Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

SCB EIC ฉายภาพสถานการณ์และแนวโน้มของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยในปีนี้ ตลอดปีจะต้องเผชิญหน้ากับ ‘ความไม่แน่นอน’ และสถานการณ์เงินเฟ้อในไทยอาจกดดันผู้มีรายได้น้อย หนี้สูง ให้เป็นหนี้นานและต้องพึ่งงานนอกจากระบบ

1 – SCB EIC อธิบายก่อนว่า สถานการณ์ ‘เศรษฐกิจโลก’ ในปีนี้จะ ‘ขยายตัวชะลอลง’ เพราะนโยบายการเงินตึงตัวต่อเนื่องและตลาดแรงงานที่อ่อนแอลง บวกกับสถานการณ์ ‘ความไม่แน่นอน’ รอบด้าน 

2 – ‘ความไม่แน่นอน’ มาจาก 2 เรื่องหลัก หนึ่ง คือ การเลือกตั้งใหญ่ใน 60 ประเทศทั่วโลกที่มีขนาดเศรษฐกิจรวมกว่า 60% ของโลก และสอง คือ การขนส่งสินค้าทางเรือที่แออัด ทำให้ต้องปรับเส้นทางเดินเรือ จนระยะเวลาการเดินทางและต้นทุนขนส่งสูงขึ้น 

3 – ขณะที่ ‘ธนาคารกลาง’ ในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลักมีแนวโน้มจะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในไตรมาส 2 จากเงินเฟ้อที่มีทิศทางชะลอลง 

ด้าน ‘จีน’ มีแนวโน้มผ่อนคลายนโยบายการเงินต่อเนื่องผ่านการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายและอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมาย ขณะที่ ‘ญี่ปุ่น’ มีแนวโน้มยุตินโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบปีนี้

[ เศรษฐกิจไทย กับ ความท้าทาย ]

4 – ย้อนกลับมาดู ‘เศรษฐกิจไทย’ SCB EIC เชื่อว่า มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องในไตรมาสแรกของปี 2567 จาก ‘การบริโภคภาคเอกชน’ เพราะความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับดีขึ้น 

ประกอบกับมาตรการลดค่าครองชีพและโครงการ Easy e-receipt กระตุ้นการใช้จ่าย (แม้ผลบวกของโครงการนี้อาจไม่มากเท่าในอดีต เพราะการจำกัดเงื่อนไขให้เฉพาะร้านที่ออก e-Tax Invoice ได้)

5 –  โดย ‘เศรษฐกิจไทย’ จะยังมีแรงหนุนจากการฟื้นตัวของ ‘การท่องเที่ยว’ และ ‘การส่งออก’ ที่กลับมาขยายตัวได้ รวมถึงการผลิตในบางอุตสาหกรรมที่เริ่มฟื้น เช่น อิเล็กทรอนิกส์

6 – ส่วน ‘ปัจจัยกดดัน’ เศรษฐกิจไทยในระยะต่อไปมาจากการประกาศใช้ พ.ร.บ. งบประมาณฯ ปี 2567 ล่าช้า กดดันการลงทุนภาครัฐในช่วงครึ่งปีแรก 

7 – รวมถึงความไม่แน่นอนจาก ‘ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์’ โดยเฉพาะความเสี่ยงใหม่ใน ‘ตะวันออกกลาง’ ที่อาจกระทบการขนส่งทางทะเล และทำให้ห่วงโซ่อุปทานโลกชะงักได้อีก 

8 – ส่วน ‘เงินเฟ้อไทย’ แม้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะติดลบต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาส 4 ปีก่อน แต่ส่วนใหญ่เป็นผลจากมาตรการช่วยค่าครองชีพประชาชน

9 – SCB EIC ประเมินว่า ประเทศไทยยังไม่เข้าสู่ ‘ภาวะเงินฝืด’ เพราะเงินเฟ้อติดลบยังไม่กระจายตัวรายสินค้าเป็นวงกว้าง และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังเป็นบวก 

10 – ในอนาคต ‘เงินเฟ้อ’ มีโอกาสปรับขึ้นและกดดันปัญหาหนี้ครัวเรือนไทยที่ยังอยู่ในระดับสูงและรายได้กลุ่มเปราะบางฟื้นช้า

[ คนรายได้น้อยมีหนี้เพิ่ม มีหนี้นาน และพึ่งงานนอกระบบ ]

11 – สถานการณ์หนี้ครัวเรือนไทยยังน่ากังวลสอดคล้องกับผลสำรวจ SCB EIC Consumer survey 2023 พบว่า “กลุ่มคนรายได้น้อยเผชิญปัญหาหนี้สินเพิ่มขึ้นหลังวิกฤตโควิดและยังมีปัญหารายได้ไม่พอรายจ่ายอยู่มาก”

12 – โดยผู้มีรายได้น้อยกว่า 1 ใน 3 ประกอบอาชีพอิสระ/รับจ้างทั่วไป มีแนวโน้มเป็นแรงงานนอกระบบที่รายได้ไม่มากและเข้าไม่ถึงระบบประกันสังคม 

13 – ประกอบกับกลุ่มนี้มีวิธีบริหารจัดการหนี้ที่ยังไม่ดีนัก จึงพึ่งพาหนี้นอกระบบสูง และมีแนวโน้มติดอยู่ในวงจรหนี้อีกนาน 

14 – จึงต้องอาศัย ‘นโยบายระยะสั้น’ เพิ่มสภาพคล่องและแก้หนี้ให้กลุ่มครัวเรือนเปราะบาง ควบคู่กับ ‘นโยบายระยะยาว’ เพิ่มภูมิคุ้มกันคนไทย เช่น ปรับทักษะช่วยยกระดับรายได้ยั่งยืน เพิ่มสัดส่วนแรงงานทำงานในระบบให้เข้าถึงสวัสดิการประกันสังคม และเสริมความแข็งแกร่งทางการเงินส่วนบุคคล

[ แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยโยบาย คาดคงที่ 2.5% ตลอดปี ]

16 – นอกจากนั้น SCB EIC คาดว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายจะคงอยู่ที่ระดับ 2.5% ตลอดปีนี้ เนื่องจาก กนง. มองว่าเป็นระดับที่เหมาะสมกับแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจและเอื้อให้เงินเฟ้ออยู่ในกรอบเป้าหมาย อีกทั้ง ยังสื่อสารสนับสนุนให้ใช้มาตรการเฉพาะจุดและแนวทางแก้ปัญหาหนี้อย่างยั่งยืนในการดูแลกลุ่มเปราะบางที่ฟื้นตัวช้า

ส่วน ‘ค่าเงินบาท’ ที่อ่อนค่าเร็วในช่วงต้นปี เป็นผลจากเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าตามมุมมอง Fed ลดดอกเบี้ยช้าลงกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ และความเชื่อมั่นนักลงทุนในตลาดทุนที่ยังไม่ค่อยดีนัก มุมมองเงินบาทในระยะต่อไปคาดว่าจะแข็งค่าต่อเนื่องได้สู่ระดับ 32-33 ณ สิ้นปีนี้

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า