SHARE

คัดลอกแล้ว

‘พิพัฒน์’ รมว.แรงงาน เผยจะขอครม.พรุ่งนี้ (12 ธ.ค.) สั่งทบทวน ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ปี 67 หลังบอร์ดไตรภาคีเคาะ 2-16 บาท 

จากกรณีคณะกรรมการไตรภาคี มีมติเมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 66 ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ อัตราวันละ 2-16 บาท เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 67

แต่ทางนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง แสดงความไม่พอใจ หลังการปรับค่าแรงขั้นต่ำ ตัวเลขไม่ถึง 400 บาท มีการโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวและให้สัมภาษณ์ ในวันที่ 9 ธ.ค. 66

โดยนายเศรษฐา โพสต์ในเฟซบุ๊กว่า “ค่าแรงต้องแฟร์กว่านี้ต้องขอหารือร่วมกันกับคณะกรรมการไตรภาคีถึงความเหมาะสมให้กับภาคแรงงาน เราต้องดูภาพรวมเศรษฐกิจทั้งหมด ผมไม่ได้จะมาขึ้นค่าใช้จ่ายให้ผู้ประกอบการหรือนายจ้างอย่างเดียว แต่ยังมีมาตรการเพิ่มรายได้ให้จากการเปิดตลาดที่มากขึ้น ช่วง 10 ปีที่ผ่านมาผู้ประกอบการหรือนายจ้างก็ได้ประโยชน์กันไปบ้างแล้ว ก็ขอความเห็นใจให้กับกำลังสำคัญอย่างแรงงานในภาคการผลิตด้วย เพราะสุดท้ายหากภาคการผลิตมีกำลังซื้อ เศรษฐกิจภาพรวมก็จะดีขึ้นตามไปด้วยครับ”

นายเศรษฐา มองการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำว่า “ต้องขึ้นสูงกว่านี้ และฟังเหตุฟังผล อย่างที่บอก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ขึ้นเพียง 2 บาท ซื้อไข่ลูกหนึ่งยังไม่ได้เลย ส่วนที่ผู้ประกอบการอ้างว่า เศรษฐกิจตกต่ำนั้น รัฐบาลเองก็มีมาตรการช่วยเหลือ และมีการสร้างโครงข่ายทางธุรกิจ”

ล่าสุดวันนี้ (11 ธ.ค. 66) นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.แรงงาน ให้สัมภาษณ์ในรายการ “เจาะลึกทั่วไทย Inside Thailand” ถึงกรณีนี้ว่า ตนคงทบทวนอะไรไม่ได้ ต้องเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันพรุ่งนี้ (12 ธ.ค. 66) เพื่อสั่งให้มาทบทวนใหม่ ตนก็อยากให้ทบทวนใหม่ แต่อำนาจของรัฐมนตรี ไม่สามารถทำอะไรได้ และเป็นเรื่องของบอร์ดไตรภาคี

มีเงื่อนไขต้องพิจารณาอัตราการการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ อัตราค่าเงินเฟ้อ ค่าครองชีพ เฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี ซึ่งติดปี 2563-2564 เป็นช่วงที่มีผลกระทบทั้งโลก จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 และเศรษฐกิจติดลบหนักมา ตนจึงคิดว่าไม่ควรใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณเฉลี่ยค่าแรงในปี 2567 เพราะเศรษฐกิจปี 2566 กำลังฟื้นตัวดีขึ้น จากปัจจัยนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เข้ามาเพิ่มขึ้น ขณะที่ปี 2567 รัฐบาลกำลังมีมาตรการบูตเศรษฐกิจ เช่น เงินดิจิทัล คนละ 1 หมื่นบาท จึงต้องประเมินว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้นแน่นอน ดังนั้นตนจึงไม่เห็นด้วยที่จะนำตัวเลขเศรษฐกิจในช่วงที่วิกฤตที่สุดมาพิจารณา ตนไม่เห็นด้วย

“ผมในฐานะรัฐมนตรีกำกับดูแลบอร์ดไตรภาคีเข้าไปแทรกแซงไม่ได้ ผมมีทางเดียวคือยื่นเรื่องเข้าครม. เพื่อให้ ครม.ตีกลับมา และสั่งการให้มีการศึกษาใหม่” นายพิพัฒน์ กล่าว

สำหรับการศึกษาใหม่ มองว่า จะเป็นไปได้หรือไม่ใช้ ค่าเฉลี่ยในปี 2560 ปี 2561 และ ปี 2562 ไม่นำปี 2563 และ ปี 2564 เข้ามาพิจารณา หรือใช้ค่าเฉลี่ยเพียง 4 ปี คือ ปี 2560 ปี 2561 ปี 2562 และ ปี 2565 ได้หรือไม่ ซึ่งจะได้ค่าแรงในปี 2567 และต่อยอดเข้าสู่ปี 2568

นายพิพัฒน์ กล่าวด้วยว่า ในปี 2556 สมัยรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่สามารถขึ้นค่าแรงขั้นต่ำรายวันจาก 200 บาท เป็น 300 บาทได้ เพราะไม่มีการกำหนดว่า ต้องใช้ฐานข้อมูลตัวเลข ค่าเฉลี่ยการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ อัตราค่าครองชีพ แต่ปัจจุบันเราเป็นสมาชิกองค์กรแรงงานโลก (ILO) ตั้งแต่ปี 2560 ซึ่งบังคับให้ประเทศสมาชิกใช้ฐานข้อมูลดังกล่าวเป็นเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ

รมว.แรงงาน กล่าวทิ้งท้ายด้วยว่า ถ้าบอร์ดไตรภาคี ยืนยันกลับมาเราก็คงทำอะไรยากมาก เพราะเรามีบอร์ดไตรภาคีแล้ว ไม่มีใครสามารถแทรกแซงได้ ยกเว้นเอาเหตุผลมาโน้มน้าว แต่ปัญหาคือการประชุมบอร์ดไตรภาคีปีนี้ที่ออกมา เคาะกันมาตั้งแต่ +2 บาท จนถึง +16 บาท เป็นมติเอกฉันท์ ทั้ง 3 ฝ่าย (ลูกจ้าง นายจ้าง รัฐ) เห็นด้วยทั้งหมด เราเป็นฝ่ายรัฐจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยไม่มีประโยชน์ เพราะ 2 ฝ่ายไปเรียบร้อย

ทั้งนี้ นายพิพัฒน์ ระบุต้องหาวิธีเชิญบอร์ดไตรภาคีมาหารือนอกรอบ ไม่ใช่คุยในห้องประชุม และต้องหารือกับกฤษฎีกาว่ามีทางออกหรือไม่

ภาพปกจาก สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน

เคาะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทุกจังหวัดไม่ถึง 400 บาท สูงสุด 370 บาท ต่ำสุด 330 บาท

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า