Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

‘วันนอร์’ ชี้กระแสปรับครม. ลามประธานสภาฯ ยังไม่มีสัญญาณอะไร แต่หากมีมาก็เป็นสัญญาณที่รับไม่ได้ พร้อมเห็นด้วยทำประชามติ 3 ครั้ง ก่อนแก้รัฐธรรมนูญ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานรัฐสภา กล่าวในวันนี้ (19 เม.ย. 67) ถึงการปรับคณะรัฐมนตรี (ปรับครม.) ที่มีการโยงมาที่ตำแหน่ง ประธานสภาผู้แทนราษฎรมีการส่งสัญญาณมาหรือไม่ นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าวว่า ยังไม่มีสัญญาณอะไร แต่การ ปรับครม. กับตำแหน่งประธานสภาฯ เป็นคนละเรื่องกัน การปรับ ครม. เป็นอำนาจนายกรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญ ส่วนตำแหน่งประธานสภาฯต้องมีการเสนอชื่อเพื่อเลือกในที่ประชุมสภาฯ มีผู้รับรอง แล้วนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ขณะที่วาระการดำรงตำแหน่งประธานสภาฯเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ รวมถึงข้อบังคับการประชุมสภาฯ

“ในส่วนตัวของผม ไม่เคยติดยึดกับตำแหน่งใดๆ ถ้าทำได้เพื่อประโยชน์ของประชาชน ผมก็ต้องทำเต็มที่ แต่ถ้าทำไม่ได้ หรือไม่สามารถทำได้ ผมก็ไม่ติดยึด พร้อมที่จะไป แต่ผมขอเรียนว่า ตำแหน่งประธานสภาฯ เป็นตำแหน่งที่มีเกียรติ เป็นเสาหลักประชาธิปไตย ต้องทำหน้าที่เป็นกลาง ไม่สามารถมีใครมาแทรกแซงได้ นอกจากนี้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน กำหนดชัดเจน ประธานและรองประธานสภาฯ ต้องไม่เป็นกรรมการบริหารพรรคการเมืองใดๆ เพื่อไม่ให้เกิดความผูกพันหรือมีการแทรกแซงจากพรรคการเมือง ยืนยันอีกครั้งว่า การปรับครม. เป็นเรื่องของนายกฯ แต่ตำแหน่งประธานสภาฯ เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ และข้อบังคับฯ ผมไม่มีอะไรส่วนตัว แต่เกียรติศักดิ์ศรี สภาฯ ผมในฐานะประมุขฝ่ายนิติบัญญัติต้องรักษาไว้” นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าว

เมื่อถามว่ายืนยันจะทำหน้าที่นี้ต่อไปหรือไม่ นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าวว่า เป็นหน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องปฏิบัติ ถ้าตนละเลย เท่ากับว่าตนไม่รักษาระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนมอบให้ไว้ ยืนยันอีกครั้งว่า ไม่มีใครส่งสัญญาณมา ถึงส่งสัญญาณก็เป็นสัญญาณที่รับไม่ได้

เมื่อถามถึงกรณีกระแสวิพากษ์วิจารณ์การใช้งบประมาณของ สว.ที่มีใช้งบจำนวนมากเดินทางไปดูงานต่างประเทศ นายวันมูหะมัดนอร์ ในฐานะประธานรัฐสภา ปฏิเสธที่จะตอบคำถาม โดยกล่าวว่า ต้องขออภัย เรื่องนี้เป็นเรื่องของวุฒิสภา ดังนั้นต้องเป็นอำนาจหน้าที่ของประธานวุฒิสภา

นอกจากนี้ นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าวถึงการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญว่า ตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญล่าสุดที่ไม่รับคำร้อง ที่สมาชิกรัฐสภาลงมติเสียงข้างมากให้ตนส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นปัญหาที่ไม่เคยเกิดขึ้น และเป็นเพียงข้อสงสัยในคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2564 ที่ศาลรัฐธรรมนูญระบุไว้ชัดเจน และส่งไทม์ไลน์เวลาการดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ประชาชนและรัฐสภาประกอบคำวินิจฉัย อย่างชัดเจนว่า หากจะแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ รัฐสภาสามารถแก้ไขได้แต่ต้องทำประชามติก่อน

“หากจะแก้ทั้งฉบับต้องทำประชามติก่อนว่าประชาชนเห็นด้วยหรือไม่หรือจะแก้มาตรา 256 ที่มีบทกำหนด อาทิ เกี่ยวกับอำนาจศาล องค์กรอิสระ หรือบางข้อต้องนำไปทำประชามติก่อน ดังนั้นต้องปฏิบัติตาม” ประธานรัฐสภา กล่าว

นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าวด้วยว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ปลอดภัย เป็นไปตามที่นายภูมิธรรม เวชชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ ในฐานะประธานกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติ เพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ระบุไว้ชัดเจนว่า รัฐบาลต้องดำเนินการ ทำประชามติก่อนแก้ไขรัฐธรรมนูญ ต้องถามประชาชน 3 รอบ ที่จะปลอดภัย แต่เสียเวลาและงบประมาณ แต่หากทำ 2 รอบ อาจจะขัดแย้งกับคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า