Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

มาตรการงดแจก ‘ถุงพลาสติกหูหิ้ว’ เริ่มแล้ว ตั้งแต่เมื่อวานนี้ 1 ม.ค. 2563 โดยมีห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อกว่า 75 แห่ง เข้าร่วม ในขณะที่ผู้ประกอบการบางรายเปลี่ยนมาแจก ‘ถุงผ้าสปันบอนด์’ ให้กับลูกค้าแทน เพื่อบรรเทาความไม่สะดวกให้กับคนที่ไม่ได้เตรียมถุงผ้าหรือกระเป๋ามาชอปปิ้ง

ถุงผ้าสปันบอนด์

แต่การใช้ ‘ถุงผ้าสปันบอนด์’ แทนถุงพลาสติก ดีจริงหรือไม่ ?

ถุงผ้าสปันบอนด์ ผลิตจากเส้นใยพลาสติกที่อัดเป็นแผ่นเพื่อทดแทนถุงพลาสติกหูหิ้ว มีราคาถูกและรูปลักษณ์ดูดี จึงเป็นที่นิยมค่อนข้างมาก แต่ความจริงแล้วถุงชนิดนี้เปื่อยง่ายและแตกสลายเป็นไมโครพลาสติก สามารถปนเปื้อนสู่ระบบนิเวศ

เช่นเดียวกับ ถุงพลาสติกบางชนิดที่ย่อยสลายได้เมื่อเจอความร้อนหรือแสงอาทิตย์ เช่น oxo-biodegradable plastic แม้ถุงพลาสติกเหล่านี้จะสามารถแตกตัวเป็นชิ้นเล็กๆ จนตามองไม่เห็น แต่ก็ยังหลงเหลือไมโครพลาสติกอยู่ จึงอาจไม่ได้ย่อยสลายตามธรรมชาติจริงๆ

 

ด้านเพจ ลุงซาเล้งกับขยะที่หายไป โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า มีผู้ผลิตถุงพลาสติกบอกกล่าวมาหลังไมค์ด้วยความเป็นห่วง เนื่องจากประชาชนและห้างร้านยังเข้าใจผิดเกี่ยวกับ ‘ถุงผ้าสปันบอนด์’ ดังนี้

  1. ถุงผ้าสปันบอนด์ ผลิตมาจากพลาสติกล้วนๆ เรียกอีกอย่างว่า non-woven พลาสติก โดยถุงที่ขายๆ กันเป็นพลาสติกเกรดเดียวกับถุงแกง หรือพลาสติกเกรด PP
  2. พลาสติกเกรด PP มีข้อเสียคือแพ้แสง UV ยิ่งเป็นเส้นใยพลาสติกเล็กๆ พอโดนแสงแดดจะแตกตัวง่ายขึ้น ดังนั้น ถ้าตากแดดหรือเก็บเอาไว้นานพอจับก็จะกลายเป็นผงๆ
  3. ถุงผ้าสปันบอนด์ที่แตกตัวแล้ว คือ ไมโครพลาสติกชนิดหนึ่ง ไม่ต่างอะไรกับ oxo-plastic ที่ภาครัฐประกาศแบนไปเมื่อปีที่แล้ว
  4. ห้างสรรพสินค้าควรแจกถุงพลาสติกชนิดหนาที่ใช้ซ้ำได้หลายๆ ครั้ง หรือถุงผ้าจริงๆ มากกว่า
  5. โรงงานผลิตผ้าสปันบอนด์ ส่วนใหญ่อยู่ต่างประเทศ ทำให้โรงงานพลาสติกในไทยได้รับผลกระทบ

 

ถุงพลาสติกจากห้างและร้านสะดวกซื้อ เป็นแค่ 30% ของถุงพลาสติกทั้งหมด

กรมควบคุมมลพิษระบุว่า ในแต่ละปีคนไทยใช้ ‘ถุงพลาสติกหูหิ้ว’ กว่า 45,000 ล้านใบ โดยที่มาของถุงพลาสติกแบ่งออกเป็น 3 แหล่งหลักๆ คือ

  1. ตลาดสดเทศบาล เอกชน และแผงลอย จำนวน 18,000 ล้านใบ หรือเท่ากับ 40% ของทั้งหมด
  2. ร้านขายของชำ จำนวน 13,500 ล้านใบ หรือเท่ากับ 30% ของทั้งหมด
  3. ห้างสรรพสินค้าและร้านสะดวกซื้อ จำนวน 13,500 ล้านใบ หรือเท่ากับ 30% ของทั้งหมด

นอกจากนี้ ข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษยังระบุว่า ในพื้นที่กรุงเทพฯ มีการใช้ถุงพลาสติกเฉลี่ยคนละ 8 ใบ/วัน ส่งผลให้มีขยะพลาสติกมากถึง 80 ล้านใบ/วัน

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า