Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

“เวลาที่เราต้องไปเข้าห้องน้ำ ต้องพกผ้าอนามัยในกระเป๋าน้อย เวลาเราส่งให้เพื่อนเราจะส่งใต้โต๊ะเหมือนส่งยา พูดเรื่องผ้าอนามัยบนโต๊ะอาหารไม่ได้ วางบนโต๊ะอาหารไม่ได้ เราก็เลยทำโปรเจ็กต์ เขียนกล่องผ้าอนามัยบนเลยว่า กูเป็นเมนส์ แล้วมันจะทำไม”

เมธาวจี สาระคุณ ทีม Inside the Sandbox เผยถึงที่มาของแคมเปญ #เป็นเมนส์ไม่เห็นต้องซ่อน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ โปรเจ็กต์ Inside the Revolution โครงการที่เกิดจากความเชื่อมั่นว่า ‘ในระบบทุนนิยม ผู้บริโภค คือคนที่มีเสียงมาที่สุด’

เมธาวจี เล่าว่า ผู้บริโภคจะซื้อหรือไม่ซื้ออะไร จะเป็นสิ่งสะท้อนไปหาตัวแบรนด์ ว่าเขาต้อบการอะไรในโลกใบนี้ เพราะตอนนี้แบรนด์มีการแข่งขันกันว่าจะทำอย่างไรให้ตัวเองแตกต่าง หรือ มีความโดดเด่น ซึ่งตอนนี้สิ่งที่ผู้บริโภคต้องการ คือ ‘โลกที่ดีกว่า’ จึงอยากทำให้แบรนด์ได้เห็นว่าการเอาเงินมาลงทุนกับผลิตภัณฑ์ที่ให้อะไรกับสังคมได้ ก็สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้เหมือนกัน  และเชื่อว่าผู้บริโภคก็พร้อมที่จะโอบรับแบรนด์ของคุณเช่นกัน

⚫️ #เป็นเมนส์ไม่เห็นต้องซ่อน ประจำเดือนคือธรรมชาติ ไม่ใช่เรื่องน่าอาย

แคมเปญแรกของ Inside the Revolution มาจากการที่ผู้หญิง ต้องพกผ้าอนามัยในกระเป๋าน้อยตอนไปเข้าห้องน้ำ เวลาส่งให้เพื่อนต้องส่งใต้โต๊ะเหมือนส่งยา หรือส่งของผิดกฎหมาย หรือพูดเรื่องผ้าอนามัยบนโต๊ะอาหารไม่ได้เลย วางผ้าอนามีบนโต๊ะอาหารก็ไม่ได้ เราเลยอยากลองท้าทายและเปลี่ยนแปลงมันดูว่า จริงๆ ผ้าอนามัยไม่ได้เป็นของต่ำ จึงชวน Ira Concept แบรนด์ผ้าอนามัยออแกนิคย่อยสลายได้ มาทำผลิตภัณฑ์ที่เขียนบนกล่องบอกไปเลยว่า “กูเป็นเมนส์”

“จริงๆ ประจำเดือน คือ สัญญาณที่บอกว่าผู้หญิงคนนี้มีความพร้อมที่จะให้กำเนิดมนุษย์ ไม่ใช่ของต่ำ ไม่ใช่เลือดเสียที่ออกจากร่างกาย แต่เราถูกกรอบด้วยความเชื่อเก่าๆ ที่สอนกันมา ส่งต่อกันมาว่าเป็นของต่ำ ต้องอายเมื่อเลอะกระโปรง ต้องอายถ้าถือผ้าอนามัยไปเปลี่ยนในห้องน้ำ ซึ่งความจริงแล้วมันคือเรื่องธรรมชาติ มันคือวิทยาศาสตร์ของร่างกาย แล้วเราก็เกิดมาได้เพระมนุษย์ผู้หญิงมีเมนส์ ดังนั้นเราไม่ต้องอาย” เมธาวจี กล่าว

⚫️ ร่วม Ira ออกแบบกล่องผ้าอนามัยใส่ชื่อเจ้าของ

ผ้าอนามัย #เป็นเมนส์ไม่เห็นต้องซ่อน ต้องการทำลายการตีตราประจำเดือน (Period Stigma) จึงเลือกที่จะบอกชัดๆ ไปเลยว่า “กูเป็นเมนส์” ผ่านตัวอักษร สี ภาพ บนกล่องผ้าอนามัย

ทีม Inside the Sandbox อธิบาย ตัวกล่องผ้าอนามัยรุ่นว่า ตัว Typography ทำมาจากรูปร่างของแผ่นผ้าอนามัย เพราะอยากให้กล่องนี้เป็นสัญลักษณ์ของการเรียกร้อง เอาไปวางที่ไหน หรือถือไม่ที่ไหน นั่นคือคุณกำลังเรียกร้องว่า อยากให้พื้นที่นี้เป็นพื้นที่ปราศจากการตีตราประจำเดือน ปราศจากการมองว่าประจำเดือนเป็นเรื่องต่ำ

ด้าน วรางทิพย์ สัจจทิพวรรณ ผู้ก่อตั้งแบรนด์ผ้าอนามัย Ira Concept กล่าวเสริมว่า “กล่องนี้ กูเป็นเมนส์ ชัดเจนมาก เราทำให้คนเขาเห็นเลยว่า เป็นเมนส์ไม่เป็นไร ถือได้ แล้วก็ตอนนั้นเราตัดสินใจกันอยู่ว่าแบบจะทำเป็นสีอะไรดี จะสื่ออะไรบ้าง เราเห็นตรงกันว่าจะต้องการบอกว่าเป็นเมนส์ แล้วคนที่สั่งจะได้กล่องที่มีชื่อของตัวเองอยู่ด้วย ส่วนข้างในเราก็จะทำเป็นมดลูกหลายๆ อัน หลายๆ แบบให้ทุกคนเห็นว่า นี่หน้าตาของมดลูกของคุณนะ และมันไม่จำเป็นต้องเหมือนกันหมด บางคนต้องตัดทิ้ง อยากให้ทุกคนเห็นว่าประจำเดือนเป็นจุดกำเนิดของชีวิต คุณควรจะภูมิในกับมันและยอมรับความแตกต่างของมันด้วย สีที่ใช้ ตัดสินใจเลือกเป็นสีแดง ประจำเดือนเป็นเลือดที่ออกจากร่างกายอย่างเดียวที่ไม่ได้มาจากความรุนแรง ทำไมคนถึงต้องมากลัวเลือดประจำเดือน เราอยากให้คนโอเคที่จะเห็นสีแดงเลือดประจำเดือน”

⚫️ พลิกโฉม ‘มินิมอล’ ไม่เหมือนผ้าอนามัย สู่ กล่องผ้าอนามัยที่บอกว่า ‘เป็นเมนส์’

วรางทิพย์ กล่าวว่า สำหรับแบรนด์ Ira มีเป้าหมายคือ อยากจะมาเปลี่ยนคุณค่าของผ้าอนามัยและการมีประจำเดือน ซึ่งรวมไปถึงวิธีการใช้และการทิ้ง โดยก่อนนี้เราทำแพ็คเกจให้มีความมินิมอลและยูนิเซ็กส์ ให้สามารถนำไปวางที่ไหนก็ได้ เราเปลี่ยนผ้าอนามัยทำจากธรรมชาติทั้งหมด ย่อยสลายได้ ออแกนิค ไม่แพ้ เพราะเห็นว่าผ้าอนามัยย่อยสลายยากใช้เวลานาน และกลายเป็นไมโครพลาสติก แล้วย้อนกลับมาทำลายเรา ที่สำคัญ เรามีภารกิจหลังคือการทำลายการตีตราการมีประจำเดือน เราอยากทำให้คนมองการมีประจำเดือนเป็นเรื่องธรรมดาที่ไม่ต้องซ่อน ไม่ต้องรู้สึกอาย ครั้งนี้ถือเป็นโอกาส และเราทำสิ่งที่ตรงกันข้ามจากเดิม คือเราบอกไปเลยว่า ‘เป็นเมนส์’

“การที่จะเปลี่ยนความเชื่อ ความคิดอะไรบางอย่างที่ปลูกฝังมานาน ต้องเริ่มจากการพูดคุยกัน อยากให้ผ้าอนามัย เป็นจุดเริ่มต้นของการคุย “อยากเห็นบรรยาการการคุยกันเรื่องประจำเดือนตอนกินหมูกระทะ อยู่ในโรงเรียนเพื่อนยื่นผ้าอนามัยให้กันแล้วไม่มีเพื่อนผู้ชายมาล้อ อาจจะอีกไกล แต่เราเริ่มพูดกันตอนนี้ พูดในร้านอาหาร ในที่ประชุม เชื่อว่าวันหนึ่งจะเปลี่ยนได้” วรางทิพย์ กล่าว

 ⚫️ รายได้นำไปให้คนที่เข้าไม่ถึงผ้าอนามัย ให้เป็นการบริจาคที่สร้างการเปลี่ยนแปลง

เมธาวจี บอกว่า รายได้จากการจำหน่ายผ้าอนามัย จะนำไปเป็นผ้าอนามัยและสื่อการเรียนรู้ ให้น้องๆ พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ โดยมองว่า คนไทยชอบเรื่องบริจาค แต่เราไม่ค่อยได้เรียนรู้ถึงปัญหาที่ทำให้เราต้องมีการบริจาค การร่วมแคมเปญนี้นอกเหนือจากการบริจาคแล้ว จะสามารถสร้างการรับรู้บางอย่างออกไปสู่สังคมได้ นอกจากการให้ใครสักคน ยังสามารถให้สังคม ให้ความเชื่อใหม่ เปลี่ยนแปลงเรื่องที่เขาอยากจะเล่า อยากให้สังคมเป็นแบบไหน

จำหน่ายช่วงวันสตรีสากล ผ่านเว็บไซต์ onperiod.iraconcept.com กล่องละ 131 บาท หรือสามารถสนับสนุนโดยการติด #เป็นเมนส์ไม่เห็นต้องซ่อน แล้วมาร่วมพูดคุยประเด็นนี้กัน เพราะหากเราได้คุยกันมากขึ้น การที่สังคมเราจะเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้ผ้าอนามัย และการเป็นประจำเดือนก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า