Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

รู้หรือไม่ว่า กว่าครึ่งหนึ่งของคนไทย กำลังมีความเสี่ยงที่จะเป็น ‘โรคอ้วน’ ขณะที่ 5.6 ล้านคน หรือ 1 ใน 11 ของคนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป กำลังป่วยเป็น ‘โรคเบาหวาน’ ที่แย่คือ 40% ของคนจำนวนนี้ไม่รู้ว่าตัวเองกำลังป่วย

ไม่เพียงเท่านั้น ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเร็วที่สุดในโลก ซึ่งกลุ่มผู้สูงอายุเหล่านี้ มีความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังต่างๆ อีกมากมาย ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมา เป็นปัจจัยให้อุตสาหกรรมยาในไทยเจริญเติบโต

[ การเติบโตของอุตสาหกรรมยา ]

ปัจจุบันตลาดยาและเวชภัณฑ์ทั่วโลกมีมูลค่าประมาณ 1.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 43 ล้านล้านบาท เติบโตเฉลี่ย 5-6% ต่อปี ปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนการเติบโตคือ การเพิ่มขึ้นของประชากรสูงวัย การเพิ่มขึ้นของโรคเรื้อรัง และการพัฒนาของเทคโนโลยีทางการแพทย์

ขณะที่ประเทศไทย ปัจจัยการเติบโตหลักๆ คือ กลุ่มผู้ป่วยโรคอ้วน โรคเบาหวาน และโรคเรื้อรังต่างๆ เหล่านี้ ทำให้มูลค่าตลาดยาและเวชภัณฑ์ของไทยเติบโตแตะ 2.5 แสนล้านบาท และมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 4-5% ต่อปี

[ ผู้ป่วยเมือง vs. ผู้ป่วยชนบท ]

หากเทียบกับประเทศอื่นๆ ไทยถือเป็นประเทศที่มีระบบสาธารณสุขช่วยดูแลผู้ป่วยครอบคลุมทุกโรค มีสิทธิการรักษาที่ทำให้ใครๆ ก็เข้าถึงได้

แต่ถึงอย่างนั้น ประเทศไทยก็ยังมีข้อจำกัดเรื่องการรักษาในแต่ละพื้นที่ สะท้อนจากการที่ผู้ป่วยในตัวเมืองจะได้รับการรักษาด้วยตัวยาและเทคโนโลยีที่ช่วยให้เข้าถึงการรักษาที่ดีกว่าผู้ป่วยที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบท 

[ ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ]

จากรายงานของ BMJ Global Health (ปี 2564) เผยว่า ในปี 2603 หากประเทศไทยไม่ได้ปรับระบบสาธารณสุขและมีผู้ป่วยโรคอ้วนมากขึ้นเรื่อยๆ อาจส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย 4.9% ของ GDP เลยทีเดียว 

ทั้งนี้ เพราะโรคอ้วนทำให้กลุ่มคนทำงานไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แต่หากประเทศไทยสามารถลดผู้ป่วยโรคอ้วนลงได้ 5% จะทำให้ต้นทุนทางเศรษฐกิจลดลงเฉลี่ย 5.2% และ 13.2% ต่อปี ระหว่างปี 2563-2603

[ ‘อ้วน-เบาหวาน’ ใกล้เคียงตะวันตก ]

‘เอ็นริโก้ คานัล บรูแลนด์’ รองประธานกรรมการและผู้จัดการทั่วไป บริษัท โนโว นอร์ดิสค์ ฟาร์มา ประเทศไทย จำกัด ให้ความเห็นกับเรื่องนี้ว่า ประเทศไทยจะมีความท้าทายด้านสุขภาพในคล้ายคลึงกับโลกตะวันตก เช่น อัตราการเป็นโรคเบาหวานและโรคอ้วนที่ใกล้เคียงกับสเปน ฝรั่งเศส และอังกฤษ 

ดังนั้น จำเป็นจะต้องยกระดับความสามารถในการเข้าถึงบริการสุขภาพ เพราะจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคอ้วน โรคเบาหวานและโรคเรื้อรังต่างๆ ได้ โดยมุ่งเน้นให้บริการดูแลสุขภาพมีราคาที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นวิธีการรักษาและเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อให้เข้าถึงผู้ป่วยได้ทุกพื้นที่มากขึ้น

[ ปัญหาสุขภาพต้องร่วมมือกัน ]

แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นการแก้ไขปัญหานี้จำเป็นจะต้องอาศัยความร่วมมือของหลายๆ ภาคส่วน เพราะถือเป็นปัญหาใหญ่เกินกว่าที่องค์กรใดองค์กรหนึ่งจะแก้ไขได้เพียงลำพัง 

ในส่วนที่ทำได้ บริษัท โนโว นอร์ดิสค์ ฟาร์มา ประเทศไทย จำกัด ได้จัดตั้งโครงการ Affordability Project เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการคัดกรอง การวินิจฉัย และการรักษาโรคเบาหวานในพื้นที่ชนบท

พร้อมทั้งให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพและรักษาโรคเบาหวานแก่บุคลากรทางการแพทย์และผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ดีขึ้น และช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในระบบสาธารณสุขของไทย

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า