Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

สมัยนี้ ถ้าไปถามเด็กจบใหม่รายคนว่า อยากทำงานอะไร คำตอบที่ได้กลับมาเยอะมาก ๆ ก็คือ “ฟรีแลนซ์” (Freelance) คนสมัยก่อนอาจเกาหัวแกร่ก และสงสัยว่าอาชีพฟรีแลนซ์มันคืออะไร ทำไมเด็กจบใหม่ถึงอยากทำมากกว่าไปสอบบรรจุเป็นข้าราชการ หรือสมัครเข้าทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือนในบริษัทใหญ่ ที่มีความมั่นคง

เหตุผลที่เด็กจบใหม่หลายคนชอบงานฟรีแลนซ์ เพราะรู้สึกว่ามันอิสระ อยากจะทำงานตอนไหนก็ได้ อยากจะหยุดงานเมื่อไหร่ก็ได้ ไม่มีหัวหน้าหรือผู้บังคับบัญชามาสั่ง ไม่ต้องตอกบัตรเข้างาน เพียงแต่ต้องแลกมาด้วย “ความเสี่ยง” ว่าบางช่วงอาจจะไม่มีงาน หรือ งานน้อย

อย่างไรก็ตาม ผมเชื่อว่าฟรีแลนซ์ฝีมือดี และขยัน ไม่อดตายแน่นอน

แต่การไม่อดตายในวันนี้ ไม่ได้หมายความว่าในอนาคตจะไม่อดตายนะครับ เพราะฟรีแลนซ์หลายคนอาจยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับ การวางแผนการเงินแบบครบวงจร งั้นวันนี้เรามาลองดูกันว่า ฟรีแลนซ์ควรวางแผนการเงินยังไง ให้มีชีวิตที่มั่งคั่งและมั่นคงในอนาคต

1. สร้างกองทุนเพื่อการเกษียณ

การมีเงินเพียงพอสำหรับการใช้ชีวิตหลังเกษียณของฟรีแลนซ์ ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด แต่มักเป็นเรื่องที่ถูกมองข้ามมากที่สุดเช่นกัน ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากฟรีแลนซ์ไม่โดนบังคับให้หักเงินรายได้ไปออมเพื่อการเกษียณในประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เหมือนมนุษย์เงินเดือน

ฟรีแลนซ์แทบจะไม่มีหลักประกันใดเลยว่า หลังเกษียณจะมีเงินบำเหน็จหรือบำนาญเหมือนมนุษย์เงินเดือน ที่ในตอนนี้หลายคนอาจไม่เคยนึกถึง หรือแม้กระทั่งบ่นว่า “จะหักทำไมทุกเดือน” แต่เนื่องจากอยู่ในระบบเงินเดือนจึงโดนบังคับหักและออมไปโดยปริยาย

ดังนั้น การสร้างกองทุนเพื่อการเกษียณของฟรีแลนซ์จึงมีความสำคัญมาก เพราะเป็นการออมที่ต้องมีวินัยและใช้เวลานาน 30 – 40 ปี กว่าจะได้ใช้เงินก้อนนั้น

การสร้างกองทุนเพื่อการเกษียณของฟรีแลนซ์ ความจริงก็ใช้หลักการเดียวกันกับมนุษย์เงินเดือน คือ หักเงินรายได้ที่ได้รับมาครั้งละ 5 – 10% เข้ากองทุนเพื่อการเกษียณของเราเอง และนำไปวางแผนลงทุนว่าจะลงทุนอะไรบ้าง เช่น หุ้น ทองคำ ตราสารหนี้ กองทุนรวม สลากออมสิน เป็นต้น โดยแบ่งสัดส่วนการลงทุนให้เหมาะสมกับความเสี่ยงที่เรารับได้

2. เตรียมเงินค่ารักษาพยาบาล

ค่ารักษาพยาบาล ก็เป็นเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่ฟรีแลนซ์จะมองข้ามไม่ได้ เพราะฟรีแลนซ์ไม่มีสวัสดิการรักษาสุขภาพเหมือนข้าราชการหรือพนักงานบริษัทเอกชนทั่วไป

ฟรีแลนซ์มีสิทธิขั้นพื้นฐาน คือ สิทธิตามหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ “บัตรทอง” ซึ่งค่ารักษาพยาบาล ค่ายา ค่าห้อง อาจไม่ครอบคลุมอย่างที่แต่ละคนต้องการ ที่สำคัญ หากฟรีแลนซ์ต้องหยุดงานเพราะป่วย ก็จะไม่มีรายได้ในช่วงนั้น รายได้ชดเชยจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับฟรีแลนซ์ที่มีเงินได้ไม่ประจำ

แต่วิธีการเตรียมตัวในเรื่องนี้ ไม่ใช่การหักเงินมาออมแล้วตั้งเป็นกองทุนสุขภาพของตัวเอง เหมือนกับกองทุนเพื่อการเกษียณนะครับ เพราะเราไม่รู้ว่าจะต้องออมเงินมากขนาดไหนถึงจะเพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ดังนั้น ในส่วนของค่ารักษาพยาบาลนี้ สิ่งที่ฟรีแลนซ์ควรทำคือประกันสุขภาพรวมถึงประกันอุบัติเหตุ

เพราะประกันสุขภาพและประกันอุบัติเหตุจะช่วยบรรเทาเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลให้เราได้ค่อนข้างมาก เมื่อเทียบกับเงินที่เราต้องเสียไปเป็นค่าเบี้ยประกัน และถ้าใครกลัวว่าในช่วงที่ต้องเจ็บไข้ได้ป่วย นอนพักรักษาตัวแล้วไม่มีรายได้ เราก็สามารถเลือกทำประกันที่มีการจ่ายเงินชดเชยให้เราในช่วงที่ต้องหยุดงานได้ด้วยครับ

3. ตั้งเป้าหมายย่อย และออมเพื่อเป้าหมายนั้น

แม้ว่าการออมเงินเพื่อการเกษียณจะสำคัญที่สุด แต่ชีวิตของเราทุกคนรวมถึงฟรีแลนซ์ยังมีความจำเป็นต้องใช้เงินเพื่อทำเรื่องอื่น อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นซื้อบ้าน แต่งงาน หรือ จ่ายค่าเทอมลูก

แต่ฟรีแลนซ์เป็นอาชีพที่อาจมีรายได้ไม่สม่ำเสมอ คือ บางช่วงงานเยอะ เงินก็เยอะตามไปด้วย แต่บางช่วงโดยเฉพาะช่วงที่เศรษฐกิจซบเซา ฟรีแลนซ์บางคนก็อาจจะไม่มีงานหรือมีงานน้อยลงพอสมควร การวางแผนการเงินเพื่อเป้าหมายต่าง ของฟรีแลนซ์จึงมีความสำคัญเช่นกัน

เช่น หากเราวางแผนจะซื้อบ้าน ถ้าเป็นมนุษย์เงินเดือน โอกาสที่เราจะกู้ได้เต็มมูลค่าบ้านนั้นมีสูง เพราะธนาคารมั่นใจว่ามนุษย์เงินเดือนมีรายรับที่สม่ำเสมอ ต่างจากฟรีแลนซ์ที่ธนาคารมองว่ามีความเสี่ยงสูงที่บางเดือนฟรีแลนซ์อาจไม่มีเงินมาผ่อนบ้าน ฟรีแลนซ์ส่วนใหญ่จึงต้องมีเงินดาวน์ 10 – 30% ก่อนจึงจะสามารถกู้ซื้อบ้านได้ ซึ่งการจะมีเงินดาวน์ 10 – 30% ไม่ใช่ว่าเรานึกขึ้นมาแล้วจะหาเงินได้ทันที

ดังนั้น ฟรีแลนซ์จึงควรมีการวางแผนการออมและลงทุนที่ดี เพื่อคำนวณออกมาว่าจะต้องเก็บเงินเดือนละเท่าไหร่ เก็บนานแค่ไหน และไปลงทุนแบบไหน จึงจะสามารถมีเงินออมได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า