Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กรมควบคุมโรค เร่งค้นหาผู้สัมผัสเสี่ยงสูงผู้ป่วยโรคฝีดาษลิง รายที่ 2 สอบสวนโรคเพิ่มเติม หลังมีข้อมูลเพิ่มจากผู้ป่วยระหว่างมีเพศสัมพันธ์ไม่ได้ป้องกัน 

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า จากกรณีพบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงรายที่ 2 ใน กทม.คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ได้กำชับและดูแลการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคฝีดาษวานร พร้อมสั่งการให้กรมควบคุมโรค ประสานงานกับคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร ในการติดตามเฝ้าระวังโรค 

สำหรับกรมควบคุมโรคได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัด สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง และกองระบาดวิทยา ลงพื้นที่เร่งติดตามค้นหาผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ประสานงานกับโรงพยาบาลวชิรพยาบาล ที่ผู้ป่วยเข้าไปตรวจหาเชื้อและรักษาตัว และประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการติดตามสอบสวนโรคเพิ่มเติม ตามแนวทางการเฝ้าระวังและสอบสวนโรคฝีดาษวานร เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคฝีดาษวานรและความปลอดภัยของประชาชนในพื้นที่

น.พ.โอภาส กล่าวว่า จากการลงพื้นที่สอบสวนโรค สอบถามข้อมูลของผู้ป่วยเพิ่มเติมพบว่า ผู้ป่วยมีประวัติมีเพศสัมพันธ์กับชายต่างชาติ โดยไม่ได้ป้องกันในวันที่ 12 ก.ค. 65 และเริ่มมีอาการไข้ในวันที่ 15 ก.ค. 65 ต่อมาอีก 3 วัน เริ่มมีตุ่มหนองที่อวัยวะเพศ ไปซื้อยามาทาเอง แต่อาการไม่ดีขึ้น อวัยวะเพศบวม มีหนอง ปัสสาวะสีขุ่น และเริ่มมีผื่นขึ้นที่ใบหน้าแถวระหว่างคิ้ว แขนขา ลำตัว จากนั้นผู้ป่วยจึงไปเข้าระบบคัดกรองที่โรงพยาบาลวชิรพยาบาล ซึ่งผู้ป่วยมีอาการและมีประวัติสัมผัสเสี่ยงที่เข้าได้กับโรคฝีดาษวานร จึงได้แยกผู้ป่วยไปที่ห้องตรวจแยกโรคที่จัดไว้เป็นการเฉพาะสำหรับผู้ป่วยติดเชื้อ และได้ทำการเก็บสิ่งส่งตรวจจากตุ่มหนอง คอหอย และเลือด ส่งตรวจที่ห้องปฏิบัติการของศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ สภากาชาดไทย และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พร้อมกับรับผู้ป่วยเข้ารับการรักษาที่ห้องผู้ป่วยแยกโรค แรงดันลบ (AIIR) และผลการตรวจจากห้องปฏิบัติการทั้ง 2 แห่ง ยืนยันว่ามีการติดเชื้อฝีดาษวานร

“ขณะนี้พบผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 13 ราย อยู่ระหว่างการตรวจหาเชื้อ และสังเกตอาการพร้อมกักตัว 21 วัน จึงขอแนะนำประชาชนว่า โรคฝีดาษวานรไม่ได้ติดต่อกันได้ง่ายๆ ซึ่งจะติดต่อได้จากการสัมผัสใกล้ชิดมากๆ โดยการสัมผัสกับ ตุ่ม หนอง แผล หรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วย พร้อมย้ำมาตรการป้องกันโรคโควิด 19 สามารถใช้ได้กับโรคฝีดาษวานร โดยหมั่นล้างมือบ่อยๆ เว้นระยะห่าง กินอาหารปรุงสุก ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น สวมหน้ากากอนามัย หลีกเลี่ยงกับผู้ป่วยที่มีตุ่มหนอง หรือผู้ป่วยต้องสงสัย” นพ.โอภาสกล่าว

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า