SHARE

คัดลอกแล้ว

ความขัดแย้งกลางวงประชุมครม. เมื่อวันที่ 5 เม.ย.ที่ผ่านมา จากการที่ น.ส.มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งคำถามกับ นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องการรณรงค์ลดใช้ถุงพลาสติก “ร้านค้าไม่ให้ถุงพลาสติกกับประชาชนที่มาซื้อของแต่กลับเอามาขายเป็นการเอาเปรียบประชาชน”

ซึ่งในวันนี้ (6 เม.ย. 2565) ความขัดแย้งระหว่าง 2 รัฐมนตรี พรรคภูมิใจไทย กับ พรรคชาติไทยพัฒนา คลี่คลายจากการที่ นายอนุทิน ชาญวีรกูล ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทยลงมาหย่าศึกเอง ต่อสายให้นายวราวุธ ได้ขอโทษกับ น.ส.มนัญญา โดยตรงเพื่อจบความ… เรียบร้อยแล้ว

แต่ทว่าประเด็นของ “เงิน” ที่ผู้ประกอบการ ห้าง ร้านค้า  ไม่ต้องซื้อถุงพลาสติกมาแจกให้ประชาชน และ “เงิน” ที่ผู้ประกอบการ ห้าง ร้านค้า ขายถุงให้กับประชาชนที่ไม่ได้นำถุงมาซื้อของนั้นไปอยู่ที่ตรงไหน ? เป็นคำถามที่น่ารู้คำตอบ…

ย้อนชมคลิปในวันที่เริ่มนโยบายงดแจกถุงพลากสติก :

ย้อนไปเมื่อ 2 ปีที่แล้ว นโยบาย “ถุงพลาสติกฟรีไม่มีแจก” ได้เริ่มดำเนินการในห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ขนาดกลาง รวมไปถึงร้านสะดวกซื้อ เพื่อหวังลดขยะจากถุงพลาสติก ประมาณ 30 % ของขยะพลาสติกทั้งหมด

ขณะเดียวกัน เมื่อวันที่ 6 ม.ค. 2563 นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ส.ส.ราชบุรี พรรคประชาธิปัตย์ ได้เคยเสนอให้รัฐบาล ตั้ง “กองทุนส่งเสริมการลดการใช้ถุงพลาสติกและลดขยะครัวเรือน” ซึ่งเป็นกองทุนหมุนเวียนเรียกเก็บเงินดังกล่าวจากผู้ประกอบการค้าปลีกรายใหญ่ที่ได้ประโยชน์จากการณรงค์งดใช้ถุงพลาสสติก ตามห้างสรรพสินค้าและร้านสะดวกซื้อต่างๆ

แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีการตั้งกองทุนดังกล่าว!!

(อัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ส.ส.ราชบุรี พรรคประชาธิปัตย์)

วันนี้ (6 เม.ย. 2565) ส.ส. อัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ได้ให้สัมภาษณ์กับ workpointTODAY ว่า เมื่อ 2 ปีที่แล้วมีนโยบายลดใช้ถุงพลาสติก ตนเองในฐานะที่เป็น ส.ส. เห็นว่าประชาชนต้องไปซื้อถุงเมื่อไม่ได้เอาไปที่ห้าง หรือร้านค้า คิดว่าเป็นความไม่เป็นธรรม เป็นการเอื้อประโยชน์กับกลุ่มนายทุน ตนจึงได้ทำกระทู้ถาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่เป็นคนกำกับดูแลเรื่องนี้

ซึ่งในกระทู้ตนได้ชี้ให้เห็นประเด็นว่า การที่ทางห้างสรรพสินค้า หรือร้านค้าไม่ให้ถุงพลาสติกประชาชนเราไม่ว่าอะไร แต่มีการขายถุง สิ่งสำคัญผู้ประกอบการได้ประโยชน์จากนี้ แล้วเงินที่ต้องจ่ายแต่ละปีมหาศาล ตรงนี้เราประเมินจากภาษีได้ เพราะจะมีการแจ้งภาษีว่าร้านค้าหรือห้างสรรพสินค้านั้นๆ ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อถุงพลาสติกปีหนึ่งกี่ร้อยล้าน กี่พันล้าน เราก็นำเงินตรงนั้นมาตั้งกองทุนในการลดใช้ถุงพลาสติก อาจนำเงินมาซื้อถุงผ้าแต่ประชาชนต่อครัวเรือนก็ได้ในแต่ละปี แล้วบางส่วนแบ่งไปใช้ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ถุงขยะเก่าในทะเล

“ท่านรัฐมนตรีมาตอบกระทู้ ซึ่งเรื่องการตั้งกองทุน ท่านจะรับไปพิจารณา หลังจากนั้นท่านก็เงียบไปเลย ผมเข้าใจร้านหรือห้างพอขายเป็นถุงผ้าก็ไม่ว่าอะไร แต่ช่วงหลังหนักขนาดถุงพลาสติกเลย ซึ่งมันผิดเจตนารมณ์ แรกๆ ยังเป็นการขายถุงผ้า แต่พอขายถุงพลาสติก แล้วจะเลิกใช้ถุงพลาสติกได้อย่างไร กลับกลายเป็นคุณมาค้ากำไรจากการขายถุงพลาสติกอีก ผมคิดว่ารัฐบาล ท่านนายกฯ คงจะต้องลงมาดูเรื่องนี้ เพราะมันเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค”

นายอัครเดช ยังบอกด้วยว่า จนถึงขณะนี้ยังไม่ได้มีการตั้งกองทุนนี้ ซึ่งจริงๆ ถ้าตั้งก็ตั้งได้ โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแล้วออกเป็นระเบียบในพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คล้ายกองทุนโรงไฟฟ้า อนุรักษ์พลังงาน ซึ่งให้กระทรวงเสนอขึ้นมา

ส่วนที่มีผู้ประกอบการบางรายที่ออกข่าวประชาสัมพันธ์ให้ทราบว่า มีการนำเงินจากการขายถุงไปช่วยในโครงการอนุรักษ์ด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ นายอัครเดช มองว่า ก็ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ แล้วก็ไม่ได้ทำทุกห้าง ทุกร้าน และย้ำว่านี่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคโดยตรง

“ผมไม่รู้ว่าเมื่อวานจะมีประเด็นอะไรในครม.จะถูกจะผิด ผมไม่ได้ไปสนใจตรงนั้น แต่สิ่งที่ผมคิดว่า สังคมต้องเอามาคิด แล้วรัฐบาลต้องตอบคำถามให้ได้คือ กรณีเรื่องของการที่ผู้ประกอบการเอาเงินที่ลดค่าใช้จ่ายจากการซื้อถุงพลาสติกให้ประชาชน คุณเอาไปทำอะไรบ้าง ซึ่งรัฐบาลก็ไม่ได้ไปตอบตรงนี้ แล้วหลังๆ หนักถึงขนาดที่ว่าแรกๆ ขายถุงผ้าเดี๋ยวนี้ขายถุงพลาสติกไปแล้ว”

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :  

‘วราวุธ’ ขอโทษ ‘มนัญญา’ หลังนายกฯ ไล่กลางที่ประชุมครม. ปมเถียงกันเรื่องงดใช้ถุงพลาสติก

“ถุงพลาสติก” จาก พระเอก สู่ ผู้ร้าย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า