Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ปูพรมร้านของเก่าทั่วปราจีนบุรี ค้นหาสารกัมมันตรังสี ซีเซียม-137 สารอันตราย ตั้งรางวัล 50,000 บาท สำหรับคนที่ให้ข้อมูลนำสารดังกล่าวกลับคืนมาได้ ด้าน สธ.เร่งประสานแพทย์เชี่ยวชาญพร้อมรับสถานการณ์

จากกรณีท่อเก็บสารกัมมันตรังสี ‘ซีเซียม-137’ (Sesium-137) เป็นวัสดุทรงกลม ยาว 8 นิ้ว กว้าง 5 นิ้ว หนัก 25 กก. หายไปจากโรงงานไฟฟ้าแห่งหนึ่งใน อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี เมื่อหลายวันก่อน ยังค้นหาไม่พบ ล่าสุดเจ้าหน้าที่ได้ตั้งรางวัล 50,000 บาท สำหรับคนที่ให้ข้อมูลนำสารดังกล่าวกลับคืนมาได้

● ปูพรมร้านของเก่า ปราจีนบุรี 

เช้าวันนี้ (15 มี.ค. 2566) เจ้าหน้าที่จากสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) ระดมกำลังปูพรมค้นหา ซีเซียม-137 ร้านขายของเก่ากว่า 40 ร้านใน จ.ปราจีนบุรี พร้อมขอความร่วมมือประชาชน หากพบเห็นแท่งเหล็กที่เป็นวัสดุทรงกลม ยาว 8 นิ้ว กว้าง 5 นิ้ว หนัก 25 กก. ห้ามผ่า เพราะอาจทำให้สารกัมมันตรังสีที่บรรจุอยู่ด้านในรั่วไหลได้ และเกิดผลกระทบโดยฉับพลันกับผู้สัมผัสหรืออยู่ใกล้ในรัศมี 1-2 เมตร หากผู้ใดพบเห็นให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ ที่เบอร์ 085-8350190 จะยังไม่มีความผิด

● ตั้งกองสาธารณสุขฉุกเฉิน เตรียมผู้เชี่ยวชาญ รอรับสถานการณ์

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ปราจีนบุรีรายงานข้อมูลเบื้องต้นว่า วัตถุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 ที่สูญหาย มีลักษณะเป็นแท่งทรงกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 นิ้ว มีตะกั่วปกป้องอยู่ชั้นในและห่อหุ้มด้วยเหล็ก

หากยังอยู่ในสภาพเดิม จะไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อม ซึ่งขณะนี้ยังค้นหาไม่พบ และจากการประเมินสถานการณ์ปัจจุบัน ยังไม่มีข้อบ่งชี้ว่า วัตถุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 ที่สูญหายได้หลุดออกจากเครื่องกำบัง จึงยังไม่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชนและสิ่งแวดล้อม

นพ.โอภาส สั่งการให้กองสาธารณสุขฉุกเฉิน เตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ รวบรวมรายชื่อผู้เชี่ยวชาญด้านกัมมันตรังสี อาทิ นายแพทย์เชี่ยวชาญ สถาบันอาชีวเวชศาสตร์และเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี, ผู้เชี่ยวชาญด้านการคำนวณปริมาณรังสีจากแหล่งกำเนิดรังสีภายในร่างกาย การป้องกันอันตรายจากรังสี และรังสีกับสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และผู้เชี่ยวชาญด้านวัตถุอันตราย จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้งเตรียมประสานโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี และโรงพยาบาลรามาธิบดี กรณีรับส่งต่อผู้ที่ได้รับผลกระทบจากรังสี

นอกจากนี้ยังให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปราจีนบุรี ลงพื้นที่ให้ความรู้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยง เฝ้าระวังผลกระทบด้านสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชนและสิ่งแวดล้อมอย่างใกล้ชิด พร้อมเตรียมสถานพยาบาลในพื้นที่เพื่อรองรับผู้ป่วยที่อาจได้รับผลกระทบด้วย

● ทำความรู้จัก กัมมันตรังสี ‘ซีเซียม-137’

สารซีเซียม-137 เป็นกัมมันตภาพรังสี (radioactivity) คือ สารไอโซโทปของซีเซียม ซึ่งเป็นสารกัมมันตรังสี ปล่อยรังสีบีตา และรังสีแกมมา

อันตรายที่จะเกิดขึ้น : หากสัมผัสในช่วงเวลาสั้นๆ อาจจะไม่มีผลต่อร่างกายที่ชัดเจน แต่หากสัมผัสในระยะเวลานานและปริมาณสูงขึ้นจะเริ่มมีผลต่อร่างกาย ทำให้เกิดผื่นแดงตามผิวหนัง ผมร่วง แผลเปื่อย หากสัมผัสในปริมาณสูงและยาวนาน อาจเกิดพังผืดที่ปอด เกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว เกิดต้อกระจกขึ้นในนัยน์ตา ซึ่งอาการจะขึ้นอยู่กับปริมาณรังสีที่ได้รับ

นอกจากนี้ หากปนเปื้อนลงไปในน้ำ จะส่งผลให้เกิดการกลายพันธุ์ในสัตว์ ขึ้นกับปริมาณการรับและการสะสม หากสัตว์รับสารรังสีเข้าไปจะเพิ่มความเข้มข้นสะสมในห่วงโซ่อาหาร แต่ยังไม่มีผลยืนยันที่ชัดเจนว่าจะถึงขั้นเปลี่ยนระบบนิเวศน์ใต้ทะเลหรือไม่

 รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ให้ข้อมูลว่า เรื่องนี้น่ากังวลเหมือนสมัยก่อนที่เคยมีข่าว ปี 2543 ที่มีคนเก็บของเก่า เอาส่วนหัวของเครื่องฉายรังสีทางการแพทย์ โคบอลต์-60 ไปแกะแยกส่วน แล้วมีผู้ป่วยถึง 10 คนโดยเสียชีวิตไป 3 ราย จึงหวังว่าจะได้รับคืนมาโดยเร็ว และไม่มีใครไปแกะไปผ่ามัน ที่มา  https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/45126

สรุปข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องท่อวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 ที่หายไป ได้ดังนี้

1. ท่อวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 ได้หายไปจากโรงไฟฟ้าพลังไอน้ำ บริษัท เนชั่นแนล เพาเวอร์ แพลนท์ 5 เอ จำกัด ตั้งอยู่เลขที่ 1 ม.2 ถนนทางหลวง 3079 ต.ท่าตูม อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี ซึ่งประกอบธุรกิจประเภทไฟฟ้า ก๊าซ ไอน้ำ และระบบการปรับอากาศ โดยให้บริการด้านการจ่ายไฟฟ้า

– ทางบริษัทฯ ได้ติดตั้งวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม 137 (Cesium-137, Cs-137) ซึ่งวัสดุดังกล่าวมีลักษณะเป็นท่อกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 นิ้ว ยาว 8 นิ้ว น้ำหนัก 25 กิโลกรัม โดยใช้เป็นเครื่องมือวัดระดับของขี้เถ้าในไซโลของโรงไฟฟ้า (ดูรูปประกอบ)

– บริษัทฯ ได้ทำการติดตั้งท่อดังกล่าวตั้งแต่ปี 2534 รวมจำนวน 10 ท่อ แต่เพิ่งทราบว่าหายไปจากโรงไฟฟ้าเมื่อ 23 ก.พ.ที่ผ่านมา โดยบริษัทไม่ทราบว่าหายไปได้อย่างไร หรือหายไปตั้งแต่เมื่อไหร่

– จนทำให้มีข้อกังวลว่าหากผู้ที่นำออกไปจากโรงงานนำวัสดุดังกล่าวไปขายหรือนำไปกำจัดไม่ถูกวิธีจะมีผลกระทบด้านสุขภาพของผู้ที่สัมผัส เนื่องจากทางการแพทย์ยืนยันว่าสารดังกล่าวอันตรายต่อสุขภาพ

– วัสดุดังกล่าวได้หายไป โดยบริษัทไม่ทราบว่าหายไปได้อย่างไร หรือหายไปตั้งแต่เมื่อไหร่ บริษัทเจ้าของท่อกัมมันตรังสีดังกล่าวได้ตั้งรางวัลสำหรับผู้แจ้งเบาะแสที่นำไปสู่การติดตามกลับคืนเป็นเงินจำนวน 5 หมื่นบาทนั้น

– เบื้องต้นคาดว่า น่าจะถูกคนเก็บของเก่านำไปขายเป็นเศษเหล็ก โดยที่เมื่อพิจารณาจากสภาพภายนอกของท่อ มีลักษณะเป็นเครื่องเก่า น่าจะหลุดหล่นลงมาจากการติดตั้ง ผู้ที่พบเห็นอาจไม่รู้ว่าคืออะไร จึงเก็บไปขาย

– แต่สิ่งที่น่ากังวลคือ หากผู้ที่รับซื้อนำไปกำจัดไม่ถูกวิธี จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ที่ได้สัมผัสธาตุกัมมันตรังสีดังกล่าว เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญระบุว่า ท่อวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 อาจจะทำให้ผิวหนังของผู้สัมผัสเกิดอาการเน่าภายใน 3 วัน ในกรณีที่รังสีมีความเข้มข้น และผู้ที่เก็บวัสดุดังกล่าวไปไม่ควรผ่าท่อรังสีโดยเด็ดขาด

สมาคมนิวเคลียร์แห่งประเทศไทย อธิบายว่า ซีเซียม-137 (Cs-137) เป็นไอโซโทป กัมมันตรังสีของธาตุซีเซียม ซึ่งเป็นผลผลิตฟิชชันที่เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชัน

– ซีเซียม-137 มีครึ่งชีวิต 30.17 ปี ประมาณ 95% สลายตัวโดยการปลดปล่อยรังสีบีต้าแล้วกลายเป็นแบเรียม-137m (barium-137m) ซึ่งเป็นไอโซโทปกึ่งเสถียร (metastable) หรือไอโซเมอร์ของแบเรียม-137 (137mBa, Ba-137m) ส่วนอีก 5% สลายตัวไปเป็นไอโซโทปเสถียรโดยตรง

– แบเรียม-137m (Ba-137m) สลายตัวให้ “รังสีแกมมา” โดยมีครึ่งชีวิต 2.55 นาที

– ซีเซียม-137 ปริมาณ 1 กรัม มีกัมมันตภาพรังสี 3.215 เทราเบคเคอเรล (terabecquerel, TBq)

– โฟตอนจากไอโซโทปรังสีแบเรียม-137m มีพลังงาน 662 keV สามารถใช้ประโยชน์ในการฉายรังสีอาหาร (food irradiation) ใช้ในด้านรังสีรักษา (radiotherapy)

– สำหรับผู้ป่วยมะเร็ง มีการใช้ซีเซียม-137 สำหรับการถ่ายภาพด้วยรังสีทางอุตสาหกรรมไม่มากนัก เนื่องจากเป็นวัสดุที่ไวต่อการเกิดปฏิกิริยาเคมี เกลือของซีเซียมละลายน้ำได้ดีทำให้ควบคุมความปลอดภัยได้ยาก จึงมีการใช้โคบอลต์-60 (Cobalt-60) ในงานด้านการถ่ายภาพด้วยรังสีมากกว่า นอกจากจะเป็นโลหะที่ไวต่อปฏิกิริยาน้อยกว่าแล้ว ยังให้รังสีแกมมาพลังงานสูงกว่า

– การนำมาใช้งาน พบซีเซียม-137 ได้ในอุปกรณ์วัดความชื้น เครื่องวัดอัตราการไหล หรืออุปกรณ์ตรวจวัดชนิดอื่นที่ใช้หลักการทำงานคล้ายกัน

– หากบังเอิญได้รับซีเซียม-137 เข้าไปในร่างกาย ควรรับประทานปรัสเซียนบลู (Prussian blue) ซึ่งจะไปทำปฏิกิริยาเคมีโดยจับกับซีเซียม ทำให้ขับออกจากร่างกายได้เร็วขึ้น

– สารกัมมันตรังสี ในท่อซีเซียม-137 มีลักษณะพิเศษที่รังสีที่ปล่อยออกมาจะมองไม่เห็น และการตรวจวัดระดับความเข้มข้นรังสีในธรรมชาติไม่เกิน 7 Rem แต่ในธรรมชาติไม่ควรเกิน 1 มิลลิเร็มต่อชั่วโมง

– ที่สำคัญ สารชนิดนี้ไม่มีกลิ่น ไม่มีสี จึงทำให้ผู้ที่สัมผัสในครั้งแรกจะไม่มีอาการ แต่ภายใน 3 วัน จุดที่สัมผัสจะเริ่มเปื่อยเน่า และภูมิต้านทานในร่างกายจะค่อยๆ ลดลงและหายไป เนื่องจากรังสีจะเข้าไปทำลายแอนติบอดี้ในร่างกาย และต่อมาผมจะเริ่มร่วง

 

 

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า