Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กรณีเกิดกระแสหลังเพจแวดวง eSports ได้โพสต์เรื่อง ‘พี่แว่น’ เกมเมอร์ดัง พูดในไลฟ์ dmtv_tv จะไปสภาวันพุธ (เลื่อนเป็นวันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม) เป็นวันชี้ชะตาชาวเกมเมอร์ เพราะกำลังจะมีกฎหมายควบคุมเกม ออกมาใช้ควบคู่กับ พ.ร.บ e-Service (ครม.มีมติเห็นชอบร่างกฎหมาย เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2563) เพื่อเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ให้บริการเกมออนไลน์ต่างประเทศ ดึงรายได้เข้ารัฐ 3,000 ล้านบาท พร้อมยกตัวอย่างเรื่องสำคัญๆ ถ้ากฎหมายควบคุมเกมผ่าน อาทิ การจัดแข่งเกมต้องขออนุญาต เกม FPS ที่รุนแรงจะถูกแบน จนถึงการสตรีมมิ่งเกมห้ามเกินวันละ 2 ชั่วโมง

(ภาพจากเฟซบุ๊ก /  สันติ โหลทอง)

ทีมข่าว workpointTODAY ได้สอบถาม นายสันติ โหลทอง นายกสมาคมกีฬาอีสปอร์ตแห่งประเทศไทย ให้สัมภาษณ์ว่า ตนได้เข้าไปชี้แจงในกระบวนการร่างกฎหมายนี้ เป็นเวลา 2 ปีแล้ว ยืนยันไม่มีการแบนเกม แต่เป็นร่างกฎหมายเพื่อปกป้องคุ้มครองผลกระทบเยาวชน ถูกสร้างขึ้นมาสำหรับคนอายุต่ำกว่า 18 ปี มีการแยกประเภทจัดเรตติ้งเกมจริง เช่น เกมแนว FPS,  ROV จะเหมาะกับคนอายุเท่าไหร่

ส่วนเรื่องการห้ามสตริ่มมิ่งยังไม่มีเขียนในร่างกฎหมาย มีเรื่องการห้ามจัดแข่งเกมบางประเภทในสถานศึกษา กำหนดเวลาการเล่นเกมของเด็กไม่เกิน 3 ชั่วโมง และมีการพูดถึงสุขภาพของสตรีมเมอร์ที่นั่งต่อเนื่องเป็นเวลานาน ตรงนี้มีการพูดกันเหลือ 2 ชั่วโมง ซึ่งตนเสนอให้สตรีมเมอร์ 1 ชั่วโมงแล้วพัก เพื่อไม่ให้ติดต่อกัน 2 ชั่วโมง

ซึ่งขณะนี้ร่างกฎหมายอยู่ในขั้นตอน ที่จะมีการเสนอเข้ากรรมาธิการในสภา แต่ยังไม่รู้ว่าเป็นชุดใด แต่อยู่ดีๆ ก็มีกระแสว่าไม่ได้อย่ามาให้รัฐบาลออกกฎหมายอย่างนี้ เลยกลายเป็นประเด็นร้อน ไม่ใช่พฤติกรรมของเกมเมอร์ แต่เป็นส่วนได้เสียทางการเมือง

(ภาพจากเฟซบุ๊ก / ส.ส.นก กัลยา รุ่งวิจิตรชัย)

ด้าน น.ส.กัลยา รุ่งวิจิตรชัย ประธานคณะกรรมาธิการการสื่อสาร โทรคมนาคม และดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สภาผู้แทนราษฏร ที่ได้รับหนังสือจาก ดร. ธีรารัตน์ พันทวี วงศ์ธนะเอนก นายกสมาคมวิทยุและสื่อเพื่อเด็กและเยาวชน หนึ่งในเครือข่ายความร่วมมือเพื่อปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนในการใช้สื่อออนไลน์ 84 องค์กรทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 25 มิถุนายนที่ผ่านมา กล่าวว่า มีการนัดหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาหารือ หลังจากได้รับหนังสือจากเครือข่ายความร่วมมือเพื่อปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนในการใช้สื่อออนไลน์ 84 องค์กรทั่วประเทศ

โดยจะหารือให้ได้ข้อสรุป อาทิ แยกประเภทเกมว่า แบบไหนเป็นเกมสำหรับการศึกษา เพื่อความบังเทิง แบบใดอีสปอร์ต และจะพิจารณาด้วยว่า สมควรต้องมีการออกกฎหมายเข้ามาดูแลเรื่องนี้ด้วยหรือไม่ และหากจะมีกฎหมายควรจะมีหมายอย่างไร จึงจะสร้างสมดุลที่เหมาะสม

“ขณะนี้ยังไม่มีความคิดที่จะไปห้ามแคสเกมเกินสองชั่วโมงอย่างที่ลือกันไป กรรมาธิการฯ สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีอย่างแน่นอน เกมเป็นเหมือนดาบ จะใช้เพื่อป้องกันสร้างสรรค์ได้ จะใช้เพื่อทำลายก็ได้ แต่ขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุปจะออกกฎหมายอะไรทั้งนั้น การดูแลปัญหาเกมกับเยาวชน จะมีการประสานกันระหว่างสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา” น.ส.กัลยา กล่าว

(ภาพจากเฟซบุ๊ก / วัลลภ ครูหยุย ตังคณานุรักษ์)

ขณะที่ ครูหยุย วัลลภ ตังคณานุรักษ์ ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) สังคม กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภาในปัจจบุัน ซึ่งเคยเป็นประธานกรรมาธิการชื่อเดียวกันนี้ในสมัย สนช. เปิดเผยกับ workpointTODAY ว่า ในวุฒิสภามีการทำเรื่องออนไลน์ไปพร้อมกันๆ 3 – 4 เรื่อง หนึ่งในนั้นคือกฎหมายที่เกี่ยวกับสื่อออนไลน์ ซึ่ง ‘อีสปอร์ต’ เป็นส่วนหนึ่ง แต่ก็ได้ยินมาว่าจะมีการออกกฎหมายเฉพาะเพื่อดูแลป้องกัน

ซึ่งการออกกฎหมายในสภาปกติ ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปี คือเมื่อมีการยกร่างกฎหมายขึ้นมาต้องนำเข้าสู่คณะรัฐมนตรี (ครม.) จากนั้นเข้าคณะกรรมการกฤษฎีกา แล้วกลับเข้าครม.อีกครั้ง ครม.จึงส่งร่างเข้าสภา ส.ส. ผ่านการขั้นตอนต่างๆ ในสภา จึงจะมาถึง ส.ว. แต่ระหว่างที่ยังไม่มีกฎหมาย มาตรการที่สองฝ่ายจะช่วยกันดูแลได้ เคยมีร่างข้อตกลงร่วมกันแล้ว จะเป็นทางออกที่ดี ในการทำธุรกิจภายใต้ความรับผิดชอบต่อสังคม โดยวันที่ 10 กรกฎาคม ทางวุฒิสภาจะมีการสัมมนาเรื่องเกี่ยวกับสื่อออนไลน์ด้วย

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า