Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ปฏิเสธไม่ได้จริงๆ ว่า‘บ้าน’ ยังคงเป็นความฝันของใครหลายๆ คน เพราะถือเป็นสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง อนาคต และครอบครัว แต่หลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐ (FED) ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งถึง 5.5% ประกอบกับการคาดการณ์ ราคาอสังหาริมทรัพย์ทั่วโลกที่เพิ่มขึ้น 1.3% ทำให้ใครที่กำลังตัดสินใจจะมีบ้านต้องเผชิญกับสถานการณ์ดอกเบี้ยที่ไม่สู้ดีและราคาบ้านที่แพงขึ้น 

[ อัตราดอกเบี้ยบ้านในแต่ละประเทศ ]

        • นิวซีแลนด์ อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 7.7% (คงที่ 1 ปี)
        • สหรัฐฯ อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 7.4% (คงที่ 30 ปี)
        • แคนนาดา อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 7.0% (คงที่ 5 ปี) 
        • ออสเตรเลีย อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 5.9% (ดอกเบี้ยผันแปร) 
        • ฮ่องกง อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 3.7% (ดอกเบี้ยผันแปร)
        • ไทย อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 3.0% (คงที่ 3 ปี ธอส.)

[ สถานการณ์ราคาอสังหาริมทรัพย์ในแต่ละประเทศ ]

          • สหรัฐอเมริกาฯ ราคาบ้านในซานฟรานซิสโกเพิ่มขึ้น 3% ในซิลิคอนแวลลีย์ 8%
          • ออสเตรเลีย ราคาบ้านเพิ่มขึ้น 8%
          • นิวซีแลนด์ ราคาบ้านเพิ่มขึ้น 30%
          • ไทย ราคาบ้านเพิ่มขึ้น 15%

โดย 3 ปัจจัยหลักๆ ที่ทำให้ราคาบ้านสูงขึ้นมีดังนี้

1) ความต้องการอยากมีบ้านสูงขึ้นนับตั้งเเต่โควิดระบาด เพราะโควิด-19 ทำให้ผู้คนต้องการที่อยู่อาศัยที่มั่นคงในระยะยาว ทำให้การเลือกซื้อและเป็นเจ้าของจะดีกว่าเช่า

2) ตลาดจำนองบ้านมีการปลดหนี้มากขึ้น แม้อัตราดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้น อาทิ ในยุโรป ปี 2554-2564 สัดส่วนผู้กู้ลดลงจาก 40% เหลือเพียง 15% เท่านั้น ซึ่งหลายๆ ประเทศมีอัตราดอกเบี้ยคงที่ทำให้พวกเขาสามารถจ่ายดอกเบี้ยได้ในอัตราต่ำ ไม่สูงเฟ้อเหมือนปัจจุบัน สามารถปลดหนี้บ้านได้เร็วกว่ากำหนด ทำให้ความต้องการขยับขยายที่อยู่อาศัยจากเดิมก็เพิ่มมากขึ้น 

3) ผู้คนมีเงินเก็บมากขึ้น แม้อัตราดอกเบี้ยบ้านจะพุ่งสูง แต่ในช่วงโควิดผู้คนเก็บออมเพิ่มขึ้นส่งผลให้เกิดเงินเก็บจำนวนหนึ่ง โดยเฉลี่ยแล้ว 14% ของผู้คนในประเทศที่พัฒนาแล้วยังมีเงินเก็บหลังจากโควิด ทำให้ผู้คนมั่นใจว่ามีเงินเก็บพอที่จะดาวน์บ้านหรือมีเงินมากพอที่จะรับกับค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน

ขณะที่คนอาเซียนส่วนใหญ่ก็ต้องการอยากมีบ้านเป็นของตัวเอง แต่จำเป็นต้องเผชิญกับอัตราดอกเบี้ยที่เป็นสาเหตุหลัก มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อที่อยู่อาศัย

โดยผู้บริโภคในอาเซียนส่วนใหญ่กว่า 3 ใน 4 ต่างมีความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ มองว่าอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อที่อยู่อาศัยอยู่ในระดับสูง โดยผลสำรวจบอกว่า ชาวมาเลเซียคิดแบบนี้ถึง 86% รองลงมาคือชาวสิงคโปร์อยู่ที่ 81% ชาวไทยอยู่ที่ 76% และชาวเวียดนามอยู่ที่ 75% 

ประกอบกับนโยบายจากภาครัฐจะทำให้ที่อยู่อาศัยมีราคาจับต้องได้ลดลง โดยมีเพียงชาวเวียดนามแค่ 50% ที่มองว่า รัฐบาลมีความพยายามเพียงพอที่จะช่วยให้ซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองได้ หลังจากมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยหลายครั้งในปีนี้และออกมาตรการช่วยเหลือภาคอสังหาฯ 

ขณะที่ชาวสิงคโปร์ (24%) ชาวมาเลเซีย (20%) และชาวไทย (15%) มองว่า ยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับนโยบายกระตุ้นการเติบโตของตลาดอสังหาฯ หรือออกมาตรการช่วยเหลือใดๆ เพิ่มเติมจากที่มีอยู่เดิม ทำให้การตัดสินใจซื้อบ้านเป็นเรื่องที่เอื้อมถึงยาก หากไม่วางแผนการผ่อนชำระ 

ในทางกลับกันเทรนด์การ ‘เช่าบ้าน’ ก็กำลังมาแรงแซงความฝันคนอยากมีบ้าน ตัวอย่างเช่น ในประเทศไทย ผลสำรวจจาก DDproperty พบว่าคนไทยเลือกการเช่าแทนซื้อ

โดยเกือบ 2 ใน 3 (64%) ของคนเช่าเผยว่าไม่มีเงินเก็บเพียงพอในการซื้อที่อยู่อาศัย ขณะที่ 41% มองว่าที่อยู่อาศัยมีราคาแพงเกินไปจึงขอเก็บเงินไว้แทน และไม่เห็นความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องซื้อในเวลานี้ (30%) เลยทีเดียว

อย่างไรก็ตาม หากอัตราเงินเฟ้อยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) อาจจำเป็นต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมขึ้นอีกครั้ง เงินออมที่ผู้คนเคยเก็บอาจจะไม่เหลือใช้ในที่สุด 

ประกอบกับอัตราการว่างงานในหลายๆ ประเทศที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจอ่อนแอ อาจทำให้ใครที่กำลังอยากมีบ้านคงไม่เหมาะสมในช่วงเวลานี้

ที่มา 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า