Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ประธาน กมธ.คมนาคม สภาฯ เสนอครม. ลงมติ “ไม่เห็นด้วย” ขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว-ตั้งคณะกรรมการชุดใหม่

เวทีสัมมนา กมธ.คมนาคม เสนอรัฐบาลเริ่มนับหนึ่งใหม่ ยืดเวลา ขยายอายุสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว

จากที่มีความเป็นไปได้ว่า กระทรวงมหาดไทย จะนำร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว หรือ การขยายอายุสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว ของกรุงเทพมหานคร (กทม.) เพื่อขยายสัญญาสัมปทานให้กับ บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ในเครือบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS ออกไปอีก 30 ปี เป็นสิ้นสุด ปี พ.ศ. 2602 (จากเดิมสิ้นสุดปี พ.ศ. 2572 หรือ อีก 7 ปี) กับ ราคาค่าโดยสาร 65 บาทตลอดสาย เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันอังคารที่ 22 ก.พ. 2565

วันที่ 19 ก.พ. 2565 คณะกรรมาธิการคมนาคม (กมธ.) สภาผู้แทนราษฎร ได้จัดสัมมนา “สายสีเขียวจะไปต่ออย่างไร” ที่โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ
นายโสภณ ซารัมย์ ประธาน กมธ. คมนาคม สภาผู้แทนราษฎร แถลงหลังจากฟังความเห็นจากทุกฝ่ายวันนี้ กรรมาธิการฯ ขอเสนอทางออก เกี่ยวกับปัญหาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว ซึ่งแน่นอนท้ายที่สุดจะต้องมีการนำเรื่องนี้เข้าพิจารณาในครม. โดยทางออกสามารถดำเนินการได้ 2 แนวทาง คือ

1. เมื่อ ครม. สามารถ มีมติ “ไม่เห็นด้วยกับ” ที่กระทรวงมหาดไทยนำเสนอ และขอให้นำกลับไปพิจารณารายละเอียดใหม่ จากนั้นนายกรัฐมนตรีและ ครม. ต้องมีมติยกเลิกคำสั่ง ม.44 เดิม เพื่อให้สามารถนำประเด็นเรื่องนี้ กลับไปพิจารณาตามขั้นตอน พ.ร. บ. ร่วมทุนฯ

2. เมื่อ ครม. สามารถ มีมติ “ไม่เห็นด้วย” แต่ให้ทางกระทรวงมหาดไทย ไปดำเนินการต่อตามคำสั่ง คสช. ที่ 6 วรรค 3 ไปเจรจาใหม่ โดยแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ที่ทุกฝ่ายยอมรับได้ มีส่วนร่วม โปร่งใส เพราะชุดเก่าขาดความน่าเชื่อถือแล้ว คณะกรรมชุดใหม่ต้องพิจารณาระเบียบกฎหมาย และ ระยะเวลาที่ 30 ปี ครบถ้วนเพียงพอหรือยัง ค่าโดยสาร ตั๋วร่วม และหนี้สิน กรรมสิทธิทรัพย์สิน เพื่อให้สังคมมีส่วนร่วมและเกิดความน่าเชื่อถือ ซึ่งเชื่อแนวทางนี้ก็จะเป็นทางออกที่ดีที่สุด

แต่หาก ครม. จะยังเดินหน้านำประเด็นการขยายสัมปทาน 30 ปี เข้าสู่การพิจารณา และเห็นชอบไป ครม. ก็ต้องรับชอบตามกฎหมาย ที่ดำเนินการไปเช่นนั้นเอง

ส่วนความเห็นจากผู้เข้าร่วมสัมมนาในเวทีนี้ น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค ย้ำปัญหาเรื่องนี้ สภาองค์กรฯ มีข้อมูลชัดเจนว่า ปัจจุบันคนไทยต้องใช้บริการรถไฟฟ้าแพงเมื่อเทียบกับรายได้พื้นฐาน เช่น ฝรั่งเศส ใช้ค่าโดยสาร 3 % ต่อ รายได้ขั้นต่ำของประชาชน ญี่ปุ่น 9 % แต่คนไทยปัจจุบันต้องจ่าย 28 % หากสัมปทานสายสีเขียวต่อไปอีก 30 ปี ต้องเก็บค่าโดยสาร สูงสุด 65 บาท จะเท่ากับคนไทย ต้องจ่ายค่ารถไฟฟ้า 39 % เมื่อเทียบกับรายได้พื้นฐาน และย้ำว่า รัฐบาลอย่าดันต่อสัมปทาน อย่าทำให้หมดโอกาส จัดระบบรถไฟฟ้า เป็นโครงข่ายราคาเดียว และหากไปขยายสัญญาสัมปทานสายสีเขียว จากที่จะหมดสัญญาปี 2572 ไปถึง 2602 หรืออีก 37 ปี จะเป็นการสร้างภาระในอนาคต เกิดภาระให้คนในรุ่นต่อไป สภาองค์กรฯ ไม่มีต้องการทำให้เกิดปัญหาเอกชน หรือ กทม .ขาดสภาพคล่อง และขอย้ำว่า ราคารถไฟฟ้าสายสีเขียว คนละ 25 บาท เดินทางทุกโครงข่ายไม่เกิน 33 บาท เป็นราคาทำได้จริง โดยตามอัตราค่าโดยสารนี้ กทม มีรายได้ 23,200 ล้านบาท ในช่วงดังกล่าวซึ่งเพียงพอแล้ว และสภามีข้อเสนอทางออกเรื่องนี้ คือ

1. ส่วนภาคเอกชน จนกว่าจะหมดสัมปทานในปี 2572 สภาองค์กรฯ มีข้อเสนอ 3 ข้อ คือ ให้มีการจัดเก็บค่าโดยสาร 15 บาท และสูงสุดไม่เกิน 44 บาท โดยส่วนต่อขยาย สามารถเก็บค่าโดยสารเพิ่ม กม.ละ 1 บาท เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการรถไฟฟ้า /ให้มีการหารายได้จากพื้นที่พาณิชย์ และโฆษณา ในส่วนต่อขยาย และ กทม . หรือภาครัฐ ไปจ่ายหนี้แก่เอกชน

2. หลังปี 2572 ซึ่งเอกชน ยังถือสัญญา จ้างเดินรถถึงปี 2585 ก็สามารถเปิดประมูลจ้างเดินรถ ถึงปี 2585 (แนวเส้นทางบีทีเอส เดิม) ซึ่ง บีทีเอส ก็สามารถร่วมประมูลได้ หากบีทีเอส ชนะประมูลก็ไม่มีปัญหา หากเป็นรายอื่นในสัญญา สามารถกำหนดให้รายใหม่ต้องเจรจากับบีทีเอส . ซึ่งเป็นผู้รับจ้างเดินรถส่วนต่อขยายอยู่

ยืนยันว่า เรื่องนี้ เมื่อบริการรถไฟฟ้าเป็นการจัดการบริการสาธารณะ ต้องถกเถียงกันได้ เพราะหากครม. ยังฝืนมีมติดังกล่าว ต่อสัมปทานไป ทุกคนทำอะไรไม่ได้ หากจะไปยกเลิกในอนาคต กลายเป็นค่าโง่ ที่เป็นภาระของภาษีประชาชนอีก ส่วนประเด็นที่รัฐบาล กังวลว่า หากไม่เอาเรื่องนี้ เข้าครม. จะโดนดำเนินคดี 157 ละเว้นปฎิบัติหน้าที่ ยืนยัน หากรัฐบาลนำเข้าพิจารณาใน ครม. และบอกว่าไม่เห็นด้วยกับที่ กระทรวงมหาดไทย เสนอ ก็ถือว่ารัฐบาลทำแล้ว ถ้าหากรัฐบาลไปดันขยายต่อสัมปทาน ก็จะโดนดำเนินคดี 157 เช่นเดียวกัน
ด้าน นายสุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวว่า ปัญหาเรื่องนี้ เกิดจากการที่ คสช. ไป มุมมิบ ใช้ ม.44 ในการเจรจา ขยายสัมปทาน กับเอกชน ในเดือนเม.ย. 2562 โดยไม่เคย เปิดเผยข้อมูลอะไรเลยให้ สาธารณชนทราบ ทั้งๆที่ ควรเปิดเผยว่า หลังหมดสัมปทานปี 2572 ช่วงเส้นทางสัมปทานของบีทีเอส เดิม ที่เป็นไข่แดง (หมอชิต-อ่อนนุช-สนามกีฬาฯ) เอกชนมีกำไรเท่าไหร่ ซึ่งจะใช้มาเป็นฐานตัวเลขในการคำนวณ ค่าโดยสารที่เหมาะสมหลังปี 2572 และควรดำเนินการให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ คือโปร่งใส ตรวจสอบได้ ไม่ใช่ไปใช้ ม.44 มาทำแบบตรวจสอบอะไรไม่ได้เลย
ขณะที่ นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ที่ผ่านกระทรวงคมนาคม ได้พยายามขอตัวเลข ที่เกี่ยวข้องกับ กทม จาก กทม. ส่วนทางออกของปัญหาเรื่องนี้ ท้ายสุดควรเป็นอย่างไร กระทรวงคมนาคม มีจุดยืนมาตลอด ให้กทม.เร่งเคลียร์ ประเด็นกฎหมาย เรื่อง กรรมสิทธิ์ ให้จบ จากปัญหาการรับโอนส่วนต่อขยาย สายสีเขียว ด้านทิศเหนือ ทิศใต้ เพื่อให้กทม. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ถูกต้อง ตามหลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งประเด็นนี้ย้ำว่า ทั้ง 2 ฝ่ายต้องหันหน้าเข้าหากัน
สำหรับการแก้ปัญหาหนี้ ของ กทม. สามารถใช้แนวทางเช่า โดยกทม .ไปออกตราสารหนี้ (บอนด์) เพื่อระดมทุนในการแก้ปัญหาหนี้ ก่อนหมดสัมปทานอีก 7 ปี หลังจากนั้น สามารถเปิดประมูลหาผู้รับจ้างเดินรถสัมปทานบีทีเอส.เดิม เพื่อหารายได้ มารับภาระที่เกิดจากการออกบอนด์ ในอนาคต โดยสามารถจัดตั้งหน่วยงานบริหารการเดินรถไฟฟ้าทั้งระบบ เช่น เดียวกับมหานครชั้นนำ อย่างลอนดอน อังกฤษ ซึ่งทุกคนก็เอาใจช่วย ให้ กทม . จัดบริการขนส่งสาธารณะ ให้ดี
ส่วน นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม รองปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ที่ผ่านมามีกฎหมายออกมา (ประกาศ คสช.) ให้กระทรวงมหาดไทยต้องดำเนินการเรื่องนี้ หากไม่ดำนินการนำเรื่องนี้ เข้า ครม. กก็กลายเป็นว่าไม่ได้ทำตามกฎหมาย แต่กระทรวงมหาดไทยจะดำเนินการอย่างไร ก็ต้องให้ กทม. ซึ่งเป็นต้นเรื่องทำการศึกษา ส่งรายละเอียดมาเพื่อนำเข้าสู่การพิจารณา ครม. ในอนาคต

 

อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง

สรุปปมร้อน ขยายอายุสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า