Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ พ.ร.บ.อากาศสะอาด จะสามารถปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานการดำรงชีวิตของประชากรให้ได้รับอากาศที่บริสุทธิ์ในพื้นที่ถิ่นอาศัยของตัวเอง

workpointTODAY สรุปเหตุการณ์การเสียชีวิตของ รศ.ดร.ภาณุวรรณ จันทวรรณกูร นักวิจัยผู้เชี่ยวชาญด้านผึ้ง อาจารย์ประจำภาค วิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ด้วยโรคมะเร็งปอด นำมาสู่การถอดบทเรียนชีวิตของคนเชียงใหม่ที่ถูกขนานนามว่า ‘เมืองจ่มฝุ่น (PM2.5)’ มา10 กว่าปีแล้ว และเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนที่เชียงใหม่จะไม่มีฝุ่นเหมือนเมื่อก่อน

1. วันที่ 18 มี.ค. 2565 วงการวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อมไทยต้องสูญเสีย รศ.ดร.ภาณุวรรณ จันทวรรณกูร นักวิจัยผู้เชี่ยวชาญด้านผึ้ง อาจารย์ประจำภาค วิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง

2. รศ.ดร.ภาณุวรรณ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาชีววิทยา (เกียรตินิยมอันดับหนึ่งเหรียญทอง) จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2538 และสำเร็จการศึกษาระดับปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขา จุลชีววิทยา จาก Cardiff University สหราชอาณาจักร ในปี พ.ศ. 2542 ได้รับทุนการศึกษาและทุนวิจัย ดังนี้
 
– โครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) ปี พ.ศ. 2535-2542
– ทุนวิจัยหลังปริญญาเอก Ministry of Education, Culture, Sports, Science and Technology of Japan ประเทศญี่ปุ่น ปี พ.ศ. 2543-2544
– ทุนวิจัยหลังปริญญาเอก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ปี พ.ศ. 2544-2546 และทุนเพิ่มขีดความสามารถด้านการวิจัยของอาจารย์รุ่นกลางในสถาบันอุดมศึกษา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ปี พ.ศ. 2549-ปัจจุบัน
– ทุนวิจัยระยะสั้น
– หน่วยวิจัยผึ้งแห่งชาติ ห้องปฏิบัติการกลาง สหราชอาณาจักร ปี พ.ศ. 2548 และ RIKEN ประเทศญี่ปุ่น ปี พ.ศ. 2551 สนับสนุนโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและทุน Hitachi research fellowship ปี พ.ศ. 2552

3. ผศ.ดร.ว่าน วิริยา ผู้ช่วยหัวหน้าศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เคยนำอาการป่วยของ ดร.ภาณุวรรณ มาเป็นตัวอย่างกรณีศึกษาบนเวทีเสวนา “เชียงใหม่ เพื่อลมหายใจที่ดีกว่า” ดร.ภาณุวรรณ ไม่มีประวัติเกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่หรือใกล้ชิดกับผู้สูบบุหรี่ จึงคาดว่าสาเหตุของโรคร้ายที่คร่าชีวิตครั้งนี้มาจากการอยู่อาศัยในพื้นที่มีฝุ่นควันPM 2.5 ในเชียงใหม่มานานกว่า 10 ปี รศ.ดร.ภาณุวรรณ เพิ่งทราบว่าตนเองเป็นมะเร็งปอดระยะที่ 3 เมื่อปลายปี 2564 ที่ผ่านมา ท่ามกลางความแปลกใจคนใกล้ชิด เพราะอายุยังน้อย ไม่สูบบุหรี่หรือใกล้ชิดกับกิจกรรมเสี่ยงอื่น ยกเว้นอาศัยอยู่ในเมืองเชียงใหม่ซึ่งมีปัญหาฝุ่นควัน pm2.5 มายาวนาน

4. ผศ.ดร.ว่าน กล่าวอีกว่าสิ่งสุดท้ายที่อาจารย์ได้สั่งเสียไว้ “การจากไปครั้งนี้ของอาจารย์ผมไม่รู้จะสามารถทำได้แค่ไหน แต่จะพยายามทำให้ดีที่สุด ขอให้อาจารย์ไปอยู่บนฟ้าบนสวรรค์ ช่วยให้ท่านผู้บริหารประเทศเราได้เห็นความสำคัญของ พ.ร.บ.อากาศสะอาดเสียที”

5. รศ.ดร.สมพร จันทระ หัวหน้าศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยถึงการเสียชีวิตของ รศ.ดร.ภาณุวรรณ ซึ่งสอดคล้องกับ ผศ.ดร.ว่าน ที่ระบุว่า หนึ่งในสาเหตุที่เกิดขึ้นเชื่อว่าเกิดมลพิษทางอากาศ นับเป็นถือว่าเป็นการสูญเสียครั้งใหญ่อีกครั้งในแวดวงวิชาการ เพราะ รศ.ดร.ภาณุวรรณ ถือเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับผึ้ง ทำงานวิจัยเชิงลึกกับชาวต่างชาติหลายประเทศ บรรยายแลกเปลี่ยนความรู้พบภาคีเครือข่ายนักวิจัย

6. ย้อนกลับไปเมื่อ 12 ม.ค. 2565 ผู้ใช้โซเชียลชวนติด #อย่าปัดตก หลังจากเครือข่ายอากาศสะอาด ประเทศไทย ได้รวบรวมรายชื่อประชาชน 24,000 รายชื่อที่ลงชื่อสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติกำกับดูแลการจัดการอากาศสะอาด เพื่อสุขภาพแบบบูรณาการ พ.ศ. ….” เพื่อยื่นต่อรัฐสภาในวันที่ 21 ม.ค. 2565 ที่ผ่านมา

7. ขณะที่วันนี้ (19 มี.ค. 65) นายวราวุธ ศิลปะอาชา รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ได้มอบนโยบายและข้อสั่งการการป้องกันแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควันและPM2.5 ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ

8. แน่นอนว่าเป็นภารกิจของรัฐบาล ทุกๆ ปีที่จะต้องหาวิธีรับมือและดำเนินการแก้ปัญหา ย้อนกลับไปเมื่อปีก่อนๆ ที่ผ่านมา พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี นั่งหัวโต๊ะเป็นประธานการประชุม คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติสั่งยกระดับปัญหา PM2.5 เป็นวาระแห่งชาติ ปี 2564 พล.อ.ประวิตร เคยบอกว่า “ปัญหาฝุ่น PM2.5 ปีหน้าต้องดีกว่าปีนี้ 20%” ขณะที่ประชาชนอยากให้แก้ปัญหาจริงจัง ไม่ใช่แก้ปัญหาแบบ ‘ไฟไหม้ฟาง’

9. ศ.นพ.ขวัญชัย ศุภรัตน์ภิญโญ ผอ.สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวในการประชุมเครือข่ายสภาลมหายใจภาคเหนือ (สภน.) ครั้งที่ 1/19 มี.ค. 65 ณ ห้องทิพย์พิมาน โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว จังหวัดเชียงใหม่ ว่า จังหวัดเชียงใหม่มีปัญหามลพิษทางอากาศต่อเนื่องมายาวนานตั้งแต่ปี 2550 – 2565 ยิ่งช่วงระยะ 10 ปีให้หลัง PM2.5 ชัดเจนมากขึ้น หากเปรียบเทียบกับการสูบบุหรี่ที่เข้าไปในปอดโดยตรง PM2.5 ถือว่ารุนแรงมาก ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม ถ้าทางอ้อมสารโลหะหนักบนผิวของฝุ่นจิ๋วเมื่อเข้าปอดก็สามารถก่อให้เกิดมะเร็งได้ทันที พิสูจน์ได้ว่ามลภาวะทางอากาศเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด ซึ่งยอมรับว่าพบเจอผู้ป่วยกรณีนี้อยู่เรื่อยมา ส่วนผลกระทบโดยตรงเมื่อฝุ่นจิ๋วเมื่อเข้าไปในปอดโดยเฉพาะฤดูหมอกควันจะมีคนป่วยด้วยระบบทางเดินหายใจเพิ่มขึ้นจนเกิดการเสียชีวิตได้

10. นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 (19 มี.ค. 65) ในพื้นที่ภาคเหนือ ยังคงเกินมาตรฐานในจังหวัดภาคเหนือตอนบนอย่างต่อเนื่องใน 9 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน แม่ฮ่องสอน น่าน แพร่ พะเยา และตาก สถานการณ์ไฟป่าในพื้นที่ภาคเหนือ รวมทั้งการเผาป่าปัจจุบันยังเพิ่มมากขึ้นและยังเป็นปัญหาระดับชาติที่ยังแก้ไขไม่ได้ ล่าสุดโดยพื้นที่ ต.จองคำ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน มีค่าฝุ่นสูงถึง 140 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร มีจำนวนวันที่ค่าฝุ่นอยู่เกินมาตรฐานสูงสุดจำนวน 19 วัน และมีค่าฝุ่นอยู่ในระดับมีผลกระทบต่อสุขภาพ (สีแดง) สูงถึง 11 วัน อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของกลุ่มเสี่ยง โดยเฉพาะเด็กที่เป็นกลุ่มเปราะบาง เด็กจะมีอัตราการหายใจมากกว่าผู้ใหญ่

11. ฐานข้อมูลเฝ้าระวังโรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศ (HDC) ของกระทรวงสาธารณสุขในปี 2564 มีรายงานจำนวนเด็กอายุ 0-9 ปี ป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศ ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือ จำนวน 27,550 ราย ซึ่ง จ.แม่ฮ่องสอน มีจำนวนถึง 2,688 ราย โดยกิจกรรมนอกบ้านของเด็กๆ เช่น การวิ่งเล่น กระโดด ปีนป่าย ทั้งที่สนามเด็กเล่น สนามกีฬา และลานกิจกรรม สูดอากาศที่มี PM2.5 ปะปนโดยไม่รู้ตัว

12. ศ.นพ.ขวัญชัย ศุภรัตน์ภิญโญ ผอ.สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวในการประชุมเครือข่ายสภาลมหายใจภาคเหนือ (สภน.) ครั้งที่ 1/2565 (19 มี.ค. 65) ว่า จังหวัดเชียงใหม่มีปัญหามลพิษทางอากาศต่อเนื่องมายาวนานเกือบ 20 ปี ตั้งแต่ปี 2550 – 2565 ยิ่งช่วงระยะ 10 ปีให้หลังที่ผ่านมา PM2.5 ชัดเจนมากขึ้น หากเปรียบเทียบกับการสูบบุหรี่ที่เข้าไปในปอดโดยตรง PM2.5 ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม ถ้าทางอ้อมสารโลหะหนักบนผิวของฝุ่นจิ๋วเมื่อเข้าปอดสามารถก่อให้เกิดมะเร็งได้ทันที พิสูจน์ได้ว่ามลภาวะทางอากาศเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด ซึ่งยอมรับว่าพบเจอผู้ป่วยกรณีนี้อยู่เรื่อยมา ส่วนผลกระทบโดยตรงเมื่อฝุ่นจิ๋วเมื่อเข้าไปในปอดโดยเฉพาะฤดูหมอกควันจะมีคนป่วยด้วยระบบทางเดินหายใจเพิ่มขึ้นจนเกิดการเสียชีวิตได้

13. สภาลมหายใจภาคเหนือ – เชียงใหม่ จับมือ กรีนพีซ – Enlaw จะร่วมกันเป็นโจทก์ยื่นฟ้องคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ กระทรวงอุตสาหกรรม ฐานละเลยการปฎิบัติหน้าที่ โดยทั้งหมดเตรียมที่จะเดินทางไปยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง ในวันอังคารที่ 22 มี.ค. 2565 เวลา 11.00 น. เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งทำหน้าที่ตามกฎหมาย แก้ไขปัญหา PM2.5 อย่างเป็นรูปธรรม และหยุดละเมิดสิทธิในการเข้าถึงอากาศสะอาด อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนทุกคน

PM2.5 ยิ่งเพิ่มสูงขึ้นชีวิตประชากรจะยิ่งสั้นลง

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า