Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หลายธนาคารมีมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ออกมา บางแห่งบอกว่าให้พักชำระเงินต้น บางแห่งก็บอกว่าให้พักชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย แต่ที่ฮือฮาสุด ๆ คงหนีไม่พ้น “ธนาคารสีชมพู” ที่ออกมาบอกว่า ธนาคารมอบสิทธิพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้กับลูกหนี้ทุกคน เป็นระยะเวลา 3 เดือน โดยไม่ต้องลงทะเบียนหรือผ่านการพิจารณาใด ๆ

หลังจากฟังข่าวนี้ ผมในฐานะที่เคยทำงานเป็นฝ่ายกฎหมายของธนาคารมาก่อน เลยอดไม่ได้ที่จะต้องไปหารายละเอียดของมาตรการดังกล่าวมาอ่านเพิ่มเติม เพราะรู้ว่าฝ่ายกฎหมายของธนาคารชอบมีข้อกำหนดและเงื่อนไขตัวเล็ก ๆ ไว้ที่ดอกจัน (จะไม่รู้ได้อย่างไร ก็เคยเขียนมากับมือ)

แล้วผมก็พบว่ามาตรการช่วยเหลือของธนาคารแห่งนี้ รวมถึงธนาคารเจ้าอื่น ๆ ที่บอกจะให้พักชำระหนี้นั้น เขียนเหมือนกันก็คือ ธนาคารให้ลูกหนี้ “พักชำระหนี้” ก็จริง แต่ธนาคารไม่ได้ “พักหนี้” ให้กับลูกหนี้แต่อย่างใด

หลายคนอาจจะงง ๆ ว่าสองคำนี้มันแตกต่างกันตรงไหน เพราะดูผ่าน ๆ ก็เหมือนกันนั่นแหละ พักชำระหนี้ หรือ พักหนี้ ลูกหนี้ก็ไม่ต้องจ่ายหนี้เหมือนกัน ผมบอกเลยว่า มันต่างกันครับ  ลองมาไล่เรียงไปทีละคำ

  • พักชำระเงินต้น หมายความว่า ในงวดที่เราพักนั้น เราไม่ต้องจ่ายเงินต้น แต่ยังต้องจ่ายดอกเบี้ยให้กับธนาคารไปเรื่อย ๆ
  • พักชำระหนี้ หมายความว่า ในงวดที่เราพักนั้น เราไม่ต้องจ่ายทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย แต่ธนาคารจะยังคิดดอกเบี้ยไปเรื่อย ๆ แล้วค่อยมาเก็บดอกเบี้ยจากเราภายหลัง
  • พักหนี้ หมายความ ในงวดที่เราพักนั้น เราไม่ต้องจ่ายทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย และธนาคารจะหยุดคิดดอกเบี้ยในช่วงที่เราพักหนี้ด้วย

ทีนี้ ลองมาดูตัวอย่างให้เห็นภาพและเข้าใจมากขึ้นกันครับ

สมมติว่า นายอดออม กู้เงินซื้อบ้านจำนวน 2 ล้านบาท ระยะเวลาการกู้ 30 ปี และถูกคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 4 ต่อปี โดย นายอดออม จ่ายหนี้บ้านงวดละ 10,104.16 บาท มาแล้ว 3 ปี หรือ 36 งวด ก่อนจะเกิดวิกฤติโควิด-19 ทำให้ นายอดออม มีรายได้ลดลงและอยากเข้าโครงการช่วยเหลือของธนาคาร

ถ้า นายอดออม เป็นลูกหนี้ของธนาคาร A B และ C ซึ่งมีมาตรการช่วยเหลือแตกต่างกัน ดังนี้

  • ธนาคาร A ให้พักชำระเงินต้น 3 เดือน
  • ธนาคาร B ให้พักชำระหนี้ 3 เดือน (ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย)
  • ธนาคาร C ให้พักหนี้ 3 เดือน

กรณีที่ 1 ธนาคาร A ให้พักชำระเงินต้น 3 เดือน

ถ้า นายอดออม เป็นลูกค้าของธนาคาร A เขาจะต้องจ่ายดอกเบี้ย เป็นจำนวนเงิน 6,229.17 บาท/เดือน ให้กับธนาคารในงวดที่ 37 – 39 รวมเป็นเงินทั้งหมด 6,229.17 x 3 = 18,687.51 บาท

และหลังจากที่พ้นระยะเวลาพักชำระเงินต้น 3 เดือน นายอดออม จะต้องกลับมาผ่อนชำระค่างวดเดือนละ 10,104.16 บาทตามเดิม โดยนับเป็นการชำระหนี้งวดที่ 37 ใหม่ เพราะหลักของการผ่อนหนี้บ้านก็คือ ในแต่ละงวดที่เราผ่อน เงินจะถูกนำไปจ่ายดอกเบี้ยก่อน จากนั้นส่วนที่เหลือถึงจะถูกนำไปจ่ายเงินต้น    ดูวิธีการคิดดอกเบี้ย

ดังนั้นการที่ นายอดออม จ่ายเฉพาะดอกเบี้ยเดือนละ 6,229.17 บาท มา 3 เดือน ยอดเงินต้นจึงยังคงเหลืออยู่ที่ 1,868,750.99 บาทเท่าเดิม เมื่อกลับมาชำระหนี้ตามปกติ ก็เหมือนการเริ่มชำระหนี้งวดที่ 37 ใหม่นั่นเอง

กรณีที่ 2 ธนาคาร B ให้พักชำระหนี้ 3 เดือน (ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย)

ถ้า นายอดออม เป็นลูกค้าของธนาคาร B เขาไม่ต้องชำระเงินให้กับธนาคารเลย ในงวดที่ 37 – 39 แต่หลังจากพ้นระยะเวลาพักชำระหนี้ 3 เดือนแล้ว นายอดออม จะต้องกลับมาผ่อนชำระค่างวดตามปกติในงวดที่ 40 และจะต้องจ่ายดอกเบี้ยของงวดที่ 37 – 39 ซึ่งยังค้างชำระเอาไว้ด้วย

ทั้งนี้ บางธนาคารก็มีเงื่อนไขให้ลูกหนี้ต้องชำระดอกเบี้ยที่ค้างเอาไว้ก่อน ค่างวดที่ผ่อนเข้าไปใหม่ถึงจะเริ่มไปตัดเงินต้น แต่บางธนาคารก็ให้ลูกหนี้กลับมาชำระค่างวดตามปกติ แล้วค่อยไปชำระดอกเบี้ยที่ค้างอยู่หลังจากผ่อนครบทั้งหมดแล้ว

หมายความว่าการพักชำระหนี้นั้น ธนาคารไม่ได้หยุดคิดดอกเบี้ยแต่อย่างใด สุดท้ายภาระที่ลูกหนี้ต้องจ่ายก็ไม่ต่างกับกรณีพักชำระเงินต้น เพียงแต่ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของลูกหนี้ในช่วง 3 เดือนเท่านั้น

กรณีที่ 3 ธนาคาร C ให้พักหนี้ 3 เดือน

ถ้า นายอดออม เป็นลูกค้าของธนาคาร C เขาไม่ต้องชำระเงินให้กับธนาคารเลย ในงวดที่ 37 – 39 เหมือนกับกรณีที่ 2 แต่ในระหว่าง 3 เดือนที่เขาไม่ได้ชำระหนี้ ธนาคารจะหยุดคิดดอกเบี้ยลูกหนี้ด้วย

เมื่อพ้นระยะเวลาพักหนี้ นายอดออม จะต้องกลับมาผ่อนชำระค่างวดเดือนละ 10,104.16 บาทตามเดิม ในงวดที่ 37 เหมือนว่า 3 เดือนที่ผ่านมาธนาคารหยุดเวลาไว้ ซึ่งการพักหนี้จะทำให้ลูกหนี้ไม่มีดอกเบี้ยค้างจ่ายกับธนาคารเหมือนกรณีที่ 2

สรุปแล้วลูกหนี้ทั้งหลายอย่างเพิ่งดีใจ ว่ามาตรการที่ธนาคารพักชำระหนี้ให้กับเราทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยนั้น ธนาคารจะหยุดคิดดอกเบี้ยในช่วงเวลาที่พักนะครับ เราแค่ได้รับสิทธิให้หยุดจ่าย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนทางเศรษฐกิจ แต่ธนาคารยังคงคิดดอกเบี้ยเหมือนเดิม

ในส่วนของธนาคารเอกชน ผมไม่แปลกใจเท่าไหร่ที่ออกมาตรการพักชำระเงินต้นหรือพักชำระหนี้ ไม่ใช่การพักหนี้ไปเลย เพราะเขามีภาระ มีต้นทุนอยู่

แต่ที่ผมอยากตั้งข้อสังเกตและส่งเสียงดัง ๆ ก็คือ ธนาคารภายใต้กำกับของรัฐบาลทั้งหลาย หากต้องการช่วยเหลือลูกหนี้อย่างจริงใจ ทำไมไม่ออกมาตรการพักหนี้สำหรับลูกหนี้ชั้นดีที่ไม่เคยผิดนัดชำระไปเลย ถือว่าเป็นการตอบแทนหรือให้โบนัสลูกค้าที่ดีของธนาคารสัก 3 – 6 เดือน โดยอาจจะมีเงื่อนไขว่าห้ามรีไฟแนนซ์ไปที่ธนาคารอื่นหลังจากนี้สักช่วงเวลาหนึ่งก็ได้ รับรองว่าธนาคารจะได้ใจลูกค้าและประชาชนไปเต็ม ๆ แน่นอนครับ

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า