Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

รู้หรือไม่ว่า “ตอนนี้แบรนด์แฟชันระดับโลกส่วนใหญ่ใช้ ‘ผ้า’ ที่ผ่านมารีไซเคิลมาแล้ว” และโลกกำลังมุ่งหน้าสู่อะไรที่ไกลกว่าแค่เส้นใยหรือผ้า ‘รีไซเคิล’ เพราะอีกหน่อยแบรนด์จะผลิตเสื้อผ้าออกมาขายเราโดยแข่งกันที่ว่า “เสื้อผ้าตัวนี้ผลิตคาร์บอนเท่าไร?” และ “ใครใช้ทรัพยากรและพลังงานน้อยที่สุดในการผลิตเสื้อผ้า” 

ปี 2024 มาถึงกลายเป็นว่า ‘ความยั่งยืน’ ไม่ใช่แค่คำที่เอาไว้พูดสวยๆ อีกแล้ว เพราะหลังจากทั่วโลกให้ความสำคัญกับความยั่งยืนและเริ่มกำหนดมาตรการทางการค้า เพื่อให้ผู้ผลิตและส่งออกต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ทำให้โลกธุรกิจต้องจริงจังเรื่องความยั่งยืน

อีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่น่าสนใจ คือ ‘อุตสาหกรรมแฟชัน’ ที่ถือเป็นวงการแรกๆ ที่สามารถทำให้ความยั่งยืนกลายเป็นรูปธรรมและนำมาให้ผู้บริโภครู้จักมากขึ้น แต่ตอนนี้โลกเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้าแฟชัน กำลังไปไกลกว่าที่เคยแล้ว

TODAY Bizview ได้คุยกับผู้บริหารต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ในอุตสาหกรรมแฟชันในงานเปิดตัวโครงการปฏิวัติวงการแฟชั่นยั่งยืนด้วย RECO Collective ผลิตจากวัสดุรีไซเคิล 100%

[ ผ้ารีไซเคิลโต 300% ใน 10 ปี แบรนด์ระดับโลกใช้เป็นปกติ ]

คนกลางน้ำอย่าง ‘สุพจน์ ชัยวิไล’ รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยแทฟฟิต้า จำกัด ผู้ผลิตผ้าและสิ่งทอครบวงจรในไทยที่มีประสบการณ์มากกว่า 30 เล่าว่า ใน 10 ปีที่ผ่านมา ‘วัตถุดิบรีไซเคิล’ เติบโตมากถึง 300-400% และในช่วง 5 ปีล่าสุด แบรนด์เสื้อผ้าแฟชันระดับโลก (Global Brand) เกือบทุกแบรนด์จะเลือกวัตถุดิบรีไซเคิลเกือบ 100%

โดย “หลายๆ แบรนด์ไม่ได้โปรโมทสิ่งนี้เป็นพิเศษ เพราะมองว่าเป็นมาตรฐานทั่วไปของแบรนด์แล้ว” ส่วนใหญ่แบรนด์จะพิจารณาว่า ‘ผ้า’ หรือ ‘วัตถุดิบ’ ที่เลือกใช้ได้ ‘Recycle Standard’ หรือไม่ เพื่อให้ได้ผ้ารีไซเคิลที่ได้มาตรฐานความยั่งยืน

ส่วนหนึ่งที่ผ้ารีไซเคิลเติบโตอย่างก้าวกระโดด เพราะ ‘ผ้ารีไซเคิล’ กลายเป็นมาตรฐานใหม่ของวงการแฟชัน แบรนด์ระดับโลกมองเป็น ‘ความรับผิดชอบ’ ที่จะ “ต้องทำ” และนอกจากตัววัตถุดิบแล้ว หลายๆ แบรนด์ยังพยายามให้กระบวนผลิตมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม

นอกจากนั้น ปัจจุบันผ้าโพลีเอสเตอร์พัฒนาไปจนแทบไม่เห็นความแตกต่างกับผ้าคอตตอนแล้ว และที่สำคัญ คือ “คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญกับแบรนด์น้อยลง แต่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและดีไซน์มากกว่า” รวมถึงแบรนด์ที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนก็ได้รับความนิยมขึ้นเรื่อยๆ และมียอดขายเติบโต “อีกหน่อยจะไม่ได้ดูแค่ว่าใครใช้วัตถุดิบอะไร แต่เป็นเสื้อผ้าชิ้นนี้ใช้คาร์บอนฟุตปริ้นเท่าไรในการผลิต”

[ ไม่ใช่แค่กิมมิค ไม่ใช่แค่โบนัส แต่โลกแฟชันสู่มาตรฐานใหม่ ]

‘กมลนาถ องค์วรรณดี’ ผู้อำนวยการหลักสูตร RECO Incubation Lab ให้มุมมองของดีไซเนอร์และผู้สอนว่า ตอนนี้โลกกำลังเปลี่ยนผ่านธุรกิจแฟชันไปสู่ ‘มาตรฐานใหม่’ “ไม่ใช่แค่กิมมิค ไม่ใช่แค่โบนัส แบรนด์ระดับโลกหลายแบรนด์เลือกใช้รีไซเคิลโพลีเอสเตอร์”

ในอนาคตสิ่งเหล่านี้จะกลายเป็น ‘บรรทัดฐาน’ ใหม่ของแบรนด์แฟชัน ทุกแบรนด์จะต้องทำ โดยเฉพาะแบรนด์ที่จะต้องส่งออกที่จะต้องให้ความสำคัญกับ Carbon Tax และภาษีอื่นๆ ที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม

ขณะที่ในหมู่ดีไซเนอร์รุ่นใหม่ก็ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม เป็นมาตรฐานในการทำธีสิสจบของใครหลายๆ คน รับกับคน Gen X และ Alpha ที่จะเติบโตขึ้นในอนาคตข้างหน้า

[ สินค้าแฟชันเพื่อสิ่งแวดล้อมโตได้ ขยายตัว 40% เบอร์หนึ่งใน Ecotopia ]

ส่วน ‘ปลายน้ำ’ อย่าง ‘กานต์สิริ วิชชุวิวรรธณ์’ ผู้ช่วยผู้อำนวยการบริหารสินค้า ฝ่ายบริหารสินค้า Discovery Retail และ Ecotopia เล่าว่า เดิมสยามพิวรรธเริ่มต้นการนำสินค้าที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมเข้ามาในศูนย์ผ่านการเชิญชวนแบรนด์ต่างๆ นำสินค้ากลุ่มนี้เข้ามาขาย หลังได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ทำให้ตัดสินใจเปิด Ecotopia ขึ้นมาในที่สุด โดยสินค้าที่ขายดีที่สุด คือ กลุ่มสินค้าแฟชัน ที่เติบโตกว่า 40%

อีกคนอย่าง ‘ศิริทิพย์ ศรีไพศาล’ ผู้อำนวยการธุรกิจ บริษัท แดพเพอร์ เจ็นเนอรัล อะแพเร็ล จำกัด หรือ DAPPER บอกว่า ช่วง 2-3 ปีก่อน Dapper มีสัดส่วนสินค้าในกลุ่มยั่งยืน (รีไซเคิล รียูส รีดีไซน์) ราวๆ 5% ของสินค้าทั้งหมด แต่หลังจากแบรนด์เริ่มลองสินค้าประเภทใหม่ๆ อย่างเช่น รองเท้าจากเศษหนังรีไซเคิล กระเป๋าผ้าจากเสื้อเก่า-มีตำหนิ ก็ทำให้แบรนด์สามารถขยับสัดส่วนของสินค้ากลุ่มนี้ขึ้นเป็น 15-20% ได้แล้ว เพราะเป็นสินค้าที่ผู้บริโภคเข้าใจได้ง่าย ไม่ยาก มีดีไซน์และคอนเซปต์ที่น่าสนใจ โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่ยินดีซื้อแบบไม่ต้องลดราคา ไม่ต้องทำโปรโมชันเลย

[ แพงไปไหม? คำตอบคือกำลังถูกลงเรื่อยๆ” ]

หลายคนพอคิดถึง ‘เสื้อผ้า’ ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมักจะเข้าถึงยาก-ราคาสูง ‘สุพจน์ ชัยวิไล’ รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยแทฟฟิต้า จำกัด อธิบายว่า ตอนนี้ผ้ารีไซเคิลแบ่งเป็น 3 ตลาด คือ ตลาดแมส ตลาดโลคอลแบรนด์ และตลาดสตาร์ทอัป โดยปัจจุบันตลาดสตาร์ทอัป ราคาแทบจะไม่ต่างจากผ้าอื่นๆ แล้วจากสเกลการผลิตปริมาณมหาศาล

ขณะที่ ‘โลคอลแบรนด์’ จะเน้นควบคุมและจัดการซัพพลาย เพื่อให้สามารถทำราคาที่ผู้บริโภคเข้าถึงได้ สามารถเลือกวัตถุดิบได้ว่าต้องการถูกหรือแพง ขณะที่ ‘สตาร์ทอัป’ หลายๆ เจ้าก็เข้ามาเติมช่องว่างระหว่างโรงงานผ้ากับเจ้าของแบรนด์ ด้วยการจัดการกับสต๊อกผ้าเหลือและนำออกไปจำหน่ายให้แบรนด์เล็กๆ ในราคาเข้าถึงได้

ตอนนี้เราเลยมีราคาแพง กลาง และถูก แม้ในอดีตจะราคาสูงมาก แต่ในอนาคตข้างหน้า ดีไซน์เนอร์จะมีทางเลือกวัตถุดิบมากขึ้นในราคาที่ถูกลง เมื่อมีโอกาสและวิธีการใหม่ๆ เข้ามา

ขณะที่ Ecotopia ก็มองเห็นเทรนด์ว่าดีไซเนอร์หน้าใหม่เริ่มมองเห็น วัตถุดิบที่หลากหลายมากขึ้น ไม่ใช่แค่วัตถุดิบรียูสเท่านั้น แต่วัตถุดิบเหลือใช้หรือเหลือทิ้งก็สามารถนำมาทำงานได้ ส่วน Dapper มองว่า วิธีการที่ดีไซเนอร์และแบรนด์จะสามารถอยู่ได้ คือ ต้องทำให้การผลิตเป็นอุตสาหกรรมหรือเข้าไลน์ผลิตให้ได้

สุดท้าย ‘อาราธนา โลเฮีย ชาร์มา’ รองประธาน บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) บอกว่า โครงการปฏิวัติวงการแฟชั่นยั่งยืนด้วย ‘RECO Collective’ ผลิตจากวัสดุรีไซเคิล 100% ที่ทาง ‘อินโดรามา เวนเจอร์ส’ ทำมาครบ 10 ปีในปีนี้แตกต่างจากปีก่อนๆ ตรงที่เน้นสร้างแพลตฟอร์ม ดึงพันธมิตรมาทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เพื่อให้ดีไซเนอร์รุ่นใหม่เข้าถึงวัตถุดิบที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมและสามารถพัฒนาผลงานไปสู่ธุรกิจจริงได้

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า