SHARE

คัดลอกแล้ว

สารคดีเชิงข่าว ชุด “ SLAPPs ฟ้องปิดปาก ปิดเสียง” ทีมข่าวเวิร์คพอยท์นำเสนอเรื่องราวของ 4 บุคคล ใน 4 จังหวัดที่ลุกขึ้นมาปกป้องสิทธิ์จนถูกฟ้องในคดีต่างๆ

ตอนที่ 2 ออกอากาศวันที่ 27 ส.ค. 62 ไปที่จังหวัดปราจีนบุรี เรื่องราวของครอบครัวชื่นจิตรกับการต่อสู้เรียกร้องความเป็นธรรมในคดีตำรวจซ้อมทรมาน สู่การเป็นต้นแบบผลักดัน พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย

https://m.youtube.com/watch?v=6KrPlsVlEs0&feature=youtu.be

 

ฤทธิรงค์ ชื่นจิตร เหยื่อถูกซ้อมทรมาน

ลูก คือสิ่งเดียวที่เยียวยาสภาพจิตใจของนายฤทธิรงค์ ชื่นจิตร เหยื่อจากการถูกซ้อมทรมานเมื่อปี 2552  การคลุมถุงและทำร้ายร่างกายครั้งนั้น ทำให้ฤทธิรงค์ ป่วยเป็นโรค PTSD ตั้งแต่อายุ18 ปีจนถึงปัจจุบัน ฤทธิรงค์ไม่สามารถใช้ชีวิตสังคมนอกบ้านได้

เกือบ 10 ปี ครอบครัวชื่นจิตรเดินหน้าต่อสู้เรียกร้องความธรรม กระทั่งปี 2561 ศาลอุทธรณ์ภาค 2  มีคำพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นว่า นายฤทธิรงค์ถูกเจ้าหน้าที่ทำร้ายร่างกายจริง และมีคำสั่งจำคุกตำรวจ 1 นาย โดยให้รอลงอาญา

แต่ในระหว่างการพิจารณาศาลอุทธรณ์ ตำรวจนายหนึ่งในจำเลย 7 คนยื่นฟ้องนายฤทธิรงค์จากคำบรรยายฟ้องในศาลชั้นต้นในข้อหา เบิกความเท็จ ทั้งที่ การฟ้องนี้ขัดต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ระบุว่านายฤทธิรงค์เบิกความตามความจริง และตำรวจรายนั้นทำร้ายร่างกายจริงเพียงแต่ขาดอายุความ

10 ปีที่เดินหน้าต่อสู้คดีหลักแล้ว ระหว่างทาง ต้องก้าวสู้คดีแทรก มูลนิธิผสานวัฒนธรรมมองว่าฤทธิรงค์เข้าข่ายถูกฟ้อง SLAPPs เป็นการฟ้องกลับเหยื่อที่ลุกขึ้นเรียกร้องสิทธิ์ที่เขาถูกกระทำ

สมศักดิ์ ชื่นจิตร พ่อเหยื่อซ้อมทรมาน

สมศักดิ์ ชื่นจิตรผู้เป็นพ่อ พาดูอู่ซ่อมรถที่กลายเป็นอดีต เพราะได้ขายกิจการนำเงินมาต่อสู้คดี รวมถึงจำนองบ้านและที่ดิน 2 แปลง  ปัจจุบันเหลือเพียงร้านขายอะไหล่รถจักรยานยนต์เป็นแหล่งรายได้เดียวของครอบครัว

หลายครั้ง ที่ครอบครัวชื่นจิตรต้องท้อใจกับความยุ่งยากของคดี แต่ไม่ใช่เหตุผลที่จะทำให้เขาเลิกสู้

ครอบครัวชื่นจิตรกลายเป็นบรรทัดฐานพลเมืองต่อสู้คดีที่มีเจ้าหน้าที่รัฐใช้กลไกกฎหมายมายุติ ซึ่งเป็นวิธีปกปิดการซ้อมทรมาน

เช่นเดียวกับคณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล หรือ ICJ ให้ความสำคัญกับคดีนี้ โดยมาร่วมสังเกตการณ์ในวันนัดสืบพยาน เพราะครอบครัวชื่นจิตรจะเป็นต้นแบบในการผลักดัน พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย โดยเฉพาะข้อ13 ของอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน  รัฐมีหน้าที่คุ้มครอง ไม่ให้เหยื่อถูกข่มขู่คุกคามและมีสิทธิ์ร้องเรียนความเป็นธรรม

ข้อ 13   “รัฐภาคีแต่ละรัฐต้องประกันว่า ปัจเจกบุคคลที่อ้างว่าตนถูกทรมานในอาณาเขตใดก็ตามที่อยู่ภายใต้อำนาจของรัฐนั้น มีสิทธิที่จะร้องทุกข์เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจของรัฐนั้น ที่จะทำให้ได้รับการพิจารณาตรวจสอบโดยพลัน โดยปราศจากความลำเอียง โดยเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจของรัฐนั้น ให้ดำเนินขั้นตอนทั้งปวงเพื่อประกันว่า ผู้ร้องทุกข์และพยานได้รับความคุ้มครองให้พ้นจากการประทุษร้ายหรือการข่มขู่ให้หวาดกลัวทั้งปวงอันเป็นผลจากการร้องทุกข์หรือการให้พยานหลักฐานของบุคคลนั้น”)

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า