SHARE

คัดลอกแล้ว

https://www.youtube.com/watch?v=L1Z7L6ihNVk&feature=youtu.be&fbclid=IwAR0IUbaHK1Nl1I9i3tUeeEV7NPxNstsE4T4hcVX1WppzLyQw_CR8INhtwBQ

นับตั้งแต่เหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในปี 2547 ที่เริ่มมีการใช้กฎหมายพิเศษ ตลอดเวลา 15 ปี มีประเด็นการควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยไปสอบปากคำ ซึ่งมีการสงสัยถึงการซ้อมทรมาน ตัวอย่างเช่น กรณี อดีตกำนันโต๊ะเด็ง ในปี 2547 และการเสียชีวิตของนายอับดุลเลาะ อีซอมูซอ ในปี 2562

ซูไมยะห์ เหลือเพียงเสื้อตัวโปรดไว้ระลึกถึง อับดุลเลาะ อีซอมูซอ สามีผู้ตกเป็นผู้ต้องสงสัยคดีความมั่นคงที่ได้รับบาดเจ็บสาหัสหลังถูกควบคุมตัวตามกฎอัยการศึก ญาติปักใจเชื่อว่า อับดุลเลาะห์ถูกซ้อมเพื่อให้รับสารภาพว่าเกี่ยวข้องกับกลุ่มก่อความไม่สงบในจังหวัดปัตตานี

พ.อ.ปราโมทย์ พรหมอินทร์ โฆษก กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า

การคุมตัวเป็นไปตามการซัดทอด คำยืนยันจากโฆษก กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ระบุได้ประสานผ่านผู้นำ 4 เสาและดำเนินตามระเบียบอย่างโปร่งใส

อับดุลเลาะเสียชีวิตเมื่อ 21 กรกฎาคม 2562 ปมการเสียชีวิตยังคงคาใจ ภรรยาจึงตัดสินใจเดินหน้าร้องขอความเป็นธรรม

ระหว่างนี้ ครอบครัวอับดุลเลาะ ต้องหาหลักฐานเพื่อพิสูจน์ให้ได้ว่าถูกซ้อมทรมาน เพื่อยื่นฟ้องต่อศาล ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายที่ชาวบ้านจะทำได้

ดั่งเช่นคดีของนายอนุพงศ์ พันธชยางกูร อดีตกำนันโต๊ะเด็ง เหยื่อซ้อมทรมานให้รับสารภาพคดีปล้นปืนค่ายปิเหล็ง จ.นราธิวาส เมื่อปี 2547 ซึ่งต่อมาศาลยกฟ้อง

ฟันกราม 2 ซีก หลักฐานเดียวที่หลงเหลือจากการถูกเจ้าหน้าที่ซ้อม นำมาใช้ในการต่อสู้คดีนานนับสิบกว่าปี

เหยื่อคนแรกลุกขึ้นมาฟ้องคดีซ้อมทรมานในภาคใต้ แต่ด้วยไม่มีกฎหมายและบันทึกร่างกายก่อนถูกควบคุมตัว ร่องรอยบาดแผลที่หายไปตามเวลา รวมถึงไม่มีประจักษ์พยาน ทำให้ฟัน 2 ซี่ไม่มีน้ำหนักพอให้ศาลเชื่อว่าตำรวจซ้อมทรมานจริง ศาลสั่งจำคุกอนุพงศ์ 1 ปี ทันที

เหยื่อซ้อมทรมานมองว่า การใช้กฎหมายพิเศษในพื้นที่สีเทาเช่น 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประชาชนรู้สึกรัฐมองเป็นศัตรู

7 วันแรกหลังควบคุมตัวมีความเสี่ยงถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นรุนแรง จำเป็นต้องมี พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย เพราะเป็นความหวัง ทำให้ประชาชนรู้สึกถึงความเท่าเทียม

ขณะที่สถิติสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนในจังหวัดชายแดนใต้ เดือนมกราคมถึงสิงหาคม 2562 กลุ่มด้วยใจ พบมีการจับกุมตัวประชาชนด้วยกฎหมายพิเศษ 80 คน

ด้านโฆษก กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้าระบุว่า การคุมตัวผู้ต้องสงสัย ทหารต้องมีความมั่นใจจากข้อมูลข่าว ซึ่งที่ผ่านมาร้อยละ 80 ศาลเชื่อศูนย์ซักถามว่าการคุมตัวเป็นไปตามขั้นตอน

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า