Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ช่วงนี้ใครเดินทางผ่านทางหลวงเห็นป้ายเขตแก้ง่วง” “โลมาเป็นปลาหรือไม่” “ฉลามวาฬเป็น ฉลามหรือวาฬ?” แล้วตามหาคำตอบไปอีกระยะหนึ่ง ก่อนถึงจุดพักรถ เป็นงานวิจัยที่กรมทางหลวง ร่วมกับจุฬาลงกรณ์ หวังลดอุบัติเหตุบนถนนจากการหลับใน 

นายภัทรพล สีดอกบวบ วิศวกรบริหาร กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม   เปิดเผยกับ สำนักข่าว TODAY ถึงกรณีการติดตั้งป้ายเตือนแก้ง่วง ที่กำลังเป็นที่สนใจในโลกโซเชียลขณะนี้ว่า เป็นโครงการศึกษาเพื่อป้องกันและลดผลกระทบจากอุบัติเหตุบนทางหลวงที่เกี่ยวเนื่องจากการขับขี่หลับใน โดยสำนักวิจัยและพัฒนางานทาง กรมทางหลวง ร่วมกับสถาบันขนส่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มี ศ.ดร.เกษม ชูจารุกูล เป็นที่ปรึกษาโครงการ 

วัตถุประสงค์โครงการต้องการศึกษาเพื่อป้องกันและลดผลกระทบจากอุบัติเหตุทางถนนทางหลวงที่เกี่ยวกับการขับขี่หลับใน มีเป้าหมายลดผลกระทบจากอุบัติเหตุบนทางหลวง เพราะที่ผ่านมาพบว่าอุบัติเหตุการหลับในเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ ส่วนการเลือกพื้นที่นำร่องคัดเลือกจากประวัติการเกิดอุบัติเหตุทางหลวงย้อนหลัง 3 ปี ที่พบอุบัติเหตุมากที่สุด 

นายภัทรพล กล่าวว่า การออกแบบป้ายก่อนติดตั้งผ่านการทดลองในห้องปฏิบัติการและทำการทดสอบก่อนในห้องปฏิบัติการโดยใช้เครื่องจำลองสถานการณ์ ร่วมกับอุปกรณ์วัดคลื่นสมอง (EEG) อุปกรณ์วัดอัตราการเต้นของหัวใจ กล้องตรวจจับพฤติกรรมและแบบสอบถาม สรุปผลที่ได้จากในห้องปฏิบัติการได้ทั้งหมด 3 มาตรการ 

โดย 3 พื้นที่นำร่อง ประกอบด้วย 1.ทางหลวงหมายเลข 304 ตอนควบคุม 301 สาลีสุพรรณบุรี 2.ทางหลวงหมายเลขที่ 1 ตอนควบคุม 301-302 ประตูน้ำพระอินทร์หนองแค จ.พระนครศรีอยุธยา 3.ทางหลวงหมายเลข 344 หนองรีคลองเขต จ.ชลบุรี 

นายภัทรพล กล่าวว่า โครงการนี้กำลังอยู่ในกระบวนการวิเคราะห์และสรุปผลถึงมาตรการที่มีประสิทธิภาพ คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณสิ้นเดือนธันวาคม 2565 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า