เช็คความเข้าใจ…
เกิดอะไรกับไฟในป่าภาคเหนือ?

สร้างสรรค์โดย

สนับสนุนโดย โครงการ Southeast Asia Rainforest Journalism Fund

บทที่ 1 ที่มาของฝุ่นควัน

ถ้าพูดถึงตัวการของปัญหาฝุ่นควัน…คุณคิดถึงอะไร? คงไม่ใช่เรื่องแปลกเท่าไหร่หาก “ไฟในป่า” จะเป็นหนึ่งในชอยซ์แรก ๆ ที่คุณ หรือ คนทั่ว ๆ ไปนึกถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับพื้นที่ภาคเหนือซึ่งได้รับผลกระทบจากวิกฤตนี้รุนแรงที่สุด

แต่ช้าก่อน…ถ้ามีข้อมูลที่บอกว่า ไม่ใช่ทุกไฟที่ปะทุในป่าเป็นปัญหา คุณจะเชื่อไหม?

เราอยากชวนคุณไปสำรวจชุดข้อมูลที่อาจเผยให้เห็นว่า “ไฟในป่า” มีมิติที่ซับซ้อนกว่าที่เราเคยเข้าใจ ซึ่งภาพจำผิดๆ ที่ผ่านมาอาจนำไปสู่แนวคิดการรับมือที่ยังไม่ตอบโจทย์

ฝุ่นควันและไฟ...พื้นที่ไหน
ได้รับผลกระทบมากที่สุด?

“ฝุ่นควัน” ถือได้ว่าเป็นวิกฤตการณ์ที่ประเทศไทยเผชิญมาเป็นเวลาหลายปี และยังไม่มีทีท่าว่าจะคลี่คลายได้ในเร็ววัน มลพิษทางอากาศนี้มักเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดิมของทุก ๆ ปี จนถูกเรียกขานว่า “ฤดูฝุ่น” ซึ่งตรงกับเดือนมกราคมถึงเมษายน อันเป็นเวลาเปลี่ยนผ่านจากฤดูหนาวไปสู่ฤดูร้อน และสภาพอากาศมีความแห้งแล้ง ความกดอากาศสูง ฝุ่นควันขนาดเล็กจึงไม่ถูกพัดพาขึ้นไปในชั้นบรรยากาศสูง ๆ แต่จะวนเวียนอยู่ใกล้พื้นดินในระดับที่ผู้คนอาศัยอยู่

หนึ่งในสาเหตุหลักของปัญหาฝุ่นควันคือไฟจากการเผาไหม้ นอกจากภายในประเทศแล้วไฟในบริเวณประเทศเพื่อนบ้านอย่างพม่าและลาว ก็ส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ฝุ่นควันในบ้านเราเช่นเดียวกัน ถึงกระนั้นภายในงานชิ้นจะขอพาทุกคนไปสำรวจปัญหาไฟเฉพาะระดับภายในประเทศกันก่อน เพื่อให้เข้าใจภาพเบื้องต้นของปัญหาที่ซับซ้อน และตั้งคำถามถึงนโยบายรับมือซึ่งเกี่ยวข้องกับพวกเราโดยตรง

การศึกษาเพื่อทำความเข้าใจปรากฏการณ์นี้ ส่วนใหญ่ในทางภูมิศาสตร์จะตรวจจับไฟโดยใช้ข้อมูล “จุดความร้อน หรือ Hotspot” ซึ่ง GISTDA ได้ให้นิยามไว้ว่า จุดความร้อน หมายถึง จุดที่ดาวเทียมตรวจพบค่าความร้อนสูงผิดปกติจากค่าความร้อนบนผิวโลก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นความร้อนจากไฟ

ข้อมูลจุดความร้อนมาจากไหน

ออกแบบโดย Punch Up

ที่มา : สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (GISTDA)

จุดความร้อนในประเทศไทย

ทำความรู้จักจุดความร้อนกันแล้ว...
งั้นเราไปดูสถานการณ์จุดความร้อนในประเทศไทยโดยรวมกันดีกว่า

จุดความร้อนสะสมของประเทศไทย
ช่วง ม.ค. - พ.ค. ของปี 2558 - 2565

ที่มา : สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (GISTDA) เก็บข้อมูลโดยดาวเทียม Terra/Aqua ระบบ MODIS

หมายเหตุ : ปี 2565 จุดความร้อนถูกตรวจพบน้อย อาจเนื่องมาจากเป็นปีที่ไทยมีปริมาณฝนตกเฉลี่ยช่วงเดือน ม.ค. - พ.ค. กระจายตัวค่อนข้างมาก และส่งผลให้ในพื้นที่มีความชื้นสูง

ข้อมูลจุดความร้อนสะสม หรือ จำนวนจุดความร้อนทั้งหมดที่ตรวจพบในช่วง 1 ม.ค. - 31 พ.ค. ของปี พ.ศ. 2558 - 2565 จากดาวเทียม Terra/Aqua ระบบ MODIS รายงานโดย GISTDA แสดงให้เห็นว่า 2562 ถือเป็นปีที่ประเทศไทยมีจุดความร้อนสะสมมากที่สุดถึง 29,251 จุด โดยจำนวนจุดความร้อนเฉลี่ยตลอดทั้ง 8 ปี อยู่ที่ประมาณ 19,747 จุด

จุดความร้อนสะสมและความหนาแน่นต่อตารางกิโลเมตร
จำแนกตามภาค ช่วง ม.ค. - พ.ค. ของปี 2560 - 2565

ภาคเหนือตอนบน

4,320 จุด

0.05 จุดต่อ ตร.กม.

ภาคเหนือตอนล่าง

3,895 จุด

0.05 จุดต่อ ตร.กม.

ภาคกลาง

770 จุด

0.04 จุดต่อ ตร.กม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

4,761 จุด

0.03 จุดต่อ ตร.กม.

ภาคตะวันตก

363 จุด

0.01 จุดต่อ ตร.กม.

ภาคตะวันออก

893 จุด

0.02 จุดต่อ ตร.กม.

ภาคใต้

1,004 จุด

0.01 จุดต่อ ตร.กม.

ปี 2560 มี Hotspot 16,006 จุด

สำรวจจุดความร้อนสะสมย้อนหลัง

2560

2561

2562

2563

2564

2565

ที่มา : สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (GISTDA) 

ที่มา : สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (GISTDA) เก็บข้อมูลโดยดาวเทียม Terra/Aqua ระบบ MODIS

และถ้าหากแยกดูเป็นรายภาคก็จะเห็นได้ว่าจุดความร้อนเฉลี่ยตลอดทั้ง 6 ปี กระจายตัวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือตอนบนมากที่สุดอยู่ที่ 5,150 จุด และ 4,968 จุดตามลำดับ

โดยหากเราเทียบเฉลี่ยตามขนาดพื้นที่อีกที โซนภาคเหนือตอนบนซึ่งประกอบไปด้วย แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลําปาง ลําพูน เชียงราย แพร่ อุตรดิตถ์ น่าน และพะเยา จะถือเป็นภูมิภาคที่มีจุดความร้อนหนาแน่นที่สุด

จุดความร้อนต่อตารางกิโลเมตรเฉลี่ย
จำแนกตามภาค ช่วง ม.ค. - พ.ค. ของปี 2560 - 2565

ที่มา : สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (GISTDA) เก็บข้อมูลโดยดาวเทียม Terra/Aqua ระบบ MODIS

จากข้อมูลข้างต้น เราได้เห็นกันแล้วว่าภาคเหนือตอนบนเป็นภูมิภาคที่มีจุดความร้อนหนาแน่นที่สุด

จุดความร้อนเหล่านี้ส่งผลกระทบกับผู้คนในพื้นที่อย่างไร เราลองไปดูความสัมพันธ์ระหว่างช่วงเวลาที่เกิดจุดความร้อนและความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดเล็กหรือ ฝุ่น PM 2.5 กันดีกว่า รวมทั้งหากจะตั้งคำถามถึงวิธีการรับมือวิกฤตินี้อย่างตรงจุด เราอาจเริ่มที่การสำรวจดูว่าจุดความร้อนเหล่านี้ปรากฏบนพื้นที่ลักษณะไหนบ้าง

จุดความร้อนและช่วงฤดูฝุ่น

จากข้อมูลจุดความร้อนที่รวบรวมโดยกรีนพีซประเทศไทยและศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคเหนือ (GIST North) โดยดาวเทียม Suomi NPP ระบบ VIIRS ซึ่งสามารถเก็บภาพที่มีความละเอียดสูงกว่า ทำให้จุดความร้อนที่ปรากฏอาจมีจำนวนมากกว่าที่ปรากฎในดาวเทียม Terra/Aqua ระบบ MODIS เราจะเห็นว่าในช่วง ธ.ค. 65 - พ.ค. 66 จุดความร้อนสะสมจะเริ่มเพิ่มขึ้นในช่วงเดือนมกราคมและลดลงอย่างชัดเจนในช่วงเดือนพฤษภาคมซึ่งผ่านพ้นฤดูฝุ่นไปแล้ว

แผนที่แสดงจุดความร้อนในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด ช่วง ธ.ค. 2565 - พ.ค. 2566

เดือนธันวาคม 2565
จุดความร้อน 749 จุด

ฤดูฝุ่น

ธ.ค. 65

ม.ค. 66

ก.พ. 66

มี.ค. 66

เม.ย. 66

พ.ค. 66

เลื่อน

ที่มา : กรีนพีซประเทศไทยและศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคเหนือ (GIST North) เก็บข้อมูลโดยดาวเทียม Suomi NPP ระบบ VIIRS

สรุปจำนวนจุดความร้อนในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด
ช่วง ธ.ค. - พ.ค. ของปี 2560 - 2566

ในทำนองเดียวกัน รูปแบบของจุดความร้อนและฤดูฝุ่น ปรากฎขึ้นซ้ำ ๆ ในลักษณะเดียวกันของทุก ๆ ปี ในช่วง 60 - 66 โดยจะเริ่มเพิ่มขึ้นในช่วงเดือนมกราคม และลดลงอย่างชัดเจนในช่วงเดือนพฤษภาคม ซึ่งหากดูเฉลี่ยเป็นรายเดือน มีนาคมถือเป็นช่วงที่มีการตรวจพบจุดความร้อนมากที่สุด อยู่ที่ประมาณ 14,000 จุด

จำนวนจุดความร้อน

0

26,000

พ.ศ.

2560

2561

2562

2563

2564

2565

2566

ธ.ค. ปีก่อนหน้า

465 จุด

420 จุด

1,068 จุด

1,785 จุด

859 จุด

749 จุด

ค่าเฉลี่ย

891 จุด

ม.ค.

207 จุด

499 จุด

1,123 จุด

29 จุด

4,038 จุด

2,119 จุด

2,533 จุด

ค่าเฉลี่ย

1,506.86 จุด

ก.พ.

450 จุด

1,083 จุด

138 จุด

4,072 จุด

9,673 จุด

3,299 จุด

12,577 จุด

ค่าเฉลี่ย

4,470.29 จุด

มี.ค.

6,499 จุด

4,634 จุด

25,255 จุด

18,105 จุด

15,955 จุด

4,540 จุด

24,443 จุด

ค่าเฉลี่ย

14,204.43 จุด

เม.ย.

1,936 จุด

5,236 จุด

6,347 จุด

5,636 จุด

1,790 จุด

2,933 จุด

19,354 จุด

ค่าเฉลี่ย

6,176 จุด

พ.ค.

2,209 จุด

3,117 จุด

1,097 จุด

670 จุด

1,233 จุด

406 จุด

2,582 จุด

ค่าเฉลี่ย

1,616.29 จุด

ที่มา : กรีนพีซประเทศไทยและศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคเหนือ (GIST North) เก็บข้อมูลโดยดาวเทียม Suomi NPP ระบบ VIIRS

จุดความร้อนสะสมเทียบกับความหนาแน่นของฝุ่น PM 2.5 เฉลี่ย ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด ช่วง ธ.ค. - พ.ค. ของปี 2561 - 2566

ข้อมูลความหนาแน่นของฝุ่น PM 2.5 รายวัน ซึ่งเก็บจากสถานีตรวจจับ* ที่ตั้งอยู่ในโซนภาคเหนือตอนบน 14 สถานี เฉลี่ยช่วงเดือน ธ.ค. - พ.ค. ในปี 2561 - 2566 เผยให้เห็นว่า ปี 2566 ถือเป็นปีที่มีค่าเฉลี่ยความหนาแน่นของฝุ่น PM 2.5 สูงที่สุดอยู่ที่ 57.64 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เกินกว่า 51 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งถือเป็นระดับที่จะเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพตามเกณฑ์ดัชนีคุณภาพอากาศจากกรมควบคุมมลพิษ และยังเป็นปีที่ตรวจพบจุดความร้อนสะสมสูงที่สุดอีกด้วย

ที่มา : กรีนพีซประเทศไทยและศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคเหนือ (GIST North) เก็บข้อมูลโดยดาวเทียม Suomi NPP ระบบ VIIRS

ที่มา : กรมควบคุมมลพิษ

อย่างไรก็ตามจำนวนจุดความร้อนปริมาณมากอาจไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้เกิดฝุ่น PM 2.5 ความหนาแน่นสูงในพื้นที่เดียวกันโดยตรง เนื่องจากมีปัจจัยอีกมากมายที่มีผลต่อความหนาแน่นของฝุ่น ไม่ว่าจะเป็นทิศทางลม สภาพอากาศ หรือ จุดความร้อนในบริเวณอื่น อย่างเช่นในปี 2563 ซึ่งตรวจพบจุดความร้อนสะสมอยู่ที่ 29,580 จุด น้อยกว่าปี 2562 และ 2564 แต่ค่า PM 2.5 ในปีนั้นกลับมีความหนาแน่นเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 50.98 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งสูงกว่าปี 2562 และ 2564  สถานการณ์นี้อาจเป็นผลมาจากจุดความร้อนในประเทศเพื่อนบ้านอย่างลาวและพม่า ซึ่งตรวจพบจุดความร้อนสะสมในช่วงเดียวกันราว 101,763 จุด ซึ่งไฟจำนวนมหาศาลนี้อาจทำให้เกิดควันและถูกกระแสลมพัดพามาถึงโซนภาคเหนือตอนบนของไทยอีกที 

*หมายเหตุ : ข้อมูลความหนาแน่นของฝุ่น PM 2.5 ที่ตรวจจับจากแต่ละสถานีจะสะท้อนถึงคุณภาพอากาศ ณ บริเวณที่ตั้งสถานีเท่านั้น โดยอาจไม่สามารถสะท้อนถึงคุณภาพอากาศของพื้นที่ทั้งภูมิภาคได้

จุดความร้อนบนพื้นที่ลักษณะต่าง ๆ

นอกจากนี้ในการรับมือปัญหาวิกฤติการเผา เราอาจจะต้องเริ่มจากการสำรวจดูว่าจุดความร้อนเกิดขึ้นในพื้นที่ลักษณะไหนบ้าง หรือในพื้นที่ที่เราคิดว่าเป็นปัญหาเช่น ป่า หรือ พื้นที่เกษตรมีจุดความร้อนเยอะตามที่เข้าใจหรือเปล่า โดยแผนที่ด้านล่างคือภาพตัวอย่างแสดงที่มาของข้อมูลจุดความร้อนแยกประเภทตามลักษณะของพื้นที่ในปี 66 อันจะเห็นว่าจากจุดความร้อนทั้งหมด 56,684 จุด ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในป่าถึงราว 77%

แผนที่แสดงจุดความร้อนและประเภทการใช้งานพื้นที่ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด ช่วง ม.ค. - พ.ค. ของปี 2566

สำรวจประเภทพื้นที่

ภาพรวมจุดความร้อนบนพื้นที่ลักษณะต่าง ๆ

จุดความร้อนทั้งหมด 56,684 จุด

พื้นที่ป่า

46,426 จุด (76.5%)

พื้นที่เกษตร

14,002 จุด (23.1%)

อื่นๆ

256 จุด (0.4%)

*1 จุด เท่ากับ 1 จุดความร้อน

ที่มา : กรีนพีซประเทศไทยและศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคเหนือ (GIST North) เก็บข้อมูลโดยดาวเทียม Suomi NPP ระบบ VIIRS

สรุปจำนวนจุดความร้อนและประเภทการใช้งานพื้นที่ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด ช่วง ม.ค. - พ.ค. ของปี 2560 - 2566

เมื่อเรามองภาพรวมช่วงปี 62 - 66 จะเห็นว่า จุดความร้อนในโซนภาคเหนือตอนบน ถูกตรวจพบมากที่สุดในพื้นที่ป่า คิดเป็นร้อยละ 80.22 ของจุดความร้อนสะสมทั้งหมดที่ตรวจพบ และมีจุดความร้อนสะสมปรากฏในพื้นที่เกษตร ประมาณร้อยละ 18.22

ที่มา : กรีนพีซประเทศไทยและศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคเหนือ (GIST North) เก็บข้อมูลโดยดาวเทียม Suomi NPP ระบบ VIIRS

โดยหากพิจารณาเป็นรายปีจะเห็นว่า จุดความร้อนที่ถูกตรวจพบมีจำนวนแตกต่างกันค่อนข้างชัดเจน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ก็เป็นปัจจัยสำคัญต่อการเกิดจุดความร้อน โดยในปี 2565 เป็นช่วงที่เกิดปรากฏการณ์ลานีญาทำให้อากาศมีความชื้นสูง ส่งผลให้เกิดไฟขึ้นได้น้อย ขณะที่ปี 2566 เป็นช่วงเริ่มต้นของปรากฏการณ์เอลนีโญทำให้อากาศมีความแห้งแล้งสูง ไฟจึงเกิดขึ้นได้ง่ายและถูกตรวจพบจำนวนมาก 

บทที่ 2 ไฟในพื้นที่ป่าและพื้นที่เกษตร

ควันเกิดจากไฟ
แต่อาจไม่ใช่ทุก “ไฟ” ที่เป็นปัญหา?

จากข้อมูลที่สำรวจกันไปคงพอเห็นกันแล้วว่า ช่วงที่จุดความร้อนถูกตรวจพบจำนวนมาก จะเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ความเข้มข้นของฝุ่น PM 2.5 อยู่ในระดับที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ซึ่งคงเป็นชุดความเข้าใจที่คนทั่วไปเห็นตรงกันอยู่แล้ว

...แต่เรื่องไฟยังไม่จบเพียงแค่นี้ จากข้อมูลที่เราสำรวจกันไป หากเอาตำแหน่งจุดความร้อนมาวางลงบนแผนที่ซึ่งจำแนกพื้นที่ออกเป็นลักษณะต่าง ๆ เพื่อดูว่าพื้นที่ไหนอาจเป็นปัญหาบ้าง จะเห็นได้ว่าจุดความร้อนกระจายตัวอยู่บนพื้นที่แต่ละลักษณะไม่เท่ากัน

หากสังเกตดูจะพบว่าไฟหลัก ๆ มักเกิดขึ้นในบริเวณป่าและพื้นที่เกษตร เรามาเจาะลึกเรื่องไฟในพื้นที่ทั้ง 2 ประเภทกันก่อนดีกว่า เพื่อที่จะได้เข้าใจสถานการณ์ไฟป่าให้ดียิ่งขึ้น

พื้นที่ป่า
พื้นที่การเกษตร

ไฟและพื้นที่ป่า

จากข้อมูลจุดความร้อนสะสมในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนช่วงปี 2560 - 2566 เราคงเห็นแล้วว่า จุดความร้อนส่วนใหญ่กระจายตัวอยู่ในพื้นที่ป่า ว่าแต่พื้นที่ป่าที่ว่านี้...เป็นป่าประเภทใดบ้าง แล้วมันอันตรายทั้งหมดไหม

แผนที่แสดงจุดความร้อนจำแนกตามประเภทป่าในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด ช่วง ม.ค. - พ.ค. ของปี 2566

ประเภทพื้นที่

ภาพรวมจุดความร้อนบนพื้นที่ลักษณะต่าง ๆ

จุดความร้อนทั้งหมด 46,426 จุด

ป่าผลัดใบ

22,773 จุด (49.1%)

ป่าไม่ผลัดใบ

10,546 จุด (22.7%)

ป่าผสม

13,107 จุด (28.2%)

*1 จุด เท่ากับ 1 จุดความร้อน

ที่มา : กรีนพีซประเทศไทยและศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคเหนือ (GIST North) เก็บข้อมูลโดยดาวเทียม Suomi NPP ระบบ VIIRS

สรุปจำนวนจุดความร้อนจำแนกตามประเภทป่าในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด ช่วง ม.ค. - พ.ค. ของปี 2562 - 2566

พ.ศ.

ประเภทพื้นที่ป่า

ป่าผลัดใบ

ป่าไม่ผลัดใบ

ป่าผสม

2562

2563

2564

2565

2566

0

10,000

20,000

30,000

40,000

50,000

จุดความร้อน (จุด)

ที่มา : กรีนพีซประเทศไทยและศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคเหนือ (GIST North) เก็บข้อมูลโดยดาวเทียม Suomi NPP ระบบ VIIRS

หากเรานำพื้นที่ป่ามาแบ่งออกตามชนิด ได้แก่ ป่าผลัดใบ ไม่ผลัดใบ และผสม จะเห็นได้ว่าสัดส่วนจุดความร้อนสะสมที่ปรากฏในพื้นที่ป่าผลัดใบมากที่สุด โดยอยู่ที่ราวร้อยละ 54.1 เทียบกับจุดความร้อนทั้งหมดที่ตรวจพบ และเจอในป่าไม่ผลัดใบอยู่ที่ราวร้อยละ 28.7 หากพิจารณาแยกเป็นรายปีก็จะเห็นว่าไฟในป่าผลัดใบเกิดขึ้นมากที่สุดในทุก ๆ ปี และเพิ่มสูงขึ้นชัดเจนในปี 66 ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นของปรากฏการณ์เอลนีโญที่สภาพอากาศแห้งแล้งและเกิดไฟได้ง่าย

รู้จักป่าแต่ละประเภท

จากข้อมูลแสดงให้เราเห็นว่าหากมองเฉพาะในมิติป่า ป่าผลัดใบถือเป็นพื้นที่ที่มีจุดความร้อนมากที่สุด รองลงมาคือป่าไม่ผลัดใบ เรามาทำความเข้าใจกันเพิ่มเติมดีกว่าว่าไฟที่เกิดขึ้นในป่าทั้ง 2 ชนิดนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร

ผศ.ดร.กอบศักดิ์ วันธงไชย คณบดีประจำคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อธิบายว่า ป่าผลัดใบและป่าไม่ผลัดใบมีคุณลักษณะหลายข้อที่แตกต่างกัน โดยเงื่อนไขเหล่านี้ทำให้ไฟมีผลกระทบต่อป่าทั้ง 2 ชนิด ต่างกันไปด้วย

ป่าผลัดใบ
(Deciduous Forest)

ดูภาพจริง

ลักษณะทั่วไป

  • ส่วนใหญ่ป่าผลัดใบจะพบเจอในบริเวณที่สภาพอากาศมีความชื้นไม่สูงมาก อยู่ในสภาพภูมิประเทศที่ไม่สูงนักประมาณ 100 - 600 เมตรจากระดับน้ำทะเล 
  • ในฤดูที่อากาศแห้ง ต้นไม้จะผลัดใบพร้อมกันทั้งป่าเพื่อลดการคายน้ำ  
  • ดินในป่าชนิดนี้จะไม่มีสารอาหารมากนัก 
  • โครงสร้างโดยทั่วไปของพืชที่พบในป่าชนิดนี้จะมีเปลือกหนา สามารถแตกหน่อได้
  • โดยเฉลี่ยไม่ได้มีขนาดสูงใหญ่มาก
  • ตัวอย่างป่าผลัดใบ เช่น ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ เป็นต้น  
ดูผลกระทบจากไฟ

ป่าไม่ผลัดใบ
(Evergreen Forest)

ดูภาพจริง

ลักษณะทั่วไป

  • ส่วนใหญ่ป่าไม่ผลัดใบจะพบเจอในบริเวณที่สภาพอากาศมีความชื้นสูงและบางประเภทอยู่ในสภาพภูมิประเทศที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตร ขึ้นไป เช่น บริเวณภูเขาสูงที่สัมผัสกับก้อนเมฆ ทำให้มีความชื้นอยู่ตลอด 
  • ต้นไม้ในป่าชนิดนี้จะผลัดใบไม่พร้อมกัน ทำให้โดยรวมมองเห็นเป็นป่าสีเขียวตลอดทั้งปี
  • ดินในป่าชนิดนี้จะอุดมไปด้วยสารอาหาร
  • โครงสร้างโดยทั่วไปของพืชที่พบในป่าจะมีเปลือกที่ไม่หนามาก ไม่มีการแตกหน่อ และโดยเฉลี่ยมีขนาดสูงใหญ่ 
  • ตัวอย่างป่าไม่ผลัดใบ เช่น ป่าดงดิบ ป่าดิบเขา ป่าดิบชื้น ป่าชายเลน ป่าพรุ เป็นต้น 
ดูผลกระทบจากไฟ

โดยสรุปแล้ว แม้ไฟจะเป็นกลไกที่ขาดไม่ได้สำหรับป่าผลัดใบ เพราะทำให้เกิดสารอาหารในดินที่ต้นไม้ดูซับไปใช้ได้ แต่การเกิดไฟที่มากเกินไปก็ย่อมส่งผลให้ป่าเสื่อมโทรมได้เช่นกัน และที่สำคัญอาจลุกลามเข้าไปในป่าไม่ผลัดใบซึ่งมีคุณสมบัติตามธรรมชาติที่ไม่ควรเกิดไฟขึ้นเลยเพราะจะไม่สามารถฟื้นฟูให้กลับมาอยู่ในสภาพเดิมได้  

การเกิดไฟในป่าซึ่ง ดร.กอบศักดิ์ชี้ว่า สำหรับประเทศไทยส่วนมากมีที่มาจากมนุษย์ จึงต้องมีการควบคุมให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมสำหรับป่าผลัดใบและป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นเลยในป่าไม่ผลัดใบ


ไฟและพื้นที่เกษตร

นอกจากพื้นที่ป่าแล้วข้อมูลยังทำให้เราเห็นอีกว่าจุดความร้อนที่ถูกตรวจพบบนพื้นที่ เกษตรถึงจะไม่มากเท่าป่า แต่ก็เป็นส่วนที่ควรให้ความสนใจเช่นกัน โดยจุดความร้อนนี้ ส่วนหนึ่งมาจากการเผาวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรหลังช่วงเก็บเกี่ยว ซึ่งมักเป็นขั้นตอนที่เกษตรกรเลือกใช้เพื่อลดต้นทุนในการเคลียร์พื้นผิวดินสำหรับการเพาะปลูกครั้งถัดไป อันจะเห็นได้ในพื้นที่เกษตรหลายชนิด สำหรับกรณีภาคเหนือตอนบน สัดส่วนการเผาที่เกิดขึ้นบนพื้นที่ปลูกพืชชนิดต่าง ๆ มีความแตกต่างกัน ไปดูกันเลยว่ามีไฟเกิดขึ้นในพื้นที่เกษตรแต่ละแบบมากน้อยแค่ไหน

แผนที่แสดงจุดความร้อนจำแนกตามพื้นที่เกษตรประเภทต่าง ๆ ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด ช่วง ม.ค. - พ.ค. ของปี 2566

สำรวจประเภทพื้นที่

ภาพรวมจุดความร้อนบนพื้นที่ลักษณะต่าง ๆ

จุดความร้อนทั้งหมด 14,002 จุด

ไร่ข้าวโพด

4,805 จุด (34.3%)

ไร่อ้อย

1,716 จุด (12.3%)

นาข้าว

2,581 จุด (18.4%)

พื้นที่เกษตรอื่น ๆ

4,900 จุด (35.0%)

*1 จุด เท่ากับ 1 จุดความร้อน

ที่มา : กรีนพีซประเทศไทยและศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคเหนือ (GIST North) เก็บข้อมูลโดยดาวเทียม Suomi NPP ระบบ VIIRS

สรุปจำนวนจุดความร้อนจำแนกตามพื้นที่เกษตรประเภทต่าง ๆ ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด ช่วง ม.ค. - พ.ค. ของปี 2562 - 2566

พ.ศ.

ประเภทพื้นที่เกษตร

ไร่ข้าวโพด

ไร่อ้อย

นาข้าว

อื่น ๆ

2562

2563

2564

2565

2566

0

4,000

8,000

12,000

16,000

จุดความร้อน (จุด)

ที่มา : กรีนพีซประเทศไทยและศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคเหนือ (GIST North) เก็บข้อมูลโดยดาวเทียม Suomi NPP ระบบ VIIRS

ถ้าเราดูจุดความร้อนสะสมเฉพาะพื้นที่เกษตร โดยแบ่งตามชนิดของพืช (ข้าวโพด ข้าว อ้อย อื่น ๆ) จะเห็นว่าในบรรดาพื้นที่เกษตรที่สามารถระบุชนิดพืชได้ จุดความร้อนช่วงปี 2562 - 2566 ปรากฏในพื้นที่ปลูกข้าวโพดมากที่สุด อยู่ที่ร้อยละ 31.36 จากจุดทั้งหมดที่เจอ ตามมาด้วยพื้นที่ปลูกข้าว ซึ่งเจอจุดความร้อนสะสมอยู่ที่ร้อยละ 20.04 และหากพิจารณาแยกเป็นรายปีก็จะพบว่า ในบรรดาพื้นที่เกษตรที่จำแนกประเภทพืชที่ปลูกได้ ไฟในไร่ข้าวโพดถูกตรวจพบมากที่สุดในทุก ๆ ปี

ในภาพรวมเราอาจสรุปได้ว่า ไร่ข้าวโพดถือเป็นพื้นที่ที่ควรเฝ้าระวังโดยมีแนวโน้มที่จะเกิดการเผามากที่สุด

นอกจากนี้ไร่ข้าวโพดยังมีส่วนที่ส่งผลกระทบต่อป่า โดยตามรายงานของกรีนพีซประเทศไทยที่ทำการสำรวจทุกๆ 5 ปีระบุว่า พื้นที่ปลูกข้าวโพดในบริเวณ 8 จังหวัดภาคเหนือของไทยเพิ่มสูงขึ้นระหว่างช่วงปี 2545 - 2565 โดยเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดในปี 2550 ที่พุ่งขึ้นมาเป็น 2.3 ล้านไร่ จากประมาณ 620,000 ไร่ในปี 2545

ขนาดพื้นที่ปลูกข้าวโพดในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน
8 จังหวัด ปี 2545 - 2565

ที่มา : กรีนพีซประเทศไทยและศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคเหนือ (GIST North) เก็บข้อมูลโดยดาวเทียม Suomi NPP ระบบ VIIRS

และการขยายตัวของพื้นที่ปลูกข้าวโพดนี้เอง ย่อมส่งผลต่อพื้นที่ป่าที่ส่วนใหญ่ซึ่งมักอยู่ติดกัน โดยตามรายงานระบุว่าช่วงระหว่างปี 2545 - 2565 มีพื้นที่ป่าซึ่งเปลี่ยนแปลงไปเป็นไร่ข้าวโพดประมาณ 1.9 ล้านไร่


ผลกระทบของฝุ่นควัน:
โรคทางเดินหายใจอุดกั้น

แม้ไฟจะส่งผลกระทบต่อพื้นที่แต่ละประเภทแตกต่างกันออกไป ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าไฟสร้างผลกระทบต่อพื้นที่ภาคเหนือตอนบนอย่างมหาศาล ไม่ว่าจะในเชิงระบบนิเวศ หรือ ฝุ่นควันในอากาศ ซึ่งมิติหลังส่งผลต่อสุขภาพของคนในพื้นที่อย่างชัดเจน โดยหนึ่งในโรคที่กรมควบคุมโรคระบุว่ามีความเกี่ยวข้องกับฝุ่น PM 2.5 โดยตรงนั่นก็คือ โรคทางเดินหายใจอุดกั้น

อัตราการตายของผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจอุดกั้นเริ้อรัง
จำแนกตามภาคช่วงปี 2559 - 2564

ที่มา : สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

จากข้อมูลจะเห็นว่า แม้แนวโน้มอัตราการตายของผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจอุดกั้นของแต่ละภาคจะลดน้อยลง แต่สำหรับโซนภาคเหนือตอนบนอัตราการตายของผู้ป่วยโรคนี้ก็สูงกว่าภูมิภาคอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด โดยมีค่าเฉลี่ยตลอด 6 ปี อยู่ที่ร้อยละ 28.24

บทที่ 3 วิธีการรับมือ

รับมือปัญหาไฟอย่างไรถึงตรงจุด

ถึงตรงนี้…ทุกคนคงพอเห็นภาพกันแล้วว่า ไฟในพื้นที่ลักษณะไหนบ้างที่ถือเป็นปัญหา และคำถามถัดไปที่คงหลีกเลี่ยงไม่ได้นั่นก็คือ “แล้วเราจะรับมือกับมันอย่างไร?” เพื่อตอบคำถาม เราอาจต้องมองย้อนกลับไปดูว่าไฟเกิดขึ้นในพื้นที่ที่หน่วยงานหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องใดดูแลรับผิดชอบบ้าง


จากข้อมูลของ GISTDA เราอาจแบ่งจุดความร้อนที่ปรากฏบนพื้นที่รับผิดชอบของภาคส่วนต่างๆ ได้ 6 ลักษณะดังนี้ 

พื้นที่ป่าอนุรักษ์

กำกับดูแลโดย
กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช

อ่านเพิ่มเติม

พื้นที่เขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือ พื้นที่เขต ส.ป.ก.

กำกับดูแลโดย
สํานักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

อ่านเพิ่มเติม

พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ

กำกับดูแลโดย
กรมป่าไม้

อ่านเพิ่มเติม

พื้นที่ริมทางหลวง 50 เมตร

กำกับดูแลโดย
กรมทางหลวง 

อ่านเพิ่มเติม

พื้นที่เกษตร

อ่านเพิ่มเติม

พื้นที่ชุมชนและพื้นที่อื่นๆ

อ่านเพิ่มเติม

จุดความร้อนสะสมจำแนกตามประเภทพื้นที่รับผิดชอบ ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ช่วง ม.ค. - พ.ค. ของปี 2560 - 2565

ที่มา : สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (GISTDA) เก็บข้อมูลโดยดาวเทียม Terra/Aqua ระบบ MODIS

จากข้อมูลจะเห็นได้ว่า จุดความร้อนสะสมพบมากที่สุดในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติมากถึง 12,518 จุด รองลงมาคือพื้นที่ป่าอนุรักษ์และเขต ส.ป.ก. โดยมีจุดความร้อนรวมอยู่ที่ 10,637 จุด และ 890 จุด ตามลำดับ

หน่วยงานที่รับผิดชอบพื้นที่เหล่านี้ ทั้งกรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ และสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตร จึงอาจต้องเป็นภาคส่วนสำคัญลำดับต้น ๆ ที่เข้ามาจัดการปัญหาเรื่องไฟ โดยคำนึงถึงลักษณะและความสำคัญของการเกิดไฟในแต่ละพื้นที่ซึ่งอาจแตกต่างกัน

โดยในอดีตที่ผ่านมาภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น กรมป่าไม้ หรือ กรมอุทยานฯ ก็ได้ดำเนินงานแผน และ นโยบายหลายรูปแบบที่กำหนดขึ้นเพื่อพยายามควบคุมปัญหาไฟ ไม่ว่าจะเป็น การชิงเผาซึ่งเป็นมาตรการเผาตามกำหนดภายใต้การควบคุมเพื่อลดปริมาณเชื้อเพลิงในป่าไม่ให้เกิดไฟที่อาจลุกลามจนควบคุมไม่ได้ มาตรการห้ามเผาโดยเด็ดขาด (Zero Burning) หรือการกำหนดช่วงเวลาที่ห้ามเผาโดยเฉพาะในพื้นที่การเกษตร และ การจัดการไฟ (Fire Management) หรือ การลงทะเบียนก่อนเผา เพื่อให้ภาครัฐจัดสรรเวลาที่เหมาะสมรวมถึงจัดกำลังเจ้าหน้าที่เข้าไปควบคุมจัดการไฟ อย่างไรก็ตาม ด้วยความซับซ้อนของปัญหาทำให้นโยบายเหล่านี้ยังมีอุปสรรคในการบังคับใช้อันส่งผลให้ยังไม่สามารถควบคุมปัญหานี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ติดตามเรื่องราวนโยบายควบคุมไฟ และปัญหาอุปสรรคต่อได้ที่ Behind the burns เบื้องหลังฝุ่น PM2.5 ใครคือปลาตัวใหญ่ที่ต้องถูกจับก่อน? l HEAT UP โดย สำนักข่าว Today)


บทสรุป

“ไฟในป่าเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาฝุ่นควัน” คำบอกเล่านี้คงเป็นสิ่งที่ใครหลาย ๆ คนเข้าใจมาโดยตลอดและอาจมองว่าหนทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุด คือการพยายามไม่ให้เกิดไฟในป่าเลย อย่างไรก็ตามเราคงเห็นกันแล้วว่าไฟกับป่ามีความซับซ้อนมากกว่าที่คิด โดยมีทั้งส่วนที่เป็นปัญหาเช่นไฟในป่าไม่ผลัดใบที่สามารถนำไปสู่ความเสียหายทางระบบนิเวศซึ่งยากจะฟื้นฟู ในขณะเดียวกันแม้ยังต้องถูกควบคุมให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม แต่ไฟในป่าผลัดใบก็เป็นกลไกธรรมชาติที่ขาดไม่ได้ นอกจากนี้ไฟในพื้นที่เกษตรก็ถือเป็นส่วนสำคัญที่ต้องมองควบคู่กันไป โดยจากข้อมูลเราจะเห็นว่าพื้นที่ปลูกพืชแต่ละชนิดมีแนวโน้มที่จะเกิดไฟไม่เท่ากัน และไร่ข้าวโพดก็จัดเป็นพื้นที่ที่เกิดไฟมากที่สุด สุดท้ายหากเราพิจารณาไฟในป่าแยกตามพื้นที่รับผิดชอบ ก็จะพบว่า กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ และสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตร จัดเป็นภาคส่วนที่ดูแลพื้นที่ซึ่งเกิดไฟมากที่สุด

ทั้งนี้ ข้อสรุปดังกล่าวเป็นเพียงข้อสังเกตเบื้องต้นซึ่งอาจช่วยให้เราเข้าใจสถานการณ์ไฟในป่าได้มากยิ่งขึ้นจากความเข้าใจดั้งเดิมที่มี และเป็นสารตั้งต้นที่อาจช่วยให้เราตั้งคำถามต่อไปได้ว่า แนวทางแก้ปัญหาไฟในป่าที่ตอบโจทย์ควรเป็นอย่างไร เพื่อให้สอดคล้องกับเงื่อนไขของพื้นที่ป่าและเกษตรแต่ละประเภทซึ่งต่างกัน และหน่วยงานใดบ้างควรมีบทบาทสำคัญในการเข้ามาแก้ไขปัญหานี้

Share

อ่านเรื่องราวเพิ่มเติม

วิกฤติไฟในป่าและฝุ่นควัน ถือเป็นปัญหาเรื้อรังที่ประเทศไทยโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนเผชิญหน้ามาเป็นเวลากว่า 10 ปี โดยยังไม่มีทีท่าว่าจะสะสางลงได้

Punch Up Today Greennews และ Bangkok Tribune ชวนคุณไขปริศนาที่มาและผลกระทบของวิกฤตไฟในป่า ปัญหาที่มีความสลับซับซ้อนและผูกโยงกับหลายมิติมากกว่าที่คุณคิดในโปรเจค Demystifying the Flames : ฝุ่น / ไฟ / ป่า

Demystifying the Flames : ฝุ่น / ไฟ / ป่า

อ้างอิงข้อมูลจาก

  • กิตติศักดิ์ กรีบกำไร, ดาวิกา หวังผล, ธัญชนก ธิน้อมธรรม, พันธนันท์ กาศโอสถ, ภัทราวดี ตงเท่ง, ศิริวรรณ์ สุรินทะ, กิตติกานต์ ปัญญานวล, พิมพ์กานต์ คำจุมปู, กิรณา กิริยาภรณ์ และวิสุนัน สุยะกัน. (2566, 10 มีนาคม). ส่องวิกฤตปัญหาฝุ่นควันภาคเหนือตอนบน ที่ส่งผลกระทบต่อหลายภาคส่วนมาอย่างยาวนาน, THECITIZEN.PLUS Thai PBS, https://thecitizen.plus/node/75677.
  • คุณวุฒิ บุญฤกษ์ The Glocal. (2563, 22 ธันวาคม). หมอกควัน (1) PM2.5 ในภาคเหนือมาจากไหน?. ประชาไทย, https://prachatai.com/journal/2020/12/90931.
  • Ep.1 ชุดความรู้ "เตรียมความพร้อมรับมือ ไฟป่า หมอกควัน" ตอน...ดาวเทียมระบบ MODIS คืออะไร”. (2562, 1 พฤศจิกายน). GISTDA. https://www.gistda.or.th/news_view.php?n_id=3083&lang=TH.
  • รายงานสรุปสถานการณ์ไฟป่าหมอกควันจากข้อมูลระบบ MODIS พื้นที่เผาไหม้จากข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม LANDSAT – 8 ประจำปี 2558. (2558). GISTDA.
  • รายงานสรุปสถานการณ์ไฟป่าหมอกควันจากข้อมูลระบบ MODIS พื้นที่เผาไหม้จากข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม LANDSAT – 8 ประจำปี 2559. (2559). GISTDA.
  • สรุปสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควันด้วยภาพถ่ายจากดาวเทียม ประจำปี พ.ศ. 2560. (2560). GISTDA.
  • สรุปสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควันด้วยภาพถ่ายจากดาวเทียม ประจำปี พ.ศ. 2561. (2561). GISTDA.
  • สรุปสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควันด้วยภาพถ่ายจากดาวเทียม ประจำปี พ.ศ. 2562. (2562). GISTDA.
  • สรุปสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควันด้วยภาพถ่ายจากดาวเทียม ประจำปี พ.ศ. 2563. (2563). GISTDA.
  • รายงานสรุปสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควัน ด้วยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ประจำปี พ.ศ. 2565. (2565). GISTDA.
  • ทำไมเกษตรกร จึงยังไม่ยอมหยุดเผา. (2565, 21 มีนาคม). กรมส่งเสริมการเกษตร https://www.doae.go.th/knowledge-base/ทำไมเกษตรกร-จึงยังไม่ยอ/.
  • เติบโตบนความสูญเสีย: ผลวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียม 20 ปีข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และเกษตรพันธสัญญาในภาคเหนือของไทย. (2563). กรีนพีซ ประเทศไทยร่วมกับคณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. https://www.greenpeace.org/static/planet4-thailand-stateless/2022/09/0472c3dd-briefer_not-so-amazing-maize_-mapping-20-years-of-maize-and-deforestation-in-thailand.pdf.
ขอบคุณข้อมูลจาก

หน่วยงานและองค์กร

  • สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (GISTDA)
  • กรีนพีซประเทศไทย
  • ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคเหนือ (GIST North)
  • สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

บุคคล

  • ผศ.ดร.กอบศักดิ์ วันธงไชย คณบดีประจำคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สร้างสรรค์โดย
สนับสนุนข้อมูลชุดหลักโดย
ร่วมสร้างสรรค์โดย

ผลงานชิ้นนี้ได้รับการสนับสนุนจากโครงการ Southeast Asia Rainforest Journalism Fund โดย Pulitzer Center

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า