Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

อนุฯ รับฟังความเห็นฯ การทำประชามติ หวั่น ประชาชนออกมาใช้สิทธิไม่เกินกึ่งหนึ่ง ชี้อาจต้องแก้กฎหมายประชามติ ด้าน กกต. ประเมินใช้งบฯ 3,250 ล้านบาท

นายนิกร จำนง ประธานคณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับแนวทางในการทำประชามติเพื่อแก้ไข รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 เปิดเผยว่า วันนี้ได้เชิญตัวแทนนิสิตนักศึกษา เยาวชนคนรุ่นใหม่ 7 กลุ่ม รวมถึงกลุ่มที่ร่วมชุมนุมทางการเมือง เพื่อมารับฟังความเห็น

โดยก่อนหน้านี้ได้ให้คำถามเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญและการทำประชามติ ซึ่งเป็นคำถามชุดเดียวกับที่จะให้สมาชิกรัฐสภา ในช่วงเปิดสมัยประชุม ก่อนสรุปเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางในการทำประชามติเพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร พุทธศักราช 2560 ช่วงปลายเดือนธันวาคมและจะนำไปสอบถามประชาชน

โดยในคำถามระบุว่า เห็นสมควรให้มีการจัดทำประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่, ต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 ทั้งฉบับ คงหมวด 1หมวด 2 หรือเห็นว่า ไม่สมควรแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยในกรณีนี้จะถามว่า สมควรจะแก้ไขรายมาตรา หรือไม่ต้องแก้เลย และถามถึงผลกระทบที่เกิดจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เช่น เรื่องการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน และการมีส่วนร่วมทางการเมือง กระบวนการตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างนิติบัญญัติ ตุลาการและฝ่ายบริหาร มีปัญหาหรือไม่อย่างไร หรือวิธีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นไปได้ยาก ต้นเหตุที่นำไปสู่การแก้ไข หรือให้ระบุความเห็นอื่น รวมถึงคำถามเกี่ยวกับการตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ ส.ส.ร. หรือองค์กรอื่นขึ้นมาแก้ไข

นายนิกร ยังระบุถึง คำถามประชามติจะถามก่อนดำเนินการว่า ประชาชนเห็นด้วยหรือไม่ที่จะให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ เพื่อสอบถามว่าจะอนุญาตให้ทำหรือไม่ ส่วนการทำครั้งที่ 2 กรณีแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 256 เพื่อเปิดช่องให้มี ส.ส.ร. และหลังการแก้ไขจะต้องถามประชาชนว่า เห็นด้วยหรือไม่กับรัฐธรรมนูญ ก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯ

โดยจะนำคำถามนี้ไปสอบถามสมาชิกรัฐสภาในสมัยเปิดประชุม วันที่ 13-14 ธ.ค. 66 และวุฒิสภา วันที่ 18-19 ธ.ค. 66 หลังจากนั้นจะมีการนัดประชุมในวันที่ 22 ธ.ค. 66 อีกครั้ง โดยให้นายภูมิธรรม เวชยชัย ในฐานะประธานคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางในการทำประชามติฯ เป็นผู้สรุปจบ

สำหรับการประชุมคณะอนุกรรมการศึกษาแนวทางทำประชามติฯ ที่ได้เชิญนายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. มาหารือในวันนี้ นายนิกร กล่าวว่า งบประมาณในการจัดทำประชามติเบื้องต้น คาดว่า จะใช้งบประมาณ 3,250 ล้านบาท ส่วนการทำประชามติด้วยวิธีการอื่น เช่น การใช้แอปพลิเคชั่น คาดว่าต้องใช้งบประมาณ 10,000 ล้านบาท ซึ่งที่ประชุมได้สอบถามว่าหากใช้วิธีการดังกล่าวจะเสถียรหรือถูกแฮกข้อมูลได้หรือไม่ ซึ่ง กกต. จะเสนอข้อมูลกลับมาอีกครั้ง

ส่วนการจัดทำประชามติ พร้อมกับการเลือกตั้งอื่นนั้น นายนิกร กล่าวว่า กกต. ระบุว่าจะต้องใช้กฎหมาย 3 ฉบับ และการทำครั้งแรกอาจไม่ทัน ต้องรอจนถึงเดือนพฤศจิกายน 2567 เพราะต้องรอแก้ไขกฎหมายประชามติก่อน แต่ถ้าเป็นการทำประชามติครั้งที่ 2 น่าจะสามารถทำพร้อมกับการเลือกตั้งอื่นได้

“ยอมรับว่า มีข้อกังวลเกี่ยวกับกฎหมายประชามติ ที่กำหนดว่า หากจะทำประชามติ ต้องใช้เสียงข้างมาก 2 ชั้น คือ 1.ประชาชนต้องออกมาใช้สิทธิ์เกินกึ่งหนึ่ง ของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ซึ่งจะเท่ากับ 25 ล้านเสียง มีโอกาสที่ประชาชนออกมาใช้สิทธิ์ไม่ครบ และ 2.เสียงเห็นชอบต้องเกินครึ่งหนึ่งของผู้ที่มาใช้สิทธิ์ ซึ่งมองว่าเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เพราะไม่มีหัวคะแนน ไม่มีคนเหนี่ยวนำออกมาใช้สิทธิ์” นายนิกร กล่าว

นายนิกร ยังเห็นว่าการ ทำประชามติครั้งแรก ประชาชนอาจตื่นตัวออกมา เพราะมองว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน แต่การทำประชามติครั้งที่ 2 ที่มีการแก้ไขมาตรา 256 ที่หากตรงกับการเลือกตั้ง นายก อบจ. ซึ่งจะเกิดขึ้นในต้นปี 2568 อาจเป็นตัวเร่งประชาชนได้ แต่ก็เกรงว่าจะตกม้าตายตรงนี้ ตรงที่ประชาชนออกมาไม่ครบตามเงื่อนไข ดังนั้นจึงมีความกังวล

เมื่อถามว่า หากมีการแก้ไขกฎหมายประชามติจะทันกับกำหนดการทำประชามติหรือไม่ นายนิกร กล่าวว่า ทันกันอยู่แล้ว โดยการแก้ไขกฎหมายประชามติ ให้ไม่ต้องให้ผู้มีสิทธิใช้เสียงออกมาเกินกิ่งหนึ่ง เหลือเพียงเสียงข้างมากในการผ่านประชามติ

โดยคาดว่าการทำประชามติครั้งแรก น่าจะเกิดขึ้นในเดือนเมษายน ซึ่งวันเวลาในการทำประชามติ จะไม่น้อยกว่า 90 วันและไม่เกิน 120 วัน หรือประมาณ 3 เดือนครึ่ง เพราะต้องให้เวลา กกต. ไปดำเนินการทำความเข้าใจกับประชาชน

นายนิกร กล่าวว่า ในวันที่ 15 พ.ย. 66 คณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนฯ จะเชิญประชาชนอีก 17 กลุ่ม เพื่อมารับฟังความคิดเห็นอีกครั้ง อาทิ กลุ่มความหลากหลายทางเพศ กลุ่มคนพิการ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสมัชชาคนจน เป็นต้น

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า