ Virtual Mall จะเป็นกลาย ‘โอกาส’ สำหรับผู้ประกอบการได้หรือไม่ ล้วนขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์และความสามารถในการปรับตัวให้ทันสมัยตามเทคโนโลยี

[ Virtual Mall จะมาแทนช่องทางที่มีอยู่ ? ]

แม้ว่าการช้อปปิ้งออนไลน์จะสร้างความอิ่มอกอิ่มใจทุกครั้งที่พัสดุมาส่งถึงหน้าบ้าน แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสิ่งที่การช้อปปิ้งออนไลน์ไม่สามารถมอบให้ผู้บริโภคได้ คือ “ประสบการณ์ในการช้อปปิ้ง” อย่างการที่ผู้บริโภคได้หยิบจับ ได้ทดลองสินค้า ก่อนที่จะจับจ่ายซื้อสินค้าเหล่านั้น หรือการได้ยินเสียง 

ดังนั้น เพื่อความสมจริง สิ่งที่ควรใส่ไปในห้างเสมือนจริงคือ การใส่เสียงพื้นหลัง เช่น เสียงเพลง เสียงพูดคุยห่างๆ หรือเสียงฝีเท้า จะทำให้สมองของผู้บริโภคเชื่อว่าห้างเสมือนจริงนี้เป็น ‘ของจริง’ มากยิ่งขึ้น

ความสำเร็จส่วนหนึ่งของ Virtual Mall จึงขึ้นอยู่กับการพัฒนาเทคโนโลยีและการนำมาใช้มอบประสบการณ์ช้อปปิ้งที่เหมือนจริงให้แก่ผู้ใช้บริการให้ได้มากที่สุด

แม้ว่าปัจจุบัน Virtual Mall จะอยู่ในขั้นเริ่มต้น แต่มีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก เมื่อถึงเวลานั้นอาจพูดได้ว่า เราได้ก้าวเข้าสู่โลก Metaverse ที่ผสมโลกแห่งความจริงกับโลกเสมือนความจริงเข้าด้วยกัน เพื่อช้อปปิ้งแบบไม่ต้องก้าวขาออกจากบ้านในห้างเสมือนจริง

บทความชิ้นนี้เขียนขึ้นโดย อานันท์ ไชยธรรม, พัณณิกา นนท์ธีรกร  และสุพิชญา บรรเจิดเวหา จากทีม ‘Mp6’ ผู้เข้าประกวดการแข่งขันนักข่าวรุ่นใหม่ NEWSGEN by Dtac

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า