SHARE

คัดลอกแล้ว

Facebook เป็นสื่อสำคัญของคนทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศไทย กับจำนวนผู้ใช้ 54 ล้านบัญชี และวันที่ 19 สิงหาคม 2562 นี้ เวิร์คพอยท์จะออกอากาศรายการ Social Icon รายการเพื่อ “นักทำคลิปวิดีโอบน Facebook” ที่จะเป็นสะพานเชื่อมต่อจากโลกออนไลน์กลับมาสู่โทรทัศน์

ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง หลายคนมีโอกาสและช่องทางใหม่ๆ ในการสร้างสรรค์งานและผันตัวกลายเป็นดาวดวงใหม่ อย่างเช่น NAS Daily ที่ทำคลิปเพียงวันละ 1 นาที และต่อมาได้ปรับเป็น 3 นาที เพื่อให้เหมาะกับเนื้อหาบน Facebook และนั่นคือจุดเปลี่ยนของครีเอเตอร์บนโลกออนไลน์จาก “นักทำคลิปวิดีโอบน Facebook ” กลายเป็นเจ้าของบริษัทสื่อออนไลน์ สร้างรายได้มหาศาล

เราได้คุยกับ คุณชลากรณ์ ปัญญาโฉม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานดิจิทัลทีวีของ Workpoint Entertainment เพื่อไขข้อสงสัยต่างๆ เกี่ยวกับรายการ Social Icon นี้

 

Social Icon Thailand เกิดขึ้นได้อย่างไร ทำไมจึงร่วมมือกับ Facebook ในการจัดรายการ?

เวิร์คพอยท์มีความร่วมมือกับแพลตฟอร์มออนไลน์และสื่อสังคมออนไลน์กับทุกค่ายมาอย่างยาวนาน และ Facebook เป็นหนึ่งในนั้น สื่อประเภทวิดีโอเป็นงานคอนเทนต์ที่ได้รับความนิยมสูงในหมู่ผู้ชมชาวไทย อีกทั้งยังเหมาะกับนิสัยของคนไทยที่ชอบดูคลิปหรือวิดีโอต่างๆ เราจึงเล็งเห็นถึงพื้นที่การสร้างสรรค์ตรงนี้ จึงได้พัฒนากลายมาเป็นความร่วมมือกัน

ชลากรณ์ ปัญญาโฉม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานดิจิทัลทีวีของ Workpoint Entertainment

 

Online vs Offline ความท้าทายใหม่ของเวิร์คพอยท์

ที่ผ่านมา เวิร์คพอยท์เราทดลองมาตลอด และได้พบว่ามีบางอย่างที่สื่อทั้งสองแบบนี้ไปด้วยกันได้ บางอย่างก็ไปด้วยกันไม่ได้ อย่างเช่น The Mask Singer กับ I Can See Your Voice ซึ่งเป็นที่นิยมในโลกออฟไลน์ ซึ่งในโลกออนไลน์ก็จะนิยมไปด้วย แต่ก็มีบ้างเช่น The Rapper ที่นิยมในโลกออนไลน์มาก แต่ในโลกออฟไลน์ มีความนิยมอยู่ประมาณหนึ่ง

แต่รายการ Social Icon จะเป็นเรื่องของการทำให้ผู้ชมในโลกออฟไลน์เข้าใจว่า การทำวิดีโอบนโลกออนไลน์จะเป็นอย่างไรบ้าง มีกระบวนการอย่างไรบ้าง เราก็พยายามจะอธิบายโลกออนไลน์ไปสู่ออฟไลน์ ไม่ใช่แบบเรียลลิตี้โชว์ แต่จะเป็นการประกวดมากกว่า

นี่เป็นก้าวสำคัญ เพราะเป็นการทดสอบว่าสิ่งที่คนดูในโลกออนไลน์และออฟไลน์นั้นเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร รายการจะเล่าด้วยความบันเทิง ด้วยการประกวด มีการพูดคุย ตลกเฮฮา โดยมีแพลตฟอร์มอย่าง Facebook Watch ซึ่งเป็นแท็บการดูวิดีโอบน Facebook เพื่อให้ผู้ชมเข้าถึงและมีส่วนร่วมในเนื้อหาได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น

 

ในปัจจุบันที่สื่อแบบดั้งเดิม (Traditional Media) ถูกมองว่ากำลังจะตายหรือหมดพลังอำนาจไป การนำเอาเนื้อหาจากสื่อสังคมออนไลน์มา จะช่วยดึงความสนใจของคนให้กลับมาสนใจสื่อออฟไลน์หรือไม่ ?

ผมมองอย่างนี้ว่า ต้องดูเป้าหมาย (Objective) ของสื่อแต่ละประเภทประกอบกัน สื่อเก่า (Old media) ด้วยกันเองก็มีความต่างออกไป อย่างเช่นหนังสือพิมพ์ เป็นสื่อเก่าที่มีตัวกลาง ตัวกลางของสิ่งพิมพ์ในที่นี้หมายถึงสายส่ง และสายส่งมีอย่างจำกัด ขณะที่โทรทัศน์เราไม่มีตัวกลาง เรามีแค่ใบอนุญาต ซึ่งเปิดกว้างมากกว่า และยิงตรงไปถึงผู้ชม ส่วน ออนไลน์ ก็ส่งตรงไปถึงผู้ชมเลยเช่นกัน

พอสื่อออนไลน์เกิดขึ้นมา สิ่งแรกที่กระทบคือตัวกลาง ในโลกของสิ่งพิมพ์สิ่งที่หายไปก่อนเลยคือสายส่ง และนี่เป็นปัจจัยชี้ขาดสำหรับสื่อสิ่งพิมพ์ซึ่งกระทบไปหมด เพราะสายส่งหมดแรง ไม่ว่าจะเป็นร้านหนังสือ แผงหนังสือ แต่กับโทรทัศน์ไม่เคยมี สิ่งที่เราเจอคือการแข่งขันที่สูงขึ้น ทุกๆ คน สามารถส่งเนื้อหาตรงถึงผู้ชมได้กันทั้งหมดบนพื้นที่ออนไลน์

บนโลกออนไลน์ ใครก็ทำวิดีโอส่งให้เพื่อนดูได้ และสิ่งที่โทรทัศน์เจอก็คือเรื่องนี้ คือกิจกรรมที่เยอะเกินไปจนกระทั่งดึงสายตาของผู้ชมออกจากจอโทรทัศน์

สิ่งที่ผมมองไม่ใช่เรื่องของสื่อเก่าที่จะตาย แต่เป็นคนละพื้นที่ ตัวอย่างเช่น สินค้าบางประเภทอาจจะทำสื่อโฆษณาบนโลกออนไลน์แล้วอาจไม่ประสบความสำเร็จ แต่พอมาออกโทรทัศน์ แม้ในรายการที่เรตติ้งไม่สูงมากนัก กลับขายดีเป็นต้น ในทางกลับกัน โฆษณาบนสื่อออนไลน์บางชิ้น ก็เป็นที่นิยม จึงเป็นเรื่องของการที่เราจะใช้งานพื้นที่ไหนอย่างไรมากกว่า

นอกจากนั้นแล้วมันก็สามารถเอื้อซึ่งกันและกันได้ เช่น เวลาเราว่าง เราอาจจะเห็นความเคลื่อนไหวบนจอออนไลน์เกี่ยวกับรายการในสื่อแบบออฟไลน์ แล้วเราก็ไปดู หรือถ้าเราว่าง เราเข้าไปออนไลน์ซึ่งเป็นออฟไลน์แบบย้อนหลัง เลยคิดว่าเป็นเรื่องของการบริหารจัดการให้เป็นประโยชน์มากกว่า

เราต้องยอมรับว่า โลกออนไลน์มีค่าใช้จ่ายในการชมหรือรับสารพอสมควรโดยเฉพาะในประเทศไทย ที่ค่าอินเทอร์เน็ตยังเป็นปัญหา ความเหลื่อมล้ำในประเทศไทยมีสูง มันมีคนที่จ่ายไม่ไหวอยู่เยอะ อย่างเดือนละ 300 บาท ก็แทบจะดูวิดีโอแบบยาวๆ ไม่ได้เลย ยกเว้นว่าจะมีรัฐบาลหรือใครสักคนประกาศว่า อินเทอร์เน็ตทั่วประเทศราคา 0 บาท ถึงตอนนั้นเราอาจจะทดแทนกันได้ 100%

 

กรรมการมีใครบ้าง ? กระบวนการคัดเลือกเป็นอย่างไร ?

กรรมการประกอบไปด้วยคณะกรรมการที่หลากหลายประมาณ 10 คน เป็นคนที่คุ้นเคยกันทั้งในโลกโทรทัศน์ แล้วก็โลกออนไลน์ที่เป็นคนคุ้นหน้าคุ้นตาหมด รวมถึงคนดูที่จำลองตัวอย่างจากโลกออนไลน์มาประมาณ 100 กว่าคน ตามสัดส่วนของคนที่อยู่บนแพลตฟอร์ม Facebook

 

การตัดสินจะมาจากคะแนนเสียงนิยม (Popular vote)

เราใช้หลักการเดียวกับสื่อสังคมออนไลน์เลย วิดีโอทุกตัวในรายการจะถูกอัปโหลดขึ้น Facebook ทันทีที่จบรายการ แล้ววัดผลจากบนนั้น วัดประสิทธิภาพกันตามจริงเลย แล้วก็รายการจะมีการแชร์กัน เพื่อให้คนเห็น ก็จะมีคนช่วยกันแชร์ด้วย

 

3-5 นาที ขนาดกำลังดีกับรายการ Social Icon

เบื้องต้นเราเริ่มจากวิดีโอขนาดสั้นก่อน จากนั้นจึงจะเริ่มวิดีโอแบบยาว เหตุผลเพราะสามารถออนโทรทัศน์ได้พอไหว ถ้าสมมติส่งกันมาคนละ 10 นาทีก็ไม่ไหว ส่วนทำไมถึงเป็น 3 นาที เพราะเป็นตัวเลขที่กำลังพอดีกับการทำวิดีโอขนาดสั้น นอกจากนั้นแล้วเพราะเราเน้นการสนับสนุนการร่วมกันช่วยสร้างวิดีโอ การเริ่มจากวิดีโอขนาดสั้นก่อนจะทำให้เข้าใจง่าย ถ้าทำยาวจะอึดอัดกัน

 

สร้างสรรค์วิดีโอบน Facebook แบบไม่มีข้อจำกัด

Social Icon ไม่มีข้อจำกัดเลย ส่งมาได้ทุกรูปแบบ ขอให้แค่ไม่ใช่คลิปที่มีความรุนแรง และไม่ละเมิดศีลธรรมอันดีของสังคม ดังนั้น สิ่งที่เจอจึงไม่ใช่เรื่องของเนื้อหา แต่อาจมีบ้างที่ทำแล้วไม่ได้ส่งเพราะกลัวเรื่องการแข่งกันกันอยู่บ้าง เพราะสิ่งสำคัญของโลกออนไลน์คือ การบอกว่า มาลองกันเถอะ

กันต์ กันตถาวร รับหน้าที่พิธีกร Social Icon

สะพานของสองโลก สิ่งที่คนดูจะได้รับ นอกเหนือจากความบันเทิงและความสนุก

นอกจากความบันเทิงแล้ว ก็คงอยู่ที่สาระว่าเขาทำวิดีโอกันบนโลกออนไลน์ได้อย่างไร ผู้ชมจะได้เข้าใจว่า ถ้าต้องการทำวิดีโอออนไลน์ หรือถ้าจะต้องทำอาชีพการสร้างวิดีโอบนโลกออนไลน์ จะทำได้อย่างไรบ้าง จะหารายได้ในการทำวิดีโออย่างไร พอดูรายการแล้วจะได้มีหลักยึดว่าควรทำอะไร

 

รายการ Social Icon เตรียมจะฉายครั้งแรกทางเวิร์คพอยท์ช่อง 23 วันจันทร์ที่ 19 ส.ค.นี้ เวลา 20.05 น. ซึ่งจะเป็นรายการแรกที่ทางบริษัทร่วมมือกับเฟซบุ๊ก เพื่อที่จะส่งเสริมการผลิตวิดีโอบนแพลตฟอร์ม Facebook Watch อย่างเป็นทางการ โดยมีมูลค่ารางวัลรวมกว่า 1 ล้านบาท และมีผู้สนใจส่งคลิปวิดีโอเข้ามาประกวดอย่างมาก

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Social Icon | “เวิร์คพอยท์” เปิดรับสมัคร “นักทำคลิปวิดีโอบน Facebook” ชิงเงินรางวัลรวมหนึ่งล้านบาท

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า