Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กรมควบคุมโรค ลงพื้นที่สอบสวนโรค จ.ภูเก็ต หลังพบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงรายแรกของประเทศไทย ขอประชาชนอย่าตื่นตระหนก 

Hand of a patient with monkeypox infection, 3D illustration. Monkeypox is a zoonotic virus from Poxviridae family, causes monkeypox, a pox-like disease

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า ได้รับแจ้งจากโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดภูเก็ต พบผู้ป่วยสงสัยโรคฝีดาษลิงจึงส่งทีมปฏิบัติการสอบสวนควบคุมโรค (JIT) กองระบาดวิทยาและสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 นครศรีธรรมราช ลงพื้นที่สอบสวนโรคร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ตและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ตั้งแต่วันที่ 18 ก.ค. 2565

ผู้ป่วยรายดังกล่าว เป็นเพศชาย สัญชาติไนจีเรีย อายุ 27 ปี มีประวัติเดินทางมาจากประเทศไนจีเรีย ให้ข้อมูลการป่วยว่าเมื่อ 1 สัปดาห์ก่อนมีไข้ ไอ เจ็บคอ น้ำมูก มีผื่นแดง ตุ่มนูนแดง ตุ่มหนอง เริ่มจากอวัยวะเพศลามไปใบหน้า ลำตัว แขน เก็บตัวอย่างส่งตรวจหาเชื้อก่อโรค เบื้องต้นผลการตรวจ PCR พบเชื้อ virus โดยห้องปฏิบัติการที่คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (TRC-EIDCC) และต่อมายืนยันโดยห้องปฏิบัติการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ช่วงบ่ายวันที่ 19 ก.ค. 65 และทีมสอบสวนควบคุมโรครวบรวมข้อมูลการสอบสวนทั้งข้อมูลอาการทางคลินิก ข้อมูลระบาดวิทยา และข้อมูลห้องปฏิบัติการเข้าพิจารณาในคณะกรรมการวิชาการ ภายใต้คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติในบ่ายวันที่ 21 กรกฎาคม 2565 ผลสรุปว่าเป็นผู้ป่วยยืนยันฝีดาษลิงที่พบในประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดยได้ประสานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดภูเก็ตเพื่อมอบหมายเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อดำเนินการติดตามและค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมพร้อมประเมินความเสี่ยงของการแพร่เชื้อในพื้นที่รับผิดชอบอย่างเข้มข้น

นพ.โอภาส กล่าวว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) ไม่ได้ประกาศให้โรคฝีดาษลิงเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง พร้อมกันนี้กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้โรคฝีดาษลิงอยู่ในกลุ่มโรคติดต่อเฝ้าระวัง จึงขอให้ประชาชนทำความเข้าใจกับธรรมชาติของโรคนี้ อย่าตื่นตระหนก และมั่นใจได้ว่ากระทรวงสาธารณสุขมีความพร้อมในการรับมือโรคฝีดาษลิง ทั้งมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคอย่างเข้มงวด โดยกรมควบคุมโรคได้เปิดศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข กรณีโรคฝีดาษลิงโดยเฉพาะ ตั้งแต่วันที่ 21พ.ค. 65 เพื่อติดตามสถานการณ์การระบาดอย่างใกล้ชิด ที่ผ่านมาเคยคัดกรองและส่งตรวจในผู้ป่วยที่มีอาการเข้าได้กับโรคจำนวน 19 ราย ซึ่งผลตรวจพบว่าไม่เป็นฝีดาษลิง

ทั้งนี้ การเฝ้าระวังผู้ป่วยฝีดาษลิง ที่คลินิกนิรนาม คลินิกโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คลินิกโรคผิวหนังและโรงพยาบาล ยังมีการตรวจคัดกรองและรายงานโรคตามนิยามผู้ป่วยสงสัยทุกราย โรคฝีดาษลิงเป็นโรคติดต่อต้องเฝ้าระวัง ตามพ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 ซึ่งแพร่โรคได้จากการสัมผัสโดยตรงกับผื่น ตุ่มน้ำใส ตุ่มหนองจากผู้ป่วย จึงขอให้ประชาชนร่วมมือกันปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด โดยการหลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่มีอาการสงสัยโรคฝีดาษลิง เช่น ตุ่มน้ำใสหรือตุ่มหนองที่ผิวหนังตามตัว และไม่ใช้สิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น

ส่วนสถานการณ์โรคฝีดาษลิงทั่วโลก (ข้อมูล ณ วันที่ 17 ก.ค. 65) จำนวนผู้ป่วยยืนยันทั่วโลก 12,608 ราย พบผู้ป่วยยืนยันเพิ่มขึ้นเป็น 66 ประเทศ ประเทศที่มีผู้ป่วยสูง 5 ลำดับแรก ได้แก่ สเปน 2,835 ราย เยอรมัน 1,859 ราย สหรัฐอเมริกา 1,813 ราย อังกฤษ 1,778 ราย และฝรั่งเศส 908 ราย

  • ‘ฝีดาษลิง’ ตรวจพบเร็ว ลดความเสี่ยงแพร่ระบาด

ผศ.นพ.โอภาส พุทธเจริญ หัวหน้าศูนย์โรคอุบัติใหม่ทางคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เผยว่า โรคฝีดาษลิงมีการแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ ผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้ออย่างใกล้ชิด เนื่องจากไวรัสมีระยะฟักตัวนานได้ถึง 21 วัน และในบางรายพบว่า อาการผื่นตุ่มน้ำเกิดขึ้นเพียงในเยื่อบุช่องปาก และที่อวัยวะเพศถึง 60% คล้ายกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อย่างเริม หรืออาจจะเป็นเชื้อซิฟิลิส ทำให้ผู้ป่วยอาจไม่ทราบว่า ตนเองป่วยเป็นโรคฝีดาษลิงเกิดการแพร่กระจายเชื้อต่อไปยังผู้อื่นได้ และผู้ที่มีประวัติสัมผัสเสี่ยงสูง มีความจำเป็นต้องกักตัวเพื่อสังเกตอาการอย่างน้อย 3 สัปดาห์ จึงจะสามารถสังเกตอาการที่ชี้ชัดได้ว่าเป็นผู้ป่วยติดเชื้อหรือไม่ หากไม่พบว่ามีการปรากฎ ก็ไม่จัดว่าเป็นผู้ป่วย

สำหรับแนวทางการรักษาในปัจจุบัน ผู้ติดเชื้อฝีดาษลิง สามารถรักษาด้วยยาต้านไวรัส 3 กลุ่ม ซึ่งถึงแม้จะยังไม่ใช่ยามาตรฐานเฉพาะสำหรับโรค แต่สามารถใช้ยารักษาฝีดาษในมนุษย์ได้ ได้แก่ Tecovirimat และ Cidofovir, Brincidofovir ซึ่งอาจส่งผลข้างเคียงต่อตับได้เพียงเล็กน้อย และเนื่องจากเป็นโรคติดเชื้อที่สามารถหายได้เองในผู้ป่วยที่มีสุขภาพแข็งแรง และอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างต่ำ การใช้ยาต้านไวรัส ยังมีความจำเป็นเฉพาะผู้ป่วยบางรายได้เท่านั้น ที่มีความเสี่ยงอันตรายจากโรคถึงชีวิต เช่นผู้ที่รับประทานยากดภูมิคุ้มกัน ผู้มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือด ซึ่งประชาชนทั่วไปยังไม่มีความจำเป็นต้องรับการฉีดวัคซีนเหมือนกับโรคระบาดอื่น ๆ เช่น โควิด-19 เนื่องจากโอกาสในการแพร่ระบาดยังเป็นวงจำกัด จึงเหมาะสำหรับผู้ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ติดเชื้อ ได้แก่ แพทย์ บุคลากรทางการแพทย์เจ้าหน้าที่พยาบาล ที่มีโอกาสสัมผัสโรคนี้ รวมถึงสมาชิกในครอบครัวของผู้ป่วย ซึ่งสามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนได้เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันหลังจากมีความเสี่ยง

ที่มา  https://www.youtube.com/watch?v=Z7VOlUhZwl0 Roche

‘ฝีดาษลิง’ ตรวจพบเร็ว ลดความเสี่ยงแพร่ระบาด

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า