Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

คำแนะนำสำหรับคนไทยตอนนี้ ในภาวะเงินเฟ้อ ของแพงแซงรายได้ ดอกเบี้ยขยับขึ้น และเศรษฐกิจชะลอตัว ต้องไม่ลงทุนในความเสี่ยงใดที่ไม่มั่นใจ รัดเข็มขัด ประหยัดรายจ่าย ก่อหนี้ให้น้อยที่สุด วางแผนการออมเงินและใช้จ่ายอย่างรัดกุม เพิ่มช่องทางรายได้ สร้างอาชีพเสริม ถ้าสามารถเคลียร์หนี้สินได้เร็วเพื่อลดภาระดอกเบี้ยก็ให้รีบทำ

ส่วนในระดับประเทศ ประเทศไทยต้องลงทุนเปลี่ยนเครื่องยนต์เศรษฐกิจใหม่ สร้างบุญใหม่แทนบุญเก่าที่กำลังจะหมด

จุดเริ่มต้นของคาดการณ์เศรษฐกิจโลกว่าอาจมาถึงจุดสาหัส Perfect Storm มาจากนักวิเคราะห์ นักเศรษฐศาสตร์ต่างประเทศและไทย เริ่มห่วงว่าสถานการณ์หลายอย่างในโลกกำลังก่อตัวเป็นพายุเศรษฐกิจลูกใหญ่ในรอบหลายปี

บางคนเปรียบเทียบว่าอาจใกล้เคียงวิกฤตเศรษฐกิจในทศวรรษ 1970 ของสหรัฐอเมริกาที่ตอนนั้นเกิดวิกฤตน้ำมันราคาพุ่งไป 4 เท่า เงินเฟ้อสูงปรี๊ด ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) แก้ปัญหาด้วยการขึ้นดอกเบี้ยสู้หนักหน่วงจนกระอักเลือดอออกปากกันถ้วนหน้า

Perfect Storm เป็นการเปรียบเปรยหมายถึงสถานการณ์ย่ำแย่ที่เกิดขึ้นพร้อมๆ กัน คือ มาพร้อมทั้งลม น้ำ ความหนาวเย็น

1.โควิด-19 ที่เพิ่งซาแต่เศรษฐกิจหลายประเทศยังไม่ฟื้นนัก

2.ปัญหาราคาน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติแพงขึ้น และสินค้าโภคภัณฑ์ที่แพงจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนกระทบไปทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศในยุโรป จนการผลิตสินค้าหลายอย่างหยุดชะงัก รวมทั้งการผลิตก็มีต้นทุนสูงขึ้นจากปัญหาราคาพลังงาน

3.ปัญหาการจัดการนโยบายการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจหลังวิกฤตโควิดในสหรัฐอเมริกาที่ว่ากันว่าคาดการณ์พลาดจนเกิดเป็น ‘เงินเฟ้อแรง’ สูงสุดในรอบ 40 ปี ส่งแรงกระเพื่อมตลาดทุนทั่วโลกจนต้องมาไล่แก้ขึ้นดอกเบี้ยกดดันให้ประเทศอื่นต้องขยับดอกเบี้ยขึ้นตาม

4.ปัญหาโครงสร้างเศรษฐกิจภายในของจีน โดยเฉพาะภาคอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งนโยบาย Zero Covid ของจีน ส่งผลให้กำลังซื้อขนาดใหญ่ทั่วโลก ธุรกิจการค้าต่างๆ หดตัวลงทั่วโลก กระทบเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนของหลายประเทศที่โดยมากมีดีลติดต่อค้าขายกับจีน

จากการประเมินและให้มุมมองโดยองค์กรระดับโลกที่คาดการณ์ว่ามรสุมเศรษฐกิจโลกลูกใหญ่กำลังก่อตัว อาทิ

  • ไอเอ็มเอฟ เตือนว่า โลกกำลังเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจที่ท้าทายที่สุด นับแต่สงครามโลกครั้งที่ 2
  • ผู้นำจากทั้งอังค์ถัด องค์การการค้าโลก สถาบันการเงิน นักวิชาการชั้นนำของโลก ก็ออกมาเตือน มรสุมเศรษฐกิจกำลังก่อตัว Perfect Storm
  • ธนาคารโลก ประเมินว่าโลกกำลังเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว เป็น Stagflation เหมือนที่เคยเกิดในวิกฤตเศรษฐกิจยุค 70 พร้อมกับเงินเฟ้อที่สูงขึ้น และประเมินว่าหลายประเทศมีแนวโน้มจะเผชิญสภาวะเศรษฐกิจถดถอย
  • นักเศรษฐศาสตร์หลายคนวิเคราะห์ว่าวิกฤตยุค 70 จะกลับมาอีกครั้ง แต่บ้างก็บอกว่าอาจจะเกิดคล้ายๆ กันแต่ไม่หนักหนาเท่า
  • องค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาระหว่างประเทศ หรือ OECD ประเมินเงินเฟ้อจะสูงขึ้นต่อเนื่อง ประเทศและประชาชนที่ยากจนจะได้รับผลกระทบมากที่สุดโดยเฉพาะปัญหาขาดแคลนอาหาร ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาทางสังคมและความวุ่นวายทางการเมือง

สภาพตอนนี้จึงเหมือนวิกฤตซ้อนวิกฤต พายุโควิดเพิ่งซา พายุสงครามรัสเซียยูเครนก็เกิด แล้วต่อเนื่องมาด้วยพายุน้ำมันแพง ที่ส่งผลให้เกิดพายุของแพง พายุอาหารแพง และกระทบต่อผู้คนไปทั่ว

[ แล้วเศรษฐกิจไทยน่ากังวลแค่ไหน? ]

กิจกรรมทางเศรษฐกิจของเรายังไม่ทันจะฟื้นตัวหลังโควิด-19 ดี โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวที่เพิ่งจะเริ่มกลับมาเปิดประเทศ อีกทั้งกลุ่มตลาดหลักจากจีนยังใช้นโยบาย Zero Covid อยู่ ทำให้ภาคการท่องเที่ยวของเรายังไม่ฟื้นตัวนัก

ส่วนการค้าขายพบว่ากำลังซื้อในหลายประเทศคู่ค้าชะลอลง ทำให้เราขายสินค้าได้น้อย

และที่กำลังเป็นผลกระทบหนักคือ ปัญหาราคาพลังงานที่สูงขึ้นมาก ทำให้ต้นทุนสินค้าบริการแพงขึ้นจากราคาน้ำมัน ส่งผลให้เงินเฟ้อของไทยขยับขึ้นมาสูงขึ้นในรอบ 24 ปี คาดการณ์กันจะได้เห็นการขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย แปลว่าสถานการณ์ของแพงกระทบรายได้และเงินในกระเป๋าเราก็จะกินยาวปีหน้า

การขึ้นดอกเบี้ยเพื่อแก้เงินเฟ้อ ในสภาวะที่วิกฤตเศรษฐกิจบ้านเราก็ยังไม่ฟื้น ย่อมส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจ มีผลต่อการลงทุน การค้า การขาย และการใช้ชีวิตของประชาชนแน่นอน

เพราะดอกเบี้ยที่ขึ้นก็เป็นต้นทุนและภาระเพิ่ม เช่น ถ้าเราเป็นผู้กู้ ไม่ว่าจะกู้ผ่อนบ้าน หรือเอสเอ็มอีทำธุรกิจกู้เงินมาลงทุนก็มีภาระจ่ายหนี้เพิ่ม

ส่วนผู้ให้กู้ก็ต้องกังวลเรื่องการผิดนัดชำระหนี้และต้องระวังการปล่อยกู้อีก ส่งผลให้อาจปล่อยกู้น้อยลงก็ทำให้ธุรกิจที่อยากจะกู้เงินมาขยายธุรกิจก็ชะงักลง ภาพรวมจึงทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจไม่ขยายตัว

อย่างไรก็ตามหากไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ย ก็มีความกังวลว่าเงินเฟ้อจะขยับขึ้นไปสูงเรื่อยๆ และการมาแก้ช่วงนั้นก็จะเจ็บสาหัสกว่า

เมื่อการขึ้นดอกเบี้ยเพื่อแก้เงินเฟ้อต้องแลกกับเศรษฐกิจที่จะขยายตัวช้าลง กระทบชีวิตความเป็นอยู่ ค่าครองชีพ คนว่างงาน คนรายได้น้อย ทำให้ประเมินกันว่า รัฐบาลต้องออกมาตรการ และนโยบายมาประคับประคองคู่ขนานไปด้วย

คาดกันว่าหากบ้านเรามีการพิจารณาปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน ค่าแรงขั้นต่ำก็น่าจะต้องขยับขึ้นตามมา

อย่างไรก็ตาม ไม่นานมานี้ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ‘เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ’ ประเมินล่าสุดว่า โอกาสที่ไทยจะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจหนักๆ ในประเทศน้อยมาก

และวันนี้โจทย์ใหญ่ตอนนี้คือทำอย่างไรให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง โดยต้องให้น้ำหนักที่สุดคือการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว

แม้ผู้ว่าฯแบงก์ชาติจะออกมาให้มุมมองที่ไม่ได้น่ากลัวไปกับสถานการณ์ Perfect Storm ของเศรษฐกิจโลก แต่ความที่ตอนนี้ ‘เงินเฟ้อ’ สูงขึ้น ข้าวของแพงขึ้น ขณะที่ค่าแรงทุกอย่างยังเท่าเดิม เงินในกระเป๋าผู้คนมีค่าน้อยลงก็ส่งผลต่อความกังวลแน่นอน

[ ไทยจะรอดพ้นและเตรียมตัวระยะยาวอย่างไร? ]

เรามาฟังมุมมองนักเศรษฐศาสตร์ที่ออกมาเตือนเรื่อง Perfect Storm กัน  ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ซึ่งเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาประเทศ การเงิน และตลาดทุน อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้มุมมองผ่านเวที สัมมนา New Chapter เศรษฐกิจไทย จัดโดยประชาชาติธุรกิจ มีประเด็นที่น่าสนใจให้เราได้เตรียมตัวว่า

โลกจะต้องรับมือกับความผันผวนอย่างน้อย 7 เรื่อง และน่าจะเกิดขึ้นกินยาวในระยะ 2-3 ปี ข้างหน้า

  1. วิกฤตความขัดแย้งระหว่างประเทศ กรณีรัสเซีย สหรัฐฯ
  2. วิกฤตราคาพลังงาน
  3. วิกฤตอาหารโลก จากสงครามรัสเซีย ยูเครน ที่ทำให้บางประเทศสั่งห้ามส่งออกวัตถุดิบอาหารบางประเภท เพื่อเก็บไว้บริโภคภายในประเทศ
  4. ความปั่นป่วนในตลาดการเงินโลก
  5. การถดถอยทางเศรษฐกิจ Recession ในสหรัฐ และในประเทศต่างๆ
  6. โอกาสการเกิดวิกฤตกับประเทศตลาดเกิดใหม่ ซึ่งเริ่มเห็นบางประเทศ อาทิ ศรีลังกา เนปาล ปากีสถาน
  7. ปัญหาเศรษฐกิจจีน

ดร.กอบศักดิ์ ให้มุมมองว่า ความขัดแย้งสหรัฐ รัสเซีย ก็ไม่จบง่าย ส่งผลให้ราคาพลังงานที่สูงขึ้น ก็อาจจะสูงแบบค้างเติ่งอย่างน้อยอีก 2 ปี แม้รัฐบาลไทยจะสนับสนุนราคาพลังงานก็ไม่ง่าย เมื่อราคาขึ้นและอาจจะค้างอยู่ระดับหนึ่ง จากปัญหา Conflict Global ระดับโลกที่ต้องการ Balance Power

ผลคือ ราคาอาหารก็จะขึ้นไปอีกระยะ ผลจากสงครามรัสเซีย ยูเครน เราจะเห็นว่ากระทบสินค้าเกษตรอื่นๆ และนำมาสู่ปัญหาเงินเฟ้อด้านต้นทุนจากราคาพลังงาน และส่งผลต่อราคาอาหาร

ขณะที่ เฟดบอกว่าจะขึ้นดอกเบี้ยไปเรื่อยๆ จนกว่าเงินเฟ้อจะลงมา ซึ่งกว่าจะจัดการเงินเฟ้อได้ ภาพรวมเศรษฐกิจโลกก็ได้รับผลกระทบไปอีกระยะ และนั่นทำให้นักธุรกิจส่วนใหญ่ประเมินว่าปีหน้าเศรษฐกิจจะถดถอย ส่วนนักเศรษฐศาสตร์ก็เริ่มมองทิศทางนี้มากขึ้นเช่นกัน

ดังนั้นในอีก 2-3 ปี ข้างหน้าจึงไม่ง่ายสำหรับประเทศไทย

ในภาพใหญ่ระดับมหภาค ได้ให้ข้อเสนอว่า ถึงเวลาที่ประเทศไทยต้องเร่งเปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่ให้เศรษฐกิจไทย สร้างบุญใหม่แทนบุญเก่าที่กำลังจะหมด

ปี 2565 นี้ เครื่องยนต์เศรษฐกิจไทยเรา คือ การส่งออก การบริโภคในประเทศ การกระตุ้นไทยเที่ยวไทย แต่ในปี 2566-2568 หรือ 2-3 ปี ข้างหน้า ไทยต้องเปลี่ยนเครื่องยนต์เศรษฐกิจใหม่ หันมาเน้นเรื่อง การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ

เช่น รีบเดินหน้าเรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เพิ่มการดึงการลงทุนจากต่างประเทศเข้ามา ถือเป็นจังหวะดีที่เศรษฐกิจจีน ยุโรปกำลังกระทบ ทำให้คนสนใจอาเซียนมากขึ้น จึงเป็นโอกาสของทั้งภูมิภาคนี้และประเทศไทยเองด้วย

เครื่องยนต์อีกตัวที่กำลังฟื้นและกำลังมา ก็คือดึงการท่องเที่ยวจากต่างประเทศเข้าไทย ถ้าพลิกฟื้นส่วนนี้ได้ เชื่อว่าไทยจะมีโมเมนตั้มรับมือกับมรสุมเศรษฐกิจได้

สรุปว่าไทยต้องสร้างตัวเองเป็น Regional Hub หรือศูนย์กลางของบางอย่างทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนให้ได้ โดยมองว่าเราจะเป็นฮับ/ศูนย์กลางด้าน R&D ได้หรือไม่ หรือจุดเด่นของภูมิศาสตร์ที่ตั้งเรา ที่จะเป็นจุดแข็งได้คือ Logistics Hub ของภูมิภาค ซึ่งตำแหน่งของไทยนั้นใช่และเหมาะมาก หรือจะเลือกการเป็นฮับด้าน Startups ในภูมิภาคนี้ได้หรือไม่ เพื่อดึงเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาประเทศ

ทั้งหมดนี้สุดท้ายอยู่ที่ว่า เราจะ “ลงมือทำ​”  ได้หรือไม่ ถ้าวางรากฐานตรงนี้ได้ อนาคตประเทศไทยก็จะผ่านความผันผวนต่างๆ ของโลกได้

นั่นคือความเห็นในมุมมองเศรษฐกิจภาพใหญ่ของประเทศ ส่วนเราๆ การอยู่ในภาวะเงินเฟ้อ ดอกเบี้ยขยับขึ้น และเศรษฐกิจชะลอตัว ต้องไม่ลงทุนในความเสี่ยงใด รัดเข็มขัด ประหยัดรายจ่าย ก่อหนี้ให้น้อยที่สุด วางแผนการออมเงินและใช้จ่ายอย่างรัดกุม เพิ่มช่องทางรายได้ สร้างอาชีพเสริม ถ้าสามารถเคลียร์หนี้สินได้เร็วเพื่อลดภาระดอกเบี้ยก็ให้รีบทำ

อ้างอิง:

ผู้ว่าฯ ธปท.ส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยแก้เงินเฟ้อ

https://www.voathai.com/a/6608696.html

https://www.bloomberg.com/news/articles/2022-06-07/stagflation-danger-sees-world-bank-cut-global-growth-outlook?srnd=economics-vp

https://www.cnbc.com/2022/05/23/imf-economy-faces-confluence-of-calamities-in-biggest-test-since-world-war-ii.html?__source=iosappshare%7Cjp.naver.line.Share

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า