Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กทม.ขอประชาชนเตรียมพร้อมติดตามข่าวสารสถานการณ์น้ำและฝนตกจะแจ้งล่วงหน้า 3 ชั่วโมง ชี้ตกยาวถึง 12 ..นี้ จัดเตรียมรถรับส่งประชาชน ตามสถานีรถไฟฟ้าเส้นหลัก

นายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่า ฯ กทม. พร้อมนายณรงค์ เรืองศรี รองปลัด กทม.แถลงสถานการณ์น้ำ (ฝน) กทม.ล่าสุด ว่า จากสถานการณ์ช่วง 2 วัน ที่มีฝนตกหนัก ในแต่ละที่ปริมาณฝน 100 กว่า มม.รวมถึงที่กรมอุตุนิยมวิทยาได้พยากรณ์ไว้ว่าจะมีฝนไปถึงวันที่ 12 ..นี้ กทม.พยายามเตรียมความพร้อมเต็มที่ ตั้งแต่เริ่มต้นเข้ามาได้มีการขุดลอกคูคลอง เร่งระบายน้ำพร่องน้ำคลองสายหลัก และลอกท่อเส้นเลือดฝอย จากสถานการณ์ 2 วันที่ผ่านมา พฤติกรรมของฝนที่ตกในปีนี้เปลี่ยนไป มีการตกนานและมีปริมาณมากขึ้น ทำให้รับมือยาก ซึ่งจะต้องยกระดับการเตรียมความพร้อมให้มากขึ้น

นายวิศณุ กล่าวว่า ฝนตกลงมาต่อเนื่องและจะตกมาเติมน้ำในโซนบางเขน หลักสี่ รังสิตและลาดกระบัง ขอประชาชนติดตามข่าวสารของ กทม.เพราะจะมอนิเตอร์และรายงานสถานการณ์ให้ประชาชนทราบล่วงหน้า 3 ชม. ส่วนการจราจรเดินทางเย็นนี้หากน้ำท่วมสูง ประชาชนสัญจรกลับบ้านไม่ได้ กทม.จะประสานและจัดเตรียมรถทหาร เทศกิจ บริการตามสถานีรถไฟฟ้าหลัก

ส่วนสถานการณ์น้ำตามแนวแม่น้ำเจ้าพระยายังสามารถรับมือได้เพราะมีแนวคันกั้นน้ำสูงกว่า 3 เมตร ซึ่งขณะนี้ปริมาณน้ำสูง 1.85 เมตร แต่จุดฟันหลอยังต้องเสริมความแข็งแรงให้แนวกั้น ขณะเดียวกันยอมรับว่าเครื่องโมบายยูนิตที่มีกำลังในการสูบน้ำสูง กทม.มีเพียง 4 เครื่อง แต่ในอนาคตมีแผนจะจัดหาซื้อ ซึ่งในระหว่างนี้เครื่องสูบน้ำมีใช้งานอย่างเพียงพอในการแก้ปัญหา ทั้งนี้ขอขอบคุณความร่วมมือจากกรมชลประธานในการส่งเครื่องสูบน้ำมาสนับสนุนภารกิจของ กทม.

ด้านนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. เปิดเผยว่า ปัจจัยที่ทำให้เกิดน้ำท่วมกทม.ในช่วงนี้และแนวทางป้องกัน ว่า ช่วงนี้คือช่วงวิกฤต เรียกว่า 4 วันอันตราย ตั้งแต่วันที่ 7 -10 ..นี้โดย เมื่อคืนนี้ (7 ..) มีฝนตกหนักถึง 130 มิลลิเมตร ที่บริเวณเขตลาดกระบัง โชคดีที่ฝนไม่ตกซ้ำที่บริเวณเขตบางเขน เพราะกรณีฝนตกหนักที่เขตบางเขนเมื่อวันที่ 6 ..ที่ผ่านมา ปริมาณน้ำฝนสูงถึง 170 มิลลิเมตรซึ่งปริมาณดังกล่าวจะเกิดขึ้นหนึ่งครั้งในทุก 20 ปีตามสถิติที่กทม.บันทึกไว้ ปัญหาส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดน้ำท่วมขังคือ ท่อระบายน้ำดั้งเดิมของกทม.ไม่รองรับปริมาณน้ำฝนสูงขนาด 170 มิลลิเมตร ทำให้เกิดสถานการณ์น้ำเต็มคลองลาดพร้าวและคลองเปรมประชากรตามที่ปรากฏ

นายชัชชาติ กล่าวต่อว่า ส่วนเมื่อคืนนี้ (7 ..) มีฝนตกอีกที่บริเวณพัฒนาการ ทำให้น้ำเต็มคลองประเวศบุรีรมย์ ดังนั้น สถานการณ์ตอนนี้คลองหลักของกทม.มีน้ำเต็มทุกคลองต้องเร่งระบายโดยด่วน ส่วนคลองแสนแสบปัจจุบันขีดความสามารถรับน้ำก็ใกล้เต็มเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ฝนที่ตกช่วงเมื่อวานนั้นไม่เฉพาะที่เขตลาดกระบัง แต่ตกรอบนอกกินบริเวณกว้างออกไปถึงจังหวัดฉะเชิงเทราและจังหวัดสมุทรปราการ รวมถึงด้านเหนือของกทม.ฝั่งจังหวัดปทุมธานีมีปริมาณน้ำเต็มความจุ ส่งผลให้การระบายน้ำจากกทม.ทำได้ยากเพราะบริเวณพื้นที่รอบนอกมีน้ำเต็มเหมือนกัน ต้องลดการระบายน้ำจากกทม.ลงเพื่อบรรเทาปริมาณน้ำในพื้นที่รอบนอกด้วย

ผู้ว่าฯกทม. กล่าวว่า ปัจจุบันมีวิกฤตเกิดขึ้น 4 เรื่อง ดังนี้ 1.คลองหลักในกทม.น้ำเต็มความจุทุกคลอง ยกเว้นคลองแสนแสบที่ยังพอรับได้อีกไม่มาก 2.ร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านกทม.พอดี ส่งผลให้เกิดกำลังดึงดูดฝนเข้ามา จึงมีโอกาสเกิดฝนตกเพิ่มขึ้นมากกว่านี้

3.ปริมาณน้ำเหนือถูกปล่อยลงมาจำนวนถึง 1,850 ลูกบาศก์ต่อวินาที แม้จะยังไม่สูงเท่าช่วงวิกฤต แต่ปริมาณน้ำที่ขึ้นสูงระดับนี้กทม.ต้องสูบน้ำข้ามประตูน้ำเพื่อระบายลงแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้การทำงานค่อนข้างลำบาก และ 4.ช่วงวันที่ 7-10 ..นี้ เป็นช่วงน้ำทะเลหนุนสูง โดย 4 ปัจจัยนี้ประกอบกันทำให้กทม.มีน้ำท่วมขังในบางจุด

ขณะที่ เพจเอ้ สุชัชวีร์อดีตอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และ และ อดีตผู้สมัครผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความแสดงความคิดเห็น 4 ข้อ ในประเด็น น้ำท่วมกรุงเทพฯ เขตลาดกระบัง โดยได้ระบุข้อความว่า ทำไมลาดกระบัง กรุงเทพตะวันออกจมน้ำ มีคำตอบ เช้าวันนี้ แทบออกไปส่งลูกที่โรงเรียนไม่ได้ ท่วมทั้งถนนจริงๆ เด็กสนุกตื่นเต้นกับน้ำท่วม แต่ผู้ใหญ่ไม่สนุกเข้าใจ และเห็นใจ เพราะเจอกับตัวเองเหมือนชาวบ้านทุกคน แต่ชาวบ้านที่ไม่มีรถ หนักหนาสาหัส ยิ่งกว่าเราเยอะ ขอเป็นกำลังใจให้ครับ

ขอแสดงความคิดเห็นในฐานะชาวบ้านในพื้นที่ และวิศวกรธรณีเทคนิคคนหนึ่งว่า การแก้ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก พื้นที่กรุงเทพตะวันออก ตั้งแต่คลองสาวา หนอกจอก มีนบุรี ลงมาลาดกระบัง ประเวศ เราควรทำอะไรบ้าง

1. ต้องรู้ว่าพื้นที่กรุงเทพตะวันออก เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำระดับต่ำใกล้น้ำทะเล ฝนตกมา ก็เป็นแอ่งกะทะ น้ำท่วมได้ทันที และจะท่วมหนักขึ้นเพราะเป็นดินอ่อน ทรุดตัวง่ายมากที่สุดในกรุงเทพ ปล่อยปัญหาไว้ไม่ได้

2. ทางรอดเร่งด่วนทางเดียว คือ การระบายน้ำท่วมออกจากพื้นที่ให้เร็วที่สุด ทำไดัโดยการใช้ระบบเครือข่ายเครื่องสูบน้ำไฟฟ้า ที่มีประสิทธิภาพ ทำงานอัตโนมัติ เพราะหากเครื่องสูบน้ำไม่เพียงพอ ยังทำงานแบบรอคนมาเปิดปิด ไม่ทัน ยิ่งหากยังใช้เครื่องดีเซลอยู่ ต้องรอเติมน้ำมัน ไม่ทันการณ์

3. เส้นทางสูบน้ำท่วมออก ช่วยพื้นที่กรุงเทพตะวันออก มี 2 เส้นทางหลัก คือ 1. ทางตะวันออก ออกทางจังหวัดฉะเชิงเทรา ผ่านทางคลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต และ 2. ทางใต้ ออกทางคลองประเวศบุรีรัมย์ มุ่งสู่สถานีสูบน้ำพระโขนง เพื่อสูบน้ำขึ้นระบายบนแม่น้ำเจ้าพระยา ที่อยู่สูงกว่า

4. เมื่อเห็นภาพตาม ข้อ 1 ถึงข้อ 3 แล้ว ความจริงคือ

1. การประสานงานระหว่างจังหวัด กทม. และฉะเชิงเทรา เป็นอุปสรรค ทำให้ไม่สามารถบริหารจัดการปัญหาน้ำท่วมร่วมกันไดัจริงๆ น้ำท่วมจึง (ไม่ค่อย) ได้ถูกระบายทางตะวันออก ซึ่งอยู่ใกล้จุดน้ำท่วมมากที่สุด มีประสิทธิภาพมากที่สุด

จึงเหลือเพียง ทางออกทางแม่น้ำเจ้าพระยา ที่อยู่ห่างไกลมากกว่า 20 กิโลเมตร ผ่านทางคลองประเวศฯ แต่วันนี้ ไม่ยอมให้น้ำไหลออกทางนี้มากนัก ประตูน้ำปิด เพราะตลิ่งในเขตชั้นในกทม. ยังทำไม่เรียบร้อย และไม่ได้ใช้การควบคุมประตูอัตโนมัติ เลยกลัวคุมระดับน้ำตามสถานการณ์ไม่ได้ เสียหาย

น้ำจึงท่วมลาดกระบังสาหัสมาก เพราะไปทางไหน ไม่ได้เลย ไม่มีใครยอมช่วย ตะวันออกก็ไม่ยอม ทางใต้ก็กีดกันไม่ให้น้ำไป สุดท้าย ลาดกระบังจมน้ำ ทั้งที่เราจะแก้ปัญหา ก็ทำได้

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า