SHARE

คัดลอกแล้ว

นักวิชาการและนักสิทธิมนุษยชนนานาชาติเผยในงานเสวนาว่าสถานการณ์เสรีภาพในการแสดงออกในไทยยังน่าเป็นห่วงและแย่ลงในภาวะโควิด-19 โดยมีการดำเนินคดีและจับกุมผู้วิพากษ์วิจารณ์รัฐ ตลอดจนผู้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการแพร่ระบาดที่ไม่ได้มาจากรัฐมากขึ้น นอกจากนี้รัฐบาลยังใช้ข้ออ้างเรื่องโรคระบาดจำกัดการรวมตัวของประชาชนเพื่อเรียกร้องประเด็นต่าง ๆ ขณะรองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเชื่อประเทศไทยให้เสรีภาพในการแสดงออกทางออนไลน์มากที่สุดติด 1 ใน 10 ของโลก

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยร่วมกับ คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (ICJ) องค์กร ARTICLE 19 และคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงานเสวนา “เมื่อต้องพูดความจริงกับผู้มีอำนาจ” พูดถึงการจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกและข้อมูลข่าวสาร ในห้วงที่มีการระบาดของโควิด – 19 ในประเทศไทย โดยพูดถึงประเด็นเสรีภาพการแสดองออกต่าง ๆ เช่น ปัญหาการใช้กฎหมายเพื่อปิดกั้นการแสดงความเห็นในไทย โดยเฉพาะ กฎหมายหมิ่นที่มีการบังคับใช้ในช่วงโรคระบาด บทบาทของสื่อในสังคมที่ไม่เป็นประชาธิปไตย การปฏิบัติการทางข้อมูลข่าวสารของรัฐเพื่อสกัดกั้นการแสดงออก บทบาทการควบคุมข่าวปลอมของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นต้น

ประเด็นการริดรอนสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกของไทยเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์จากองค์กรภาคประชาสังคมมาอย่างต่อเนื่องและยิ่งทวีความรุนแรงในช่วงรอบปีที่ผ่านมา ประเด็นที่ผุดขึ้นมาเป็นที่จับตาเป็นพิเศษคือการดำเนินการทางกฎหมายต่อคนที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์หรือให้ข้อมูลเรื่องโรคระบาด และประเด็นการใช้กฎหมายมาตรา 112

ตอนหนึ่ง คาเทีย ชิริซซี รองผู้แทนข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดงานโดยกล่าวสุนทรพจน์ ระบุว่าองค์การสหประชาชาติหรือ UN แสดงความกังวลต่อศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมในไทยที่พุ่งเป้าไปยังคนที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐจนสร้างบรรยากาศให้ประชาชนต้องเซ็นเซอร์ตัวเอง

ส่วนวิญญู วงศ์สุรวัฒน์ สื่อจาก Spokedark กล่าวว่าการคุกคามเสรีภาพทางการแสดงออกมีมาก่อนสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 แล้ว ตนเคยโดนข้อหาดูหมิ่นพนักงานซึ่งเกี่ยวข้องกับนายกฯ โดยมีการกล่าวว่าตนใช้คำหยาบคายและดูหมิ่นเจ้าพนักงาน โดยมองว่าที่เกิดเหตุดังกล่าวขึ้นเป็นเพราะคุณค่าประชาธิปไตยหายไปหลังการรัฐประหาร ปี 2554

“ที่ผ่านมามีการการแสดงความเห็นของนักร้อง ดาราหรือมีชื่อเสียง คิดว่าประชาชนมีสิทธิแสดงความคิดเห็น โดยเฉพาะสถานการณ์โควิดที่ทุกคนเป็นห่วงสุขภาพและชีวิตของตน การจะใช้มาตรการในการปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นเหล่านี้ไม่ว่าในทางใดก็เป็นสิ่งไม่สมควร” วสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าว

ภุชพงค์ โนดไธสง รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมที่เข้าร่วมการเสวนา ชี้แจงว่าการดำเนินการจับกุม ฟ้องร้องคดี มีขั้นตอนโดยเริ่มจากการประชุมทุกวันจากสี่ฝ่าย ได้แก่ฝ่ายกฎหมาย ฝ่ายเจ้าหน้าที่ หน่วย ปอท. และหน่วย สอท. เพื่อพิจารณาว่าผิดจริงหรือไม่

“จะเห็นว่าปัจจุบัน โลกออนไลน์ที่มีเฟกนิวส์มาจากการที่ทุกคนมีเสรีจนเกินไปด้วยซ้ำ คือสามารถสมัครเฟซบุ๊กโดยใช้ตัวตนปลอมก็ได้ นี่เป็นปัญหาที่ประชาชนต้องช่วยกัน นอกจากนี้ ประชาชนบางกลุ่มก็ยังไม่เท่าทันเฟกนิวส์ ทุกภาคส่วนต้องช่วยประเด็นนี้ด้วยกันเพื่อสร้างองค์ความรู้ต่อประชาชน” เขาระบุ

นอกจากประเด็นเรื่องการดำเนินคดีจากเหตุการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องโรคติดต่อ บทสนทนายังดำเนินไปถึงเรื่องการใช้กฎหมาย  และพรบคอมพิวเตอร์

อานนท์ ชวาลาวัณย์ หัวหน้าศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ iLaw เผยว่าการชุมนุมที่เกิดขึ้นหลังการหายตัวไปของวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์มีการสอดส่องตรวจตราโดยเจ้าหน้าที่เข้มข้นขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับการชุมนุมก่อนหน้าเหตุการณ์ดังกล่าว และมีการใชช้ข้อกฎหมายต่าง ๆ เพื่อสกัดกั้นการชุมนุม รวมถึงการดำเนินคดีด้วยมาตรา 116 หรือมาตรา 112  “ตอนนี้มีจำนวนผู้ดำเนินคดีจากคดี 112 เยอะมาก ทั้งที่หลายคนนั้นเพียงแต่ตั้งคำถามเรื่องการใช้งบประมาณของรัฐในการให้งบด้านสาธารณะสุขกับงบสถาบันพระมหากษัตริย์เท่านั้น กลับถูกดำเนินคดีด้วยมาตรา 112 ทั้งที่เป็นการวิจารณ์รัฐ ไม่ใช่การวิจารณ์สถาบัน”

ขณะที่ รศ.ดร. มุนินทร์ พงศาปาน คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระบุว่า กระบวนการบังคับใช้กฎหมายต่อการแสดงความคิดเห็นนั้น “มีปัญหา” ทั้งในส่วนของกฎหมายการดูหมิ่นซึ่งหน้า หรือการหมิ่นประมาท และมาตรา  โดยกฎหมายที่นำมาใช้ในการดูหมิ่นซึ่งหน้าหรือการหมิ่นประมาท กับมาตรา 112

“เราต้องดูว่ากฎหมายที่เราใช้คุ้มครองคนที่ถูกละเมิดต้องไม่ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการไปละเมิดสิทธิของคนอื่น จึงต้องระวังว่าไม่ให้คนอื่นหรือหน่วยงานของรัฐใช้ปิดปากประชาชน หากอยากคุ้มครองทั้งประชาชนและกษัตริย์ คำถามคือต้องคุ้มครองระดับใดจึงจะเหมาะสม ต้องระวังไม่ให้การคุ้มครองนั้นไปละเมิดสิทธิคนอื่น ทำให้เราต้องกลับมาดูว่าเราจำเป็นต้องเอาเป็นเอาตายกับคนที่หมิ่นประมาทซึ่งหน้ากันแค่ไหน ต้องคาดโทษเท่าไหร่ ตนคิดว่าสามารถใช้เป็นโทษปรับให้สูงขึ้นหรือคาดเป็นโทษละเมิดในทางแพ่งเพื่อให้ผู้เสียหายได้รับการเยียวยาก็ได้”

และสุดท้าย สัญหวรรณ ศรีสด คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล เสนอว่า ให้แก้ไขกฎหมายตามหลักการสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ

“ยูเอ็นก็มีฎีกาต่างๆ ที่ใช้ในการตีความกฎหมายระหว่างประเทศเหล่านี้ โดยประเด็นที่น่าสนใจคือ หากสาธารณชนมีการถกเถียงเกี่ยวกับบุคคลสาธารณะโดยคนทางการเมือง คนทางการเมืองต้องยอมรับว่าต้องถูกวิพากษ์วิจารณ์ได้มากกว่าบุคคลทั่วไป อาจมีการใช้คำหยาบคายก็ไม่อาจให้โทษทางอาญาต่อประชาชนได้ เพราะยูเอ็นมองว่าบุคคลเหล่านี้เป็นบุคคลสาธารณะที่ต้องได้รับการวิพากษ์ได้มากกว่าคนทั่วไป และอยู่ในจุดที่ยินยอมพร้อมใจที่จะถูกวิพากษ์มากกว่าบุคคลอื่น หากจะลงโทษต้องดูที่เจตนา ถ้าเป็นข้อความเท็จที่เผยแพร่โดยผิดพลาดหรือไม่มีเจตนาร้ายถือว่าไม่มีความผิด โดยเฉพาะช่วงมีโรคระบาดที่เป็นเรื่องปกติที่คนจะตระหนก ไม่ได้ต้องการก่อให้เกิดความเสียหาย จึงไม่ควรลงโทษ”

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า