Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

‘เอสซีจี แพคเกจจิ้ง’ ตั้งงบลงทุนด้าน ESG ในปีนี้ไว้สูงถึง 5,000-6,000 ล้านบาท เพื่อเป้าหมายสูงสุดในการเป็นองค์กร Net Zero

‘วิชาญ จิตร์ภักดี’ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP เปิดเผยถึงการลงทุนในปี 2566 ว่า ในปีนี้ บริษัทฯ ตั้งงบลงทุนไว้ที่ 18,000 ล้านบาท

แบ่งเป็นงบที่ใช้ในการควบรวมกิจการกับพันธมิตรชั้นนำศักยภาพสูง (M&P) 9,000 ล้านบาท และงบที่ใช้ในการลงทุนขยายกำลังการผลิตอีกประมาณ 3,300 ล้านบาท

แต่จุดที่น่าสนใจคือ SCGP ตั้งงบลงทุนด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) ไว้สูงถึง 5,000-6,000 ล้านบาท ซึ่งซีอีโอของบริษัทฯ อธิบายว่า

สำหรับ SCGP เป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ถือเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งแผนด้าน ESG ในปีนี้ บริษัทฯ วางเป้าหมายจะเพิ่มสัดส่วนการใช้บรรจุภัณฑ์พอลิเมอร์ที่รีไซเคิลได้ให้มากขึ้น

นอกจากนี้ SCGP ยังมีแผนเพิ่มสัดส่วนการใช้วัตถุดิบรีไซเคิลในการผลิตให้มากขึ้น รวมถึงแผนการเพิ่มปริมาณการใช้พลังงานทางเลือก และปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า

โดยตั้งเป้าว่า ภายในปี 2568 บริษัทฯ จะสามารถหันมาใช้บรรจุภัณฑ์ที่รีไซเคิลได้ 100% และคาดว่าในปี 2593 จะสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ได้ตามเป้าหมาย

ทั้งนี้ SCGP ตั้งงบลงทุน 5 ปีไว้ที่ 100,000 ล้านบาท (2564-2568) เพื่อสนับสนุนเป้าหมายรายได้ให้เติบโตแตะ 200,000 ล้านบาทภายใน 2568

โดยในปี 2564-2565 บริษัทฯ ใช้เงินลงทุนไปแล้วประมาณ 37,000 ล้านบาท ในการลงทุนและขยายกำลังการผลิตในธุรกิจที่มีศักยภาพและมีโอกาสเติบโต

scgp-to-spend-18-billion-in-2023-6-billion-for-esg

เมื่อถามถึงภาพรวมอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ ซีอีโอของ SCGP กล่าวว่า ไตรมาสแรกของปี 2566 มีแนวโน้มที่ดีขึ้น จากปัจจัยบวกที่จีนเริ่มเปิดประเทศ โดยเฉพาะภูมิภาคอาเซียนที่จะได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว การนำเข้าและส่งออก

ขณะที่ห่วงโซ่การผลิตในอุตสาหกรรมต่างๆ คาดว่าจะกลับสู่ภาวะปกติ ส่งผลดีต่อภาพรวมเศรษฐกิจและการจับจ่ายใช้สอยสินค้า ซึ่งจะทำให้เกิดความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์เพิ่มขึ้น

ถึงอย่างนั้น ในไตรมาสแรกก็ยังมีความท้าทายจากเศรษฐกิจทั่วโลกที่ผันผวนต่อเนื่อง แรงกดดันด้านเงินเฟ้อซึ่งอยู่ในระดับสูง และการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ย

นอกจากนี้ ความสามารถในการใช้จ่ายของผู้บริโภคลดลงในหลายภูมิภาค เช่น กลุ่มสหภาพยุโรปและประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ ซึ่งเป็นฐานลูกค้าใหญ่ของภาคธุรกิจการส่งออกของอาเซียน

อย่างไรก็ตาม SCGP ได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และพร้อมรับมือกับความต้องการบรรจุภัณฑ์ที่มีแนวโน้มสูงขึ้นจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

สำหรับรายได้ในปีนี้ SCGP ตั้งเป้าหมายที่ 160,000 ล้านบาท โดยคาดว่าจะทำได้ตามเป้าหาายจาก 5 กลยุทธ์หลัก ได้แก่

1. การสร้างการเติบโตจากการ M&P และการขยายธุรกิจบรรจุภัณฑ์และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง และมองโอกาสขยายสู่ธุรกิจอื่นๆ ที่มีศักยภาพสูง โดยเน้นกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค กลุ่มสินค้าเพื่อสุขภาพ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร วัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ และผสานความร่วมมือทางธุรกิจระหว่างบริษัทย่อย (Synergy)

ด้วยการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เทคโนโลยี การขยายฐานลูกค้าและจัดหาวัตถุดิบ เพื่อยกระดับขีดความสามารถการดำเนินงาน โดยตั้งงบประมาณการลงทุนในปีนี้ที่ 18,000 ล้านบาท

เบื้องต้นคาดว่าจะเห็นความชัดเจนของดีล M&P ในครึ่งแรกของปีนี้ 1 ราย ส่วนในครึ่งหลังของปี 2566 คาดหวังอย่างน้อยอีก 1 ราย เพื่อให้ตรงตามเป้าหมายของบริษัทฯ ที่ตั้งเป้า M&P ต่อเนื่องปีละ 2 ราย

2. การพัฒนานวัตกรรมและโซลูชันด้านบรรจุภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง และร่วมมือกับลูกค้าในการพัฒนานวัตกรรมและโซลูชันบรรจุภัณฑ์ที่เพิ่มคุณค่าและตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค ด้วยงบประมาณและค่าใช้จ่ายเพื่อการวิจัยและพัฒนา 800 ล้านบาท

3. การยกระดับประสิทธิภาพในการดำเนินงานของทั้งห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain integration) ด้วยการนำระบบอัตโนมัติ (Automation) มาใช้ในการวิเคราะห์ คาดการณ์ และเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิตและผลิตผล และการใช้ Data Analytics เพื่อสร้างความแข็งแกร่งด้านข้อมูลตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน (End-to-End)

4. การวางแผนบริหารจัดการเชิงรุกเพื่อรับมือกับความไม่แน่นอน การวางแผนบริหารความเสี่ยงในช่วงที่ภาวะดอกเบี้ยยังเป็นขาขึ้น การบริหารจัดการเงินสด และงบประมาณการลงทุน (CAPEX)

โดยปีนี้ บริษัทฯ มีแผนจะออกหุ้นกู้เพิ่มเติม หลังจากเสนอขายหุ้นกู้ครั้งล่าสุดไปเมื่อปลายปี 2565 มูลค่า 15,000 ล้านบาท เบื้องต้นคาดว่าจะเห็นความชัดเจนภายในไตรมาส 2 ของปี 2566

ภายใต้กลยุทธ์นี้ SCGP ยังมีการกระจายฐานลูกค้าหลากหลายประเทศและกลุ่มอุตสาหกรรม การมองหาตลาดใหม่ในแถบตะวันออกกลาง เอเชียใต้ และแอฟริกาใต้

 5. ขับเคลื่อนธุรกิจด้วยแนวคิด ESG 4 Plus โดยมีเป้าหมายและแผนปฏิบัติการที่ชัดเจนที่จะเพิ่มสัดส่วนบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างที่ได้กล่าวไปแล้ว

สำหรับผลการดำเนินงานปี 2565 บริษัทฯ มีรายได้จากการขาย 146,068 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18% จากปีก่อน ผลจากการวางกลยุทธ์ขยายกำลังการผลิตและการควบรวมกิจการกับพันธมิตร

การรับรู้รายได้เต็มปีจากการรวมผลประกอบการของบริษัทที่ M&P ได้แก่ Duy Tan, Intan Group และ Deltalab การรับรู้รายได้บางส่วนจาก Peute และ Jordan รวมถึงการปรับราคาสินค้าให้สอดคล้องกับต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น

ส่วนกำไรจากการดำเนินงานของบริษัทก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) อยู่ที่ 19,402 ล้านบาท ลดลง 8% จากปีก่อน ขณะที่กำไรสุทธิสำหรับปีอยู่ที่ 5,801 ล้านบาท ลดลง 30% จากปีก่อน

ทั้งนี้ เป็นผลจากต้นทุนพลังงานที่สูงขึ้น รวมถึงการลดลงของปริมาณการขายและอุปสงค์กระดาษบรรจุภัณฑ์ทั่วโลกจากสถานการณ์เศรษฐกิจ และในภูมิภาคจากการล็อกดาวน์ของประเทศจีน

ขณะที่ไตรมาสที่ 4 ของปี 2565 บริษัทฯ มีรายได้จากการขาย 33,509 ล้านบาท ลดลง 5% EBITDA อยู่ที่ 3,554 ล้านบาท ลดลง 34% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และกำไรสุทธิ 450 ล้านบาท ลดลง 79% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

โดยเป็นผลจากความต้องการและราคาขายบรรจุภัณฑ์ในภูมิภาคที่ปรับตัวลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาขายกระดาษบรรจุภัณฑ์ในประเทศอินโดนีเซียและประเทศเวียดนาม

อย่างไรก็ตาม ความต้องการสินค้าในกลุ่มบรรจุภัณฑ์เพื่อการอุปโภคบริโภคของประเทศในภูมิภาคอาเซียน ทั้งบรรจุภัณฑ์กระดาษและบรรจุภัณฑ์พอลิเมอร์ เช่น บรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ยังเติบโตจากไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากการทยอยเปิดประเทศ

ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทมีมติให้เสนอที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นเพื่ออนุมัติการจ่ายเงินปันผลสำหรับผลการดำเนินงานของปี 2565 ในอัตราหุ้นละ 0.60 บาท

โดยบริษัทได้จ่ายเป็นเงินปันผลงวดระหว่างกาลไปแล้วในอัตราหุ้นละ 0.25 บาท เมื่อวันที่ 24 ส.ค. 2565 และจะจ่ายเงินปันผลงวดสุดท้ายในอัตราหุ้นละ 0.35 บาท ในวันที่ 24 เม.ย. 2566 ตามรายชื่อ ณ วันกำหนดรายชื่อผู้มีสิทธิรับเงินปันผลในวันที่ 5 เม.ย. 2566

โดยจะขึ้นเครื่องหมาย XD หรือวันที่ไม่มีสิทธิรับเงินปันผลในวันที่ 4 เม.ย. 2566

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า