Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานกรรมการผู้ก่อตั้งพรรคไทยสร้างไทย ชวนพูดคุยภายใต้บรรยากาศ  เดือนแห่งการสนับสนุนการยอมรับตัวเอง, ความมีเกียรติ, ความเท่าเทียม และการสร้างการรับรู้ เกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ ในฐานะความเป็นกลุ่มทางสังคม  โดยย้ำว่า เป็นเรื่องของทุกคนที่จะภูมิใจในเพศสภาพของตัวเอง

เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2564 แฟนเพจเฟซบุ๊ก คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ Sudarat Keyuraphan ได้ประชาสัมพันธ์จัดงานเพื่อแลกเปลี่ยนและผลักดันในวาระ “Pride Month”  ภายใต้ประเด็นมิติปัญเรื่องเพศที่หลากหลาย ทั้งเรื่องการก้าวข้ามผ่านกำแพงของสังคม กฎหมาย การต่อสู้  “ความเท่ากัน” รวมถึง “สิทธิ” และ ความภูมิใจที่เป็นตัวเองของทุกคนในสังคม

คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์

โดยวงเสวนาได้เริ่มต้นราว 20.00 น. ผ่าน Clubhouse: คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ ซึ่งเปิดการสนทนาด้วยแขกรับเชิญ 3 ท่านได้แก่คุณวู้ดดี้ มิลินทจินดา – จากรายการ Woody World, คุณธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ – อดีตส.ส. จากพรรคก้าวไกลและคุณบุณยนุช มัทธุจักร – จากเว็บไซต์ iLaw

เริ่มต้นการสนทนาด้วยคุณวู้ดดี้ มิลินทจินดา พิธีกรรายการทีวีชื่อดัง เป็นที่รู้จักในฐานะ LGBTQ  และผู้ออกมาสนับสนุนกฎหมายสมรสระหว่างบุคคล เปิดประเด็นมาด้วยการบอกเล่าเรื่องราวในฐานะ LGBTQ ผ่านประสบการณ์ที่ต้องเจอปัญหา “สิทธิ์ในการอนุญาตทางการแพทย์” ที่ประเทศไทยยังไม่มีสำหรับคู่ชีวิต LGBTQ     พร้อมกล่าวว่า “ผมเชื่อว่ามันมีสักวันที่คนสองคนแต่งงานกันได้ ไม่ว่าจะเป็นเพศอะไร  มันจะมีวันนั้นที่คำนำหน้ามันจะเป็นไปตามที่ใจของเราจะปรารถนา

ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์

ในด้านการนำประเด็นปัญหาไปผลักดันให้เกิดขึ้นจริงคุณธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ อดีต ส.ส. พรรคก้าวไกล ที่ขับเคลื่อนปัญหาของ LGBTQ ผ่านการทำงานมานานหลายปี ได้ผลักดันสิทธิของ LGBTQ ในฐานะมนุษย์ ที่รัฐไม่ควรนำเรื่องเพศไปผูกติด พร้อมกล่าวว่า คนที่เป็นผู้มีความหลากหลายทางเพศในไทยนั้น ต่างถูกโกงความเป็นเพื่อนมนุษย์รวมทั่งยังกล่าวถึงสถานะทางอาชีพของกลุ่ม LGBTQ ที่สถานะจารีตในสังคมไทยได้ผลักให้ LGBTQ เลือนลางจากการเป็นประชาชนคนไทย จนเป็นผลให้ LGBTQ ในไทยมีอาชีพเพียงไม่กี่อย่าง

แง่ทางกฎหมายอันจะเป็นบันไดนำปัญหาไปสู่ความหวังบนหนทางแห่งการแก้ไขคุณบุณยนุช มัทธุจักร – จากเว็บไซต์ iLaw ได้พูดถึงกระบวนการร่างกฎหมายเพื่อความหลากหลายทางเพศ หนึ่งในนั้น คือ พ.ร.บ คู่ชีวิต ที่ปัจจุบันก็ได้เงียบหายไป รวมไปถึงนำเสนอความก้าวหน้าของการแก้ไขหลักกฎหมายและร่างพ.ร.บ.แก้ไขกฎหมายแพ่งว่าด้วยการสมรส ที่พรรคก้าวไกลผลักดันเมื่อเดือนมิถุนายน ปี 2563 ที่ผ่านมา จนเกิดเป็นการเคลื่อนไหวผ่านแฮชแท็ก #สมรสเท่าเทียม พร้อมระบุว่า ปัจจุบันกระบวนการผลักดันกฎหมายที่เกิดขึ้นค่อนข้างจะเงียบหาย

ทางด้านคุณหญิงสุดารัตน์เกยุราพันธุ์ได้รวบประเด็นทั้งสามท่านผ่านการนำเสนอประสบการณ์ที่เคยพบในปัญหาเรื่อง “คำหน้านาม” ที่กลายเป็นการประทับตราบนเรือนร่างแม้ว่าอาจมีเพศสภาพมิตรงกลับเพศกำเนิดโดยเฉพาะเมื่อการเดินทางข้ามประเทศและต้องใช้หนังสือเดินทางที่ภาพและใบหน้าแม้กระทั้งชื่อกลับกลายเป็นสิ่งที่ผูกโยงอัตลักษณ์ทางเพศแก่ LGBTQ

ทั้งนี้ในแง่ที่ทางและตัวตนของ LGBTQ คุณวู้ดดี้ได้กล่าวว่า “ปัจจุบันเรามีการแสดงออกทางเพศที่เยอะมากกว่าเมื่อก่อนเราอาจจะรู้จักรุกรับคิงควีนซึ่งก็เป็นเมื่อก่อนแต่ปัจจุบันมันเยอะมาก โดยเฉพาะหญิงรักหญิงที่ผมเป็นห่วงกว่าชายรักชายมากเพราะพื้นที่หรือที่ทางในสังคมค่อนข้างน้อยก็เป็นอีกวาระที่ผมอยากแชร์”

ตอนท้ายของเสวนาทั้ง 4 ท่านได้พยายามพูดคุยเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโดยระบุอาจต้องเริ่มต้นด้วยการพูดคุยในมิติที่หลากหลายพร้อมทั้งชวนผู้ฟังการสนทนาพูดคุยโดยมีประเด็นที่น่าสนใจและหลากหลายต่อมิติที่จะผลักดันปัญหาของ LGBTQ ที่สังคมกำลังดำเนินอยู่อาทิบทบาทเพศที่สามในไทยกลายเป็นเพียงความบันเทิงโดยได้มีการแชร์ประเด็นจากผู้ฟังเปรียบภาพพจน์ของ LGBTQ ผ่านอุตสาหกรรมซีรีส์วายระหว่างไทย-เวียดนามที่เมื่อเทียบกันแล้วเวียดนามเป็นประเทศที่สิทธิของ LGBTQ เติบโตไปทิศทางที่ดีทั้งที่ภาพการนำเสนอบทบาท LGBTQ น้อยกว่าอุตสาหกรรมสื่อภาพยนตร์ไทยมาก

รวมไปถึงการบัญญัติเนื้อหาในกฎหมายที่ผู้ร่วมฟังการสนทนาได้ตั้งข้อสังเกตว่าเนื้อความในกฎหมายเพื่อความเท่าเทียมของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศกลับกลายเป็นทางสองแพร่งที่ LGBTQ ต้องพิสูจน์ ‘สถานะทางเพศ’ เพื่อให้สอดรับกับเงื่อนไขทางกฎหมายทั้งที่อัตลักษณ์ทางเพศเป็นเสมือนพลวัตที่ลื่นไหลเทียบจากกรณีที่หากมีคู่รักระหว่าง ‘ผู้หญิงข้ามเพศคบหาผู้ชายข้ามเพศ’ ด้วยบทบาททางเพศวิถีที่ไม่สอดคล้องกับเพศกำเนิดแต่กลับถูกเพศกำเนิดระบุภายใต้เงื่อนไขคู่รักแบบหญิง-ชายที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นในสังคม

ท้ายที่สุดแล้วกระบวนการขับเคลื่อนเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อกลุ่มคนผู้มีความหลากหลายทางเพศในไทยยังอยู่บนเส้นทางแห่งความหวังที่หลายฝ่ายพยายามขับเคลื่อนและขบคิดต่อปัญหาต่างๆที่สะท้อนออกมาจากภาคประชาสังคมที่รอวันให้กลุ่ม LGBTQ ได้หยัดยืนอย่างภาคภูมิในฐานะมนุษย์ปุถุชนอันพร้อมด้วยศักดิ์ศรีและสิทธิในเรือนร่างภายใต้รัฐสวัสดิการที่ไม่ลดทอนคุณของพวกเขาเหล่านั้นลงไป

การเสวนาในครั้งนี้จัดขึ้นใน Clubhouse โดยทีมข่าว workpointTODAY ได้ขออนุญาตจากผู้จัดงานเพื่อนำมาเผยแพร่ให้เกิดประโยชน์กับสาธารณะแล้ว

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า