SHARE

คัดลอกแล้ว

ถ้าไม่นับเรื่องเงิน มีอะไรที่ทำให้คุณอยากลาออกอีก?

หนึ่งในสิ่งที่ผลักดันให้เราตื่นขึ้นมา และพร้อมทำงานทุกๆ วันคือ ‘แรงจูงใจ’ จะอดทนหรือยอมแพ้ จะพัฒนาหรือย่ำอยู่กับที่ เบื้องหลังการตัดสินใจเหล่านี้ล้วนมาจากความแข็งแรงของแรงจูงใจ ซึ่งแรงจูงใจที่ว่านี้มีหลายแบบ ทั้งทางวัตถุ(ภายนอก) และทางจิตใจ(ภายใน) ขึ้นอยู่กับว่าสิ่งไหนมีผลกับเรา

Daniel H.Pink นักเขียนชาวอเมริกัน เป็นคนหนึ่งที่เห็นว่าแรงจูงใจมีผลต่อการทำงานและการใช้ชีวิต ในหนังสือเรื่อง “DRIVE” ที่ Pink เขียน ได้กำหนดสิ่งที่เรียกว่า “Motivation 3.0” โดยอัพเกรดขึ้นมาจากแรงจูงใจเพื่อเอาตัวรอด (Motivation 1.0) และแรงจูงใจแบบพระเดช-พระคุณ (Motivation 2.0

ซึ่ง Pink บอกว่าแรงจูงใจแบบ ‘ทำดีก็ได้คำชม ทำผิดก็โดนลงโทษ’ (แรงจูงใจแบบพระเดช-พระคุณ) เป็นแรงจูงใจภายนอกที่กำลังล้าสมัย และไม่ตอบโจทย์การทำงานที่เน้นความสร้างสรรค์ขององค์กรในยุคศตวรรษที่ 21 นั่นเป็นเหตุผลที่เราต้องการสิ่งที่เรียกว่า แรงจูงใจ 3.0

พนักงานในยุคนี้ จะตอบสนองความต้องการขององค์กรในยุคนี้ได้ดี เมื่อได้รับการกระตุ้นด้วยแจงจูงใจภายใน (แรงจูงใจ 3.0) คือเกิดขึ้นภายในตัวของพนักงานเอง ซึ่งการจะสร้างแรงจูงใจที่ว่านี้มีสูตรอยู่ 3 อย่าง ได้แก่ ความเป็นอิสระ-Autonomy, ความเชี่ยวชาญ-Mastery และ เป้าหมาย-Purpose

Autonomy-มีอิสระและอำนาจในการตัดสินใจ

เพื่อให้เกิดแรงจูงใจอย่างเต็มที่ พนักงานต้องมีโอกาสควบคุมกระบวนการทำงาน และจบงานได้อย่างอิสระ ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของหัวหน้าหรือเจ้านายตลอดเวลา ซึ่ง Pink บอกว่า ความเป็นอิสระจะกระตุ้นให้เราเกิดความคิดสร้างสรรค์ 

แรงจูงใจแบบนี้มักถูกใช้กับบริษัทซอฟต์แวร์ ซึ่งหลายๆ แห่งจะให้เวลาวิศวกรได้พัฒนาโปรเจ็กต์ในแบบของตัวเอง แทนที่จะกำหนดกฎเกณฑ์ตายตัว สิ่งนี้ทำให้วิศวกรมีอิสระในการทดลอง และทดสอบแนวคิดใหม่ๆ จนท้ายที่สุดมอบผลลัพธ์อันน่าทึ่งให้กับองค์กรเป็นการตอบแทน

ลี่-ปรเมษฐ์ สงวนโชควณิชย์ Vice President ของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง อธิบาย Autonomy เพิ่มเติมว่า เมื่อไหร่ที่พนักงานเริ่มรู้สึกถูกควบคุมเกินไปจนไม่มีอำนาจตัดสินใจ มีสิทธิ์ที่จะทำให้เขารู้สึกว่างานที่ทำอยู่ไม่ให้เกียรติ และส่งผลให้ลาออก 

เพราะฉะนั้นฝั่งเจ้านายเอง ก็ต้องหมั่นสำรวจตัวเองว่ากำลังควบคุมการทำงานของลูกน้องมากจนทำให้ลูกน้องไม่มีอิสระหรือเปล่า การปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์ของพนักงานด้วยความไม่เชื่อใจอาจทำให้องค์กรสูญเสียโอกาสที่จะรักษาพนักงานดีๆ รวมถึงโอกาสที่จะได้เรียนรู้วิธีการใหม่ๆ ในการพัฒนางานให้ดีขึ้น

Mastery-ต้องการพัฒนาความเชี่ยวชาญอยู่เสมอ

แรงจูงใจแบบความเชี่ยวชาญ จะกระตุ้นให้พนักงานมีความปรารถนาที่จะพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ ไม่ทำตัวเป็นน้ำเต็มแก้ว ดังนั้นงานที่ไม่ทำให้พวกเขารู้สึกเก่งขึ้น ย่อมเป็นงานที่ไม่สามารถมอบแรงจูงใจประเภทนี้ได้ และท้ายที่สุด พนักงานก็จะลาออก เมื่อพวกเขารู้สึกว่ากำลังย่ำอยู่กับที่ โดยไม่ได้พัฒนาอะไรเลย

Pink เสนอว่าองค์กร รวมถึงหัวหน้าควรตรวจสอบสิ่งที่มอบหมายให้พนักงานทำอยู่เสมอว่าความสามารถของพนักงาน และเนื้องานมีความบาลานซ์กันหรือไม่ หากเนื้องานยากเกินไป มีแนวโน้มว่าจะทำให้พนักงานรู้สึกเหมือนหลุดออกจากคอมฟอร์ตโซนอย่างกะทันหัน แต่ถ้าเนื้องานง่ายเกินไป พนักงานก็จะรู้สึกเบื่อ

เคล็ดลับของ Pink คือ มอบหมายงานตามความสามารถ แต่ขณะเดียวกันหัวหน้าก็ควรสร้างพื้นที่ปลอดภัยและสนับสนุนการพัฒนาของพนักงานอยู่เสมอ

Purpose-หาเป้าหมายที่ชัดเจน

เราทุกคนล้วนใช้ชีวิตเพื่อเป้าหมายบางอย่าง และบางครั้งหลายคนอาจไม่ทันรู้ตัวว่า ‘การอยู่รอด’ ก็ถือเป็นเป้าหมายอย่างหนึ่ง แต่ถ้าอัพเกรดจากคำว่า ‘อยู่รอด’ เป็น ‘มีชีวิตที่ดี’ ก็อาจช่วยยกระดับแรงจูงใจในการใช้ชีวิตให้ดำเนินตามแนวทางที่เราวางมากขึ้น ซึ่งการทำงานก็เช่นกัน

การค้นพบเป้าหมายที่ชัดเจนในการทำงาน จะช่วยสร้างแรงจูงใจที่แข็งแกร่ง พนักงานจะรู้สึกทำงานอย่างไม่หลงทาง ช่วยขจัดคำถาม ‘ทำสิ่งนี้ไปเพื่ออะไร?’ และช่วยให้งานบรรลุผลเร็วขึ้น และอีกมุมหนึ่ง การมีเป้าหมายที่ชัดเจน จะทำให้พนักงานอยู่กับองค์กรนานขึ้น

ที่น่าสนใจคือ ทฤษฎีการมีเป้าหมายที่ชัดเจนสามารถนำมาปรับใช้ระดับองค์กรได้ด้วย โดยในหนังสือบอกว่า บริษัทที่ให้ความสำคัญเฉพาะผลลัพธ์หรือผลกำไรโดยไม่ให้คุณค่าเป้าหมายที่ไม่ใช่ตัวเงิน (แต่ไม่ใช่ว่าเงินไม่สำคัญ) จะจบลงตรงที่กลายเป็นบริษัทที่ปฏิบัติต่อลูกค้าไม่น่ารัก ส่วนพนักงานก็ไม่มีความสุข แน่นอนว่าเงินเป็นตัวกำหนดความมั่นคงขององค์กร แต่การมีเป้าหมายภายใน จะช่วยให้องค์กรขับเคลื่อนไปอย่างสมบูรณ์และแข็งแรงมากขึ้น

ความเป็นอิสระ ความเชี่ยวชาญ และเป้าหมาย คือคีย์เวิร์ด 3 ข้อที่ช่วยกระตุ้นแรงจูงใจในการทำงาน พนักงานจะรู้สึกเห็นคุณค่าในตัวเองมากขึ้นเมื่อพวกเขารู้สึกว่าตัวเองมีความสำคัญกับบริษัท หรือกำลังทำงานที่ให้ผลลัพธ์ยิ่งใหญ่ ซึ่งส่งผลต่อเนื่องไปถึงเนื้องานที่ถูกผลิตออกมา และพนักงานอยู่กับบริษัทนานขึ้น และมีความสุขมากขึ้น

ติดตามคลิป คู่มือทำงานเจ็นซี รุ่นใหม่-รุ่นใหญ่ สู่ทีมเวิร์คที่สมบูรณ์ จากรายการ Tomorrow Wisdom ได้ที่ https://youtu.be/gaS3nlP7ZBs 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า