Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

‘เด็กธรรมศาสตร์’ สร้างชื่อระดับเอเชียแปซิฟิก แข่งขันประมวลผลบนคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง คว้าเหรียญทองแดง ร่วมกับ ‘สิงคโปร์-ไต้หวัน’

เอไอ หรือ ปัญญาประดิษฐ์ (AI : Artificial Intelligence) เป็นเทคโนโลยีเบื้องหลังที่ทำให้แอปโซเชียลมีเดียยักษ์ใหญ่ อย่างเฟซบุ๊ก (Facebook) สามารถเลือกเนื้อหามาวางบนสร้างหน้าเพจ ยิงโฆษณา และแนะนำฟีดที่ตรงใจผู้ใช้แต่ละคนได้  การปฎิวัติคอนเทนต์ในยุคแห่งเอไอเกิดจากการดึงขุมพลังการคำนวณขั้นสูงของระบบซูปเปอร์คอมพิวเตอร์หรือเฮชพีซี (HPC: High Performance Computing) จากเดิมที่เคยใช้เพื่อการค้นคว้าทางวิศวกรรมและวิทยาศาสตร์ขั้นสูง มาใช้ในการคำนวณเอไอด้วย ทักษะความรู้ความสามารถในการดึงพลังการคำนวณบนระบบเฮชพีซีจึงเป็นกำลังสำคัญที่สามารถช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจ ผลักดันธุรกิจเทคโนโลยีขั้นสูงของประเทศ

ทีมนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ศูนย์ลำปาง ในฐานะตัวแทนเยาวชนไทย สามารถปักธงบน เวที APAC HPC-AI 2021 การแข่งขันประชันสมรรถนะของโมเดลปัญญาประดิษฐ์เพื่อประมวลผลบนคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง โดยคว้ารางวัลชนะเลิศอันดับ 3 ร่วมกับทีมจาก National Tsing Hua University ประเทศไต้หวัน และทีมจาก Nanyang Technological University ประเทศสิงคโปร์

สำหรับสมาชิกทีมธรรมศาสตร์ ประกอบด้วย นายอภิสิทธิ์ วงค์สอน นักศึกษาชั้นปี 4 นายนพณัฐ นามปั๋น นักศึกษาชั้นปี 4 น.ส.สุชาดา สุริวงค์ นักศึกษาชั้นปี 4 น.ส.สุชานันท์ ใจมุข นักศึกษาชั้นปี 4 นายศุภเกียรติ์ ไหวพินิจ นักศึกษาชั้นปี 3 และ น.ส.ศิริภัสสร ขวัญจิตร์ นักศึกษาชั้นปี 3

การแข่งขัน APAC HPC-AI 2021 ถือเป็นการแข่งขันระดับนานาชาติ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จัดโดย HPC-AI Advisory Council และ the National Supercomputing Centre (NSCC) Singapore เป็นการดึงสมรรถนะของโมเดลปัญญาประดิษฐ์เพื่อประมวลผลบนคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง ในปีนี้เป็นการจัดการแข่งขันครั้งที่ 4 มีทีมผู้เข้าแข่งขันทั้งสิ้น 36 ทีม จาก 13 ประเทศ โดยแข่งขันผ่านทางออนไลน์ที่ใช้เวลาแข่งขันนานถึง 5 เดือน

นายอภิสิทธิ์ เล่าว่า การแข่งขันครั้งนี้ เป็นการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูงของ the National Supercomputing Centre (NSCC) ประเทศสิงคโปร์เพื่อทำโจทย์ ซึ่งโจทย์แต่ละปีจะไม่เหมือนกัน โดยในปีนี้โจทย์จะมี 2 ข้อ เป็นโจทย์เฮชพีซีและเอไอ โจทย์เฮชพีซีเราต้องดึงสมรรถนะของโปรแกรมโกรแมคส์(GROMACS) ในการจำลองพลวัตเชิงโมเลกุล ของไวรัส STMV และ Lignocellulos   มาทำการประมวลผลบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูงโดยใช้ซีพียูพร้อมกันได้มากถึง 768 ซีพียู ให้มีประสิทธิภาพที่สุด ส่วนโจทย์ด้านเอไอ เราต้องดึงสมรรถนะของโมเดลแนะนำไอเท็มบนหน้าฟีดของเฟซบุ๊ค (Facebook DLRM) เมื่อประมวลผลบนเครื่องจีพียูคลัสเตอร์ Nvidia DGX-1

ในการแข่งขันทีมธรรมศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 ทีมย่อย ทีมละ 3 คน แยกกันทำทีมละโจทย์ สำหรับโจทย์โมเดล HPC เป็นโจทย์ที่ค่อนข้างแพร่หลายแล้ว การวิเคราะห์แบบจำลองนี้เราได้เลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมซึ่งได้ทำการศึกษามาก่อนแล้ว ส่วนโจทย์โมเดลปัญญาประดิษฐ์ ไม่ได้แพร่หลายเหมือนโมเดล HPC ทีมก็พยายามเสนอผลลัพธ์ที่พอจะทำได้

“อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.ดร. วรวรรณ ดีอัซ การ์บาโย มีส่วนร่วมในการแข่งขันครั้งนี้มาก เพราะหัวข้อที่ทำการแข่งขันไม่ได้มีสอนในหลักสูตรตรงๆ จะมีการประยุกต์จากวิชาที่เรียน ฉะนั้นเวลาฝึกอาจารย์จะต้องเข้ามาอธิบายและสอนเพิ่มเติมให้ทีม อาจารย์มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล ช่วยเทรน ช่วยสอนให้พวกเรา ทำให้พวกเราสามารถคว้ารางวัลมาได้” นายอภิสิทธิ์ กล่าว

นอกจากฝีมือและไอเดียแล้ว อีกปัจจัยความสำเร็จที่ทำให้ทีมนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง สามารถคว้ารางวัลมาได้ นั่นคือประสบการณ์ที่ได้จากการแข่งขัน

เพราะนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่พวกเขาเข้าร่วมการแข่งขัน ทว่า “นายอภิสิทธิ์” และเพื่อนอีก 2 คนในทีม ก็เคยเข้าร่วมการแข่งขันรายการนี้ เมื่อปีก่อนมาแล้ว “นายอภิสิทธิ์” เล่าว่า เคยร่วมการแข่งขันเมื่อปีที่แล้ว แต่ขณะนั้นทุกคนยังใหม่ ซึ่งประสบการณ์จากเวทีแรกทำให้กลับมาฟอร์มทีมใหม่ โดยได้กำลังสำคัญมาจากน้องๆ ปี 3 อีก 2 คน

“ปีที่แล้วมีทั้งหมด 6 รางวัล แต่ทีมเราได้คะแนนลำดับที่ 7 พลาดไป 1 อันดับ แต่ในปีนี้สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศอันดับ 3 มาได้ ถือว่าได้อันดับที่ดีขึ้นจากการแข่งปีที่แล้ว โดยส่วนหนึ่งเป็นเพราะเรามีประสบการณ์มาก่อนแล้ว สำหรับน้องๆ ปี 3 ในทีมคาดว่าปีหน้าถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด คงจะฟอร์มทีมเข้าร่วมการแข่งขันอีกครั้ง ตั้งเป้าหมายว่าจะให้ได้อันดับและคะแนนที่ดีกว่าเดิม” นายอภิสิทธิ์ ระบุ

นายอภิสิทธิ์ บอกว่า การเรียนในห้องเหมือนเป็นการสอนทฤษฎี ส่วนการแข่งขันเหมือนการหาประสบการณ์จากการปฏิบัติที่จะเอาไปใช้ ในการทำงานหรือการเรียนต่อการวิจัย ถ้ามีโอกาสที่จะเข้าร่วมการแข่งขัน ก็เหมือนได้รับโอกาสเพิ่มมาจากคนอื่นๆ ด้วย

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า