Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

คุณกฤษณ์ จันทโนทก ประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ของธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) แถลงวิสัยทัศน์ใหม่ “Digital Bank with Human Touch” ตั้งเป้า SCB สู่การเป็น Digital Bank (ธนาคารดิจิทัล) อย่างเต็มรูปแบบ ให้บริการลูกค้าไร้รอยต่อ 
นอกจากนี้ ยังเตรียมลุยธุรกิจบริหารความมั่งคั่งเพื่อเป็นผู้นำตลาดนี้ให้ได้ในอนาคต พร้อมดึงกลุ่มคนชนชั้นกลางที่มีศักยภาพเข้ามาเป็นลูกค้าให้มากขึ้น 

SCB กำไรโต บริการดิจิทัลและสินเชื่อ ติดท็อปประเทศ

ปี 2022 ที่ผ่านมา กำไรของ SCB เติบโตต่อเนื่อง 52% (YoY) จากการบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ และเน้นไปที่การให้บริการผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล โดยปีนี้ยังคงดันเป้าหมายนี้ให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น เพราะธนาคารจะก้าวไปสู่ Digital Bank อย่างเต็มตัว

จากจุดแข็งของ SCB อยู่ภายใต้ยานแม่ SCBX และถือเป็นหน่วยธุรกิจหลักที่มีความสำคัญมากของกลุ่ม และเป็น Universal Bank ที่ให้บริการลูกค้าอย่างครบวงจร ครองความเป็นผู้นำตลาดในกลุ่มผลิตภัณฑ์ต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น สินเชื่อที่อยู่อาศัยและธุรกิจ Bancassurance ซึ่งปัจจุบันครองอันดับ 1 ในประเทศ นอกจากนี้ ยังครองอันดับ 3 ในกลุ่มสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ สินเชื่อธุรกิจเอสเอ็มอี สินเชื่อลูกค้ารายย่อย และทางด้านการบริหารความมั่งคั่ง 

เช่นเดียวกับแอป SCB connect ก็ติดอันดับ 3 แอปธนาคารที่มีผู้ใช้มากที่สุดในประเทศไทย ผู้ใช้สามารถทำธุรกรรมต่างๆ และกู้สินเชื่อผ่านแอปได้อย่างสะดวกสบาย ซึ่ง  SCB ตั้งใจจะพัฒนาให้เป็น Universal App ต่อไปในอนาคต 

3 เรื่องหลัก วิสัยทัศน์ใหม่ Digital Bank – บริหารสินทรัพย์ – บริการไร้รอยต่อ

SCB มองว่า Market Trend ที่จะเกิดขึ้นต่อจากนี้ มีทั้งหมด 3 เทรนด์ ได้แก่ 

  • เทรนด์การแข่งขันการให้บริการด้านการเงินดิจิทัล ทั้งในกลุ่มธนาคารและ Tect Company จะเข้มข้นมากยิ่งขึ้น 
  • ลูกค้าทุกช่วงวัย ทุกสาขาอาชีพ ต้องการบริการที่หลากหลาย โดยใช้บริการผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกที่ ทุกเวลา 
  • ทุกองค์กรต้องให้บริการลูกค้าแบบ End to End หรือให้บริการแบบครบวงจร ทำให้ธนาคารต้องพัฒนาโปรดักส์และบริการให้เหมาะสมมากที่สุด

จากเทรนด์ดังกล่าว สอดคล้องไปกับวิสัยทัศน์ใหม่ของ SCB ที่ต้องการเป็น A Better Bank หรือธนาคารที่ดีขึ้นในทุกๆ ด้าน และ ‘เป็นมากกว่าธนาคาร’ ทำให้ลูกค้าเข้าถึงง่ายในทุกช่องทาง พร้อมทั้งใช้ข้อมูลที่มีอยู่ สร้างผลิตภัณฑ์และบริการได้อย่างตรงจุด คุณกฤษณ์ จันทโนทก ได้แถลง 3 เรื่องหลักที่จะนำทางธุรกิจให้สำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ภายใต้แผน 3 ปี ได้แก่

1) SCB จะเป็น Digital Bank อย่างเต็มตัว แม้ปัจจุบัน บริษัทเทคโนโลยีจำนวนมากจะกระโดดเข้ามาเล่นในธุรกิจนี้กันมากขึ้น แต่ความได้เปรียบของ SCB เป็นบริษัทที่มีความมั่นคง มีประสบการณ์ยาวนาน เข้าใจตลาดเป็นอย่างดี และมีฐานการเงินที่แข็งแรง ดังนั้นลูกค้าสามารถมั่นใจในโปรดักส์ของ SCB ได้ 

2) SCB จะเป็นเจ้าตลาดทางด้านบริหารความมั่งคั่ง (Wealth Management) โดยจะขยายบริการนี้ดูแลลูกค้าทุกกลุ่ม ซึ่งปัจจุบันพบว่าธุรกิจบริหารความมั่งคั่ง ยังไม่มีใครเป็นเจ้าตลาดอย่างจริงจัง แต่ในอนาคตจะเติบโตอีกมาก ทำให้ SCB ตั้งเป้าที่จะก้าวไปสู่การเป็นเจ้าตลาดให้ได้ 

3) SCB จะให้บริการแบบไร้รอยต่อให้แก่ลูกค้า ในทุกช่องทาง (Omni-Channel) ตอบโจทย์ลูกค้าทุกกลุ่ม ไม่ใช่แค่บริการด้านดิจิทัล แต่จะให้บริการในรูปแบบสาขาของธนาคาร ที่มีพนักงานคอยดูแลอย่างใกล้ชิด  

SCB มองเศรษฐกิจปีนี้โต เตรียมจับกลุ่มลูกค้าชนชั้นกลาง

ผู้บริหาร SCB มองว่า ปี 2566 นี้ เศรษฐกิจจะฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะเศรษฐกิจของอาเซียน จะเติบโตได้ราว 4-5% ส่วนเศรษฐกิจไทยปีนี้ จะขยายตัวราว 3% ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสถานการณ์โควิด 19 ที่ดีขึ้น และมาตรการผ่อนตลายของจีนที่เริ่มเปิดประเทศแล้ว 

ปัจจัยบวกด้านเศรษฐกิจ ช่วยเร่งการเติบโตในกลุ่มลูกค้าทั้งรายย่อยและลูกค้าธุรกิจ ธนาคารเห็นโอกาสที่ดีที่จะเข้าไปช่วยบริหารความมั่งคั่งให้แก่ลูกค้าทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าชนชั้นกลางที่มีศักยภาพ (Emerging Wealth) ลูกค้ากลุ่มนี้มีสัดส่วนมากขึ้นเรื่อยๆ เห็นได้จากชนชั้นกลางในอาเซียนที่คาดการณ์ว่าจะเพิ่มเป็น 65% ในอีก 10 ปีข้างหน้า คนกลุ่มนี้ถนัดการใช้เครื่องมือดิจิทัล และต้องการบริการทางการเงินที่ตอบโจทย์ครบวงจร  นับว่าเป็นสัญญาณที่ดี และเป็นโอกาสของธนาคารที่จะกำหนดแนวทางธุรกิจให้สอดคล้องกับลูกค้ากลุ่มนี้ ผ่านการนำแพลตฟอร์มดิจิทัลเข้ามาใช้ ทั้งแนะนำบริการการลงทุน ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ และทำธุรกรรมที่มีความสะดวกสบาย

ส่วนผลลัพธ์ในระยะยาวที่น่าจะได้เห็นต่อจากนี้ SCB ตั้งเป้าจะเป็นธนาคารหลักอันดับ 1 ของลูกค้าในประเทศไทย ดูแลสินทรัพย์มากที่สุด ครองส่วนแบ่ง Wealth Wallet Share อันดับ 1 ภายในปี 2025  ส่วนปี 2023 นี้ จะสร้างผลตอบแทนให้ผู้ถือหุ้น (ROE) มากกว่า 10% และจะลดค่าใช้จ่ายต่อรายได้จองบริษัท เพื่อคุมต้นทุนให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ที่ตั้งเป้าไว้อยู่ที่ประมาณ 40% ดันให้ธนาคารก้าวไปสู่การใช้ดิจิทัลให้เร็วขึ้น และหากปรับองค์กรให้เป็นดิจิทัลครบวงจรได้ตามแผน 5 ปีแล้ว ธนาคารจะลดอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ต่ำกว่า 40% พร้อมผลักดันสินเชื่อ Green Finance เพิ่มอีก 1 แสนล้านบาท ตามแผนด้านความยั่งยืน (ESS) 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า