Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

เมื่อ climate change และการลดก๊าซเรือนกระจกเป็นวาระสำคัญของไทยและของโลก วงการวัสดุก่อสร้างพร้อมปูทางสู่ความยั่งยืน นำโดยสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA) รวมพลังกับพันธมิตรกว่า 30 หน่วยงาน ทั้งภาครัฐ ภาควิชาชีพ ภาคอุตสาหกรรม และภาคการศึกษา จับมือกันเดินหน้าลดโลกร้อน สร้างการเปลี่ยนแปลงมิติใหม่ ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีผลิต “ปูนลดโลกร้อน” หรือ “ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก” มอก. 2594 เพราะนอกจากจะลดก๊าซเรือนกระจก ลดโลกร้อนได้แล้ว ยังตอบโจทย์ทิศทางในระดับโลกอย่าง COP 27 และนำไทยไปสู่ “2024 Thailand’ s New Era of Low Carbon Cement”

workpointTODAY ชวนอ่านเรื่องราวของการเปลี่ยนแปลง “ปูนซีเมนต์”พาไทยเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ด้วยการร่วมมือกันหลายภาคส่วน

จากโลกร้อน สู่ปูนลดโลกร้อน

“เพราะปัญหาโลกร้อนนั้นรุนแรงและใกล้ตัวกว่าที่ทุกคนคิด ทั้งภัยพิบัติรุนแรง สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปจากที่เคยเป็น ฝนตก น้ำท่วม ฝนแล้ง ทุกคนล้วนได้รับผลกระทบ และส่งผลต่อผู้คนที่อยู่อาศัยในโลกใบนี้

ทำอย่างไรที่จะทำให้การดำเนินการในทุกกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ไม่ส่งผลกระทบทำให้อุณหภูมิโลกร้อนขึ้น โดยมีเป้าหมายควบคุมอุณหภูมิโลกให้เพิ่มขึ้นไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส ภายในสิ้นศตวรรษนี้”

นี่คือคำพูดของ ดร. ชนะ ภูมี นายกสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA) ที่กล่าวไว้อย่างน่าสนใจในงานวิศวกรรมแห่งชาติ 2565 พร้อมทั้งบอกว่า หนึ่งในทางออกที่สำคัญคือคำตอบเรื่องความยั่งยืน ซึ่งนั่นก็คือการเปลี่ยนผ่านมาสู่การใช้ “ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก” หรือ “ปูนลดโลกร้อน”

เพราะปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการผลิต ลดการเผาหินปูนซึ่งเป็นวัตถุดิบหลัก นำเทคโนโลยีด้านวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมเข้ามาใช้ ทำให้ “ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก” ช่วยลดการเกิดก๊าซเรือนกระจก โดยยังคงคุณลักษณะตามมาตรฐาน มอก. 2594 นำไปสู่การวางมาตรฐานวิศวกรรมงานก่อสร้างให้นำมาใช้แทนปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ในทุกประเภทงานก่อสร้าง

เสียงจากพันธมิตรภาคส่วนต่างๆ สู่ความพร้อมในการใช้ปูนลดโลกร้อน

ดร.ธเนศ วีระศิริ นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) กล่าวว่า “วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นสมาคมที่เก่าแก่ที่สุดของด้านวิศวกรรม เชื่อว่าเราสามารถที่จะผลักดันองค์ความรู้ต่างๆ รวมทั้งชักนำให้วิศวกรทั่วประเทศได้รับทราบว่า ตอนนี้เราจะมาช่วยกันลดโลกร้อน ดังนั้นการออกแบบอาคารต่างๆ เราสามารถที่จะใช้ปูนซีเมนต์ประเภทใหม่ได้ นั่นคือปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก ตรงนี้สำคัญมากเลยที่หลายฝ่ายทั้งช่วยกันพูด ช่วยกันทำ ช่วยกันให้ความเห็น ซึ่งเราก็ให้ความเห็นในส่วนที่เรามีพี่น้องเครือข่ายของเราที่เป็นวิศวกรทั่วประเทศ และเรายังสื่อไปให้ประชาชนทราบด้วย”

ส่วนด้านของ ศาสตราจารย์ ดร. สมนึก ตั้งเติมสิริกุล หัวหน้าศูนย์วิจัยเทคโนโลยีก่อสร้างและบำรุงรักษา สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (SIIT) ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีคอนกรีตเบอร์ต้นๆ ของไทย กล่าวว่า “ในการผลิตปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกมีกระบวนการที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แต่คุณภาพของปูนซีเมนต์ไม่ได้ลดลงแต่อย่างใด ในทางกลับกัน จะดีขึ้นในบางมิติของการใช้งานอีกด้วย ปัจจุบันประเทศไทยมีการใช้ปูนซีเมนต์อยู่ที่ 20-30 ล้านตันต่อปี หากโครงการก่อสร้างต่างๆ เปลี่ยนมาใช้ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก จะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้หลายแสนตันต่อปี ภาคการศึกษาต้องช่วยกันสนับสนุนสร้างความรู้ความเข้าใจ การสร้างความมั่นใจในการนำไปใช้งาน รวมถึงการต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ปูนซีเมนต์ลดโลกร้อนชนิดใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาอย่างยั่งยืน”

รองศาสตราจารย์ ดร. สมิตร ส่งพิริยะกิจ ประธานสาขาวิศวกรรมโยธา วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ว่า “วสท. ได้ปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานวิศวกรรมงานก่อสร้าง วสท. 011014-19 และส่งเสริมให้มีการใช้งานปูนลดโลกร้อนอย่างเป็นรูปธรรม โดยสะท้อนภาพว่า ที่ผ่านมาการสร้างการเปลี่ยนแปลงจะถูกขับเคลื่อนโดยความต้องการของผู้บริโภค แต่การขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงนำปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกมาใช้เพื่อลดโลกร้อน เป็นการขับเคลื่อนที่มาจากผู้ผลิต นับเป็นผู้นำสร้างการเปลี่ยนแปลง เข้าไปหารือกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาควิชาชีพ ภาคอุตสาหกรรม และภาคการศึกษา วสท. จึงยินดีให้การสนับสนุนส่งเสริมการใช้งานปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก เพื่อช่วยให้ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม”

เสียงจากพันธมิตรภาครัฐ สู่ความพร้อมในการใช้ปูนลดโลกร้อน

มุมมองของภาครัฐจาก นายจิรวัฒน์ ระติสุนทร รองเลขาธิการ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ข้อมูลอย่างชัดเจนว่า ตามเจตนารมณ์ของไทยที่ต้องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 40% ภายในปี ค.ศ. 2030 (พ.ศ. 2573) และตั้งเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ในปี ค.ศ. 2050 (พ.ศ. 2593) และปลดปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ในปี ค.ศ. 2065 (พ.ศ. 2608) คือการปรับปรุงแก้ไขอุตสาหกรรมที่ส่งผลกระทบสูงที่สุดคือ “ภาคพลังงานและการขนส่ง” ควบคู่กับสนับสนุนอุตสาหกรรมที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ คือ “ภาคอุตสาหกรรม และภาคการเกษตร”

สิ่งที่เกิดขึ้นนี้จึงเป็นการแสวงหาความร่วมมือที่ TCMA เริ่มด้วยการทำงานเชิงรุก ทั้งการสร้างความเข้าใจ การนำร่องให้หน่วยงานภาครัฐนำปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกมาใช้ อาทิ กรมชลประทาน กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท รวมถึงผลักดันให้เกิดการจัดซื้อจัดจ้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีส่วนช่วยให้ภาครัฐขับเคลื่อนการทำงานได้อย่างเป็นรูปธรรม

ทั้งนี้ สผ.หน่วยงานเดียวไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ ต้องมีทุกภาคส่วน ภาคประชาชน เอกชน รัฐ วิชาการ ต้องมีส่วนร่วมมือกัน ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ กำหนดมาตรฐาน นโยบาย กฎระเบียบและกฎหมาย ผู้ผลิต และผู้ใช้งาน เพื่อลูกหลานในอนาคต

ส่วนด้านของ นายกิติพงศ์ อติชาติพงศ์กุล นักวิชาการมาตรฐานชำนาญการพิเศษ กองกำหนดมาตรฐาน สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เล่าให้ฟังว่า “ในปัจจุบันทิศทางอุตสาหกรรมมุ่งเน้นที่กระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) การผลิตปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก ที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มีการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ คือ มอก. 2594 -2556 เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ใช้งาน ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐาน ASTM C1157 นอกจากนี้ สมอ. ได้ดำเนินการให้ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก มอก. 2594 -2556 สามารถใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์คอนกรีตประเภทต่างๆ ปัจจุบันใช้ได้แล้วกว่า 21 ผลิตภัณฑ์คอนกรีต รวมถึงคอนกรีตผสมเสร็จ และอีก 33 มาตรฐานอยู่ระหว่างการประกาศในราชกิจจานุเบกษา”

ดร.ธนิต ใจสอาด หัวหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนาอาคาร สำนักควบคุมและตรวจสอบอาคาร กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ในฐานะเป็นหน่วยงานที่อยู่ภายใต้กระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีนโยบายขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเพื่อความยั่งยืน  Change for Good กรมโยธาธิการและผังเมืองได้ดำเนินการแก้ไขมาตรฐานวิศวกรรมงานก่อสร้าง มยผ.1101-64 ถึง 1106-64 และลงนามความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการใช้งานของหน่วยงานราชการของกระทรวงมหาดไทยและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พร้อมทั้งนำร่องนำปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกไปใช้ในการก่อสร้างศูนย์ราชการกระทรวงมหาดไทย รวมถึงการส่งเสริมการใช้ไปยังโครงการอื่นๆ ภายใต้สังกัดกระทรวงมหาดไทยให้มากขึ้น ทั้งนี้ มีการตั้งคณะทำงานเข้าไปติดตามการนำปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกมาใช้ในการก่อสร้าง ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2565 เป็นต้นไป

ความร่วมมือนำไปสู่เป้าหมายลดโลกร้อน

ทั้งหมดนี้นับเป็นมิติใหม่ที่ TCMA ผู้ผลิตปูนซีเมนต์รวมตัวกันเป็นหนึ่ง และได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดียิ่งจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันผลักดันการลดโลกร้อน แสวงหาร่วมมือและลงมือทำอย่างจริงจัง ทั้งภาควิชาชีพที่สนับสนุนการรับรองมาตรฐาน มาสู่การใช้งาน

ด้านภาคอุตสาหกรรมเป็นผู้ผลิตที่ต้นกำเนิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ด้านภาคการศึกษาสนับสนุนการวิจัยรองรับการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมช่วยลดโลกร้อน ภาคประชาชนร่วมมือกันใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และภาครัฐเป็นผู้กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ นำร่องให้หน่วยงานในสังกัดเริ่มใช้ “ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก” ในโครงการก่อสร้างต่างๆ จึงนำไปสู่ความสำเร็จแรกในการบรรลุเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้กว่า 3 แสนตัน CO2 เมื่อสิ้นปี พ.ศ. 2564 ซึ่งเร็วกว่าเป้าหมาย NDC Roadmap ถึง 9 ปี

ความก้าวหน้าดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรมพร้อมผลตอบรับที่สำเร็จเร็วเกินคาด ทำให้อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ของประเทศไทยก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำอันดับ 1 ในการดำเนินการสอดคล้องกับทิศทางของโลก ไปสู่ Net Zero 2050 นอกจากนี้ มีการสร้างกลไกความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนสู่เป้าหมายความสำเร็จร่วมกัน มีการกำหนดมาตรฐาน กระบวนการนำปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก มาใช้ได้อย่างรวดเร็วและชัดเจนขึ้น จึงขยายความร่วมมือและตั้งเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่มากขึ้น ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนออกไซด์ให้ได้อีก 1 ล้านตัน CO2 ในปี พ.ศ. 2566 (เทียบเท่าไม้พื้นเมือง 110 ล้านต้นในการดูดซับ CO2) พาไทยเข้าสู่ศักราชใหม่ของปูนลดโลกร้อนต่อไป

ความร่วมมือลดโลกร้อน สู่ COP27

ทั้งหมดนี้คือความร่วมมือและการสนับสนุนของทุกภาคส่วนในการเปลี่ยนมาใช้ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก ถือเป็น ‘ต้นแบบ’ ของการสร้างกระบวนการขับเคลื่อนการลดอุณหภูมิโลกอย่างเป็นรูปธรรม ที่ TCMA สมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย พร้อมนำไปแลกเปลี่ยนกับสมาชิก GCCA (Global Cement and Concrete Association) องค์กรชั้นนำด้านซีเมนต์และคอนกรีต และประเทศต่าง ๆ ที่เข้าประชุม COP 27 ที่ประเทศอียิปต์ เพื่อแสวงหาความร่วมมือ ทั้งด้านเทคโนโลยี แหล่งทุน และอื่นๆ มาสู่ประเทศไทย ในการร่วมกันลดก๊าซเรือนกระจกให้บรรลุตามเป้าหมายต่อไป

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า