Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

‘เอสซีจี’ กลุ่มบริษัทชั้นนำในภูมิภาคอาเซียน ปัจจุบันมี 3 ธุรกิจหลัก แม้ว่าจะเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ดูมั่นคงและแข็งแกร่งตลอดการดำเนินธุรกิจมากว่า 100 ปี แต่ด้วยต้นทุนที่สูงจากจำนวนพนักงานรวมทั้งในไทยและอาเซียน ราว 5 หมื่นคน เฉพาะเงินเดือนที่ต้องจ่าย ก็กว่า 3 หมื่นล้านบาทต่อปีแล้ว ยังไม่รวมหนี้สินและงบฯ การลงทุน จากวิกฤตโควิด-19 ก็สร้างบทเรียนครั้งสำคัญให้เอสซีจี ได้เรียนรู้และประคองธุรกิจให้อยู่รอดได้ workpointTODAY ร่วมพูดคุยกับ ‘รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส’ กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี หรือ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ในหัวข้อ “ถอดบทเรียนรับมือวิกฤตครั้งใหญ่ รับมือการ Disruption” งาน THAILAND TOMORROW by workpointTODAY ทอล์คความรู้ฉีดวัคซีนเศรษฐกิจไทย เตรียมพร้อมเทคออฟเศรษฐกิจอย่างเข้มแข็ง

‘รุ่งโรจน์’ เริ่มเล่าตั้งแต่เอสซีจี เผชิญวิกฤตโควิด-19 ระลอกแรก ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2563 โดยสิ่งที่เอสซีจีทำสิ่งแรกคือ “ปรับตัว” และ “ศึกษาโควิด-19” จาก ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อนำข้อมูลทางการแพทย์ มาปรับใช้ในการวางแผนการรับมือในการดำเนินธุรกิจ ขณะเดียวกันคือปรับการประชุมให้ถี่ขึ้น จากเดือนละ 1 ครั้ง รวมการประชุมงบประมาณ และอื่น ๆ ราว 13-14 ครั้ง/ปี มาเป็นประชุมทุกสัปดาห์ โดยเน้นวาระเรื่องโควิด-19 กว่า 70-80% เพื่อดูผลกระทบกับธุรกิจ ซึ่งยึดปฏิบัติมาจนถึงทุกวันนี้

ในแง่ธุรกิจ สิ่งที่จำเป็นมากที่สุดคือความมั่นคงทางการเงิน ‘รุ่งโรจน์’ ยอมรับว่า ตอนนั้นที่คุยกัน หากสถานการณ์แย่ที่สุดคือไม่มีธุรกิจเลย และต้องอยู่บ้านกันหมดทุกคน ขอให้มีเงินพอจ่าย ‘เงินเดือนพนักงาน’ กว่า 5 หมื่นคนได้สัก 1 ปี รวมกว่า 4 หมื่นล้านบาท ขณะเดียวกันก็มี ‘หนี้’ ที่ต้องคืนหลักหมื่นล้าน ปีนี้ (2564) 5 หมื่นล้าน รวมแล้วเอสซีจี ต้องมีอย่างต่ำ 9 หมื่นล้านบาท ทำให้ในปีที่ผ่านมา เอสซีจี ต้องปรับแผนใช้จ่ายอย่างรัดกุม ไม่ได้ลงทุนอะไรใหม่เลย

“ตอนสิ้นปี 2019 เรามีเงินสดอยู่ประมาณ 3 หมื่นล้านบาท ก็ต้องทำ 3 หมื่นกว่าขึ้นมาเป็น 9 หมื่นล้านบาท ก็ต้องรัดกุม เงินลงทุนตอนนั้น ต้องใช้คำว่า zero-based คือเริ่มนับศูนย์กันใหม่ ทุกโครงการไม่ว่าจะทำอยู่หรือทำเกือบจบแล้ว ให้กลับมานั่งรีวิวทั้งหมด เรารีวิวไปหลายโครงการที่ทำอยู่หรือคิดอยู่ เราก็มาตัดสินว่าอะไรจะทำ อะไรที่ยังไม่ทำ บางโครงการเราพักไว้ก่อน”

กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี ระบุว่า ในภาวะวิกฤตสิ่งที่สำคัญมีสองเรื่อง คือ ทรัพยากร (เงิน, คน) และเวลา โดยเฉพาะ ‘เวลา’ สำคัญที่สุด เพราะหาคืนไม่ได้ ยกตัวอย่างเช่น เรื่องอีคอมเมิร์ซ เวลาที่ใช้ในการปรับธุรกิจ จากที่เคยขายของแบบเดิม ขายผ่านผู้จัดจำหน่าย ที่จะขายให้การขายปลีกต่ออีกที และเรื่องเวลาที่ใช้ในการพัฒนาดิจิทัล หรือพัฒนาระบบออนไลน์ จากคิดว่าวัสดุก่อสร้าง ทำตลาดออนไลน์ยาก ข้อจำกัดเรื่องน้ำหนักจะส่งยาก และเรื่อง installation มันไม่สามารถบอกออนไลน์ได้ ณ วันนั้น หากเอาเวลาไปกังวลเรื่องลดต้นทุน หรือทำอย่างอื่น ไม่ได้เอาทรัพยากรที่มีไปใช้พัฒนาระบบออนไลน์ ก็จะมาไม่ถึงจุดนี้ ซึ่งเป็นตัวอย่างว่า ‘ต้นทุนเวลาสำคัญ’ ขณะเดียวกันในภาวะวิกฤตเรื่องสำคัญของเวลาคือ ‘ต้องตัดสินใจเร็ว’ ‘รุ่งโรจน์’ เผยว่า เคล็ดลับของเอสซีจี คือ เลือกเรื่องที่จะตัดสินใจ ด้วยจัดลำดับความสำคัญ ฉะนั้นตัดสินใจเร็วเกิดขึ้นได้ จากการให้ลำดับความสำคัญเรื่องที่จะตัดสินใจ

“ฉะนั้นเราคิดว่าสิ่งที่เราผ่านมาได้ ด้านหนึ่งคือการปรับตัว ทำยังไงให้มีความมั่นคงด้านการเงิน อีกด้านหนึ่งคือพนักงาน ทำยังไงให้มีใจกับเรา เราเชื่อว่าถ้าพนักงานทุกคนมีความสุข ความปลอดภัย ก็สามารถที่จะทำงานที่ทำให้ลูกค้ามีความเชื่อมั่น ได้รับการบริการที่เหมาะสมได้ นี่คือสิ่งที่เป็นบทเรียนช่วงโควิดที่ผ่านมา”

เมื่อโควิดทำให้เกิดสถานการณ์ใหม่ บทเรียนสำคัญอีกอย่างที่เอสซีจี ได้เรียนรู้จากวิกฤตนี้ นั่นคือ การทำงานขององค์กรช่วงวิกฤต แบ่งได้ 2 อย่าง คือ “เรื่องที่ต้องทำ ไม่ทำไม่ได้” เช่น การปกป้องพนักงาน, เริ่มทำอีคอมเมิร์ซในช่วงวิกฤต โดยกลุ่ม must do (ต้องทำ) สำคัญมากที่สุด ต้องมีการตัดสินใจและเอาคนที่ตัดสินใจได้มาดูแล อีกส่วนคือ must plan สิ่งที่ต้องวางแผนไว้ทำทีหลัง ใช้แผนระยะสั้นแผน 6 เดือนมากกว่าแผนระยะยาว

“เราสังเกตนะว่าพอถึงช่วงวิกฤตใกล้หมด กลุ่ม must do จะน้อยลง มันจะไปหนักที่กลุ่ม must plan พอถึงสักพักหนึ่ง ก็จะกลับไปวงจรปกติ คือเป็นการทำธุรกิจปกติ เรื่องที่เป็น routine ก็ทำไป เรื่องที่วางแผนเราก็ทำ บางเรื่องเห็นผลระยะสั้น บางเรื่องเห็นผลระยะยาว เราคิดว่านี่คือสิ่งที่เรียนรู้ อีกสิ่งที่ไม่เคยเจอมาก่อน คือ การทำงาน ไม่เคยได้ยินคำว่า work from home มาก่อน”

ในช่วงที่พยายามประคองธุรกิจ ลดต้นทุน ควบคุมค่าใช้จ่าย สุดท้ายเอสซีจี ก็ยังมีนวัตกรรมที่มาอุดรูต่าง ๆ อยู่เบื้องหลังช่วยประคองวิกฤตโควิดอีกด้วย คือ นวัตกรรมปกป้องแพทย์-พยาบาล ลดเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 โดยทีมเอสซีจีใช้เวลา 2-3 สัปดาห์ในการพัฒนา ออกมาเป็นนวัตกรรมห้องแยกป้องกันเชื้อความดันลบ ที่ช่วยป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ เหมาะสำหรับการใช้ในห้องฉุกเฉิน (ห้องไอซียูโควิด หรือ Ward PUI) และนวัตกรรมห้องตรวจเชื้อความดันลบหรือบวกแบบเคลื่อนที่ สำหรับการตรวจเชื้อที่ปลอดภัยสำหรับทีมแพทย์และผู้ป่วย ซึ่งได้ส่งมอบให้โรงพยาบาลราชวิถี เป็นแห่งแรก และโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศในเวลาต่อมา

นอกจากนี้ รุ่งโรจน์ ยังเผยว่า ในปี 2564 เอสซีจีกำลังพัฒนานวัตกรรมเตียงกระดาษ รับน้ำหนักได้ 200 กก. สำหรับโรงพยาบาลสนาม และเสา ที่สามารถกางมุ้งได้ เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยและอำนวยความสะดวกทางการแพทย์

นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี

หากมองในภาพรวมเศรษฐกิจ ‘รุ่งโรจน์’ วิเคราะห์ว่า หลังจากทั่วโลกทยอยฉีดวัคซีนต้านโควิด สิ่งที่เห็นได้ชัดคือกลุ่มประเทศ แบ่งเป็น 2-3 กลุ่ม กลุ่มอเมริกา ยุโรป อังกฤษ ได้รับผลกระทบด้านสุขภาพมาก วัคซีนคือทางออกในการแก้ปัญหาสุขภาพ และจะเป็นกลุ่มประเทศที่ฟื้นตัวได้เร็ว อีกกลุ่มคือกลุ่มประเทศผลกระทบสุขภาพไม่มาก แต่มีผลกระทบเชิงเศรษฐกิจค่อนข้างมาก เช่น ไทย สิงคโปร์ เห็นเลยว่า GDP ติดลบ เช่น ไทย GDP ท่องเที่ยวประมาณ 10% พอไม่มีการท่องเที่ยว GDP ตรงนี้หายไป แต่จำนวนคนติดเชื้อจำนวนน้อย

“วัคซีนช่วยในแง่เศรษฐกิจ ถ้าเราไม่เปิดให้ท่องเที่ยวได้ หายไป 10% อยู่ระยะยาวไม่ได้ แม้ว่าจะช่วยในทุก sector แล้ว แต่ก็ไม่ยั่งยืน ฉะนั้นจะทำยังไงให้คนมั่นใจ สามารถเปิดประเทศได้อีกครั้งหนึ่ง วิธีที่ดีที่สุดคือใช้วัคซีนให้เกิดประโยชน์

ไทยเราต้องฉีดวัคซีนได้อย่างน้อย 70% ตอนนี้มี supply วัคซีนอยู่ที่ 50% ของประชากร ก็จำเป็นต้องฉีดให้ได้เร็วที่สุด แล้วเราจะมั่นใจได้มากขึ้น ยังมีอีก sector ที่แฝงอยู่ นั่นคือการลงทุน เศรษฐกิจที่จะอยู่ได้ต้องเกิดจากการใช้สอย และการลงทุน เมื่อไปลงทุนก็จะได้รายได้อะไรต่าง ๆ กลับมา อันนี้ถ้าเราไม่สามารถเปิดให้เข้ามาลงทุนสร้างโรงงาน ดูลู่ทางธุรกิจ ก็มาไม่ได้ ถ้าเราไม่มีความพร้อมก็ไม่ได้ ถ้าเราไม่เปิดตรงนี้ เศรษฐกิจก็เดินต่อไม่ได้”

อย่างไรก็ตาม รุ่งโรจน์ มองว่าเศรษฐกิจไทยผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว แต่คนส่วนใหญ่จะไม่รู้ว่า จากจุดต่ำสุดจะกลับไปใกล้เคียงเดิมใช้เวลานานแค่ไหน จุดที่สองคือวัคซีนจะทำให้กลับไปใกล้เคียงเดิมได้อย่างไร การฉีดวัคซีนให้เร็ว ทำ Vaccine passport เราก็สามารถเปิดประเทศได้ โดยรัฐบาลต้องหาจุดสมดุลระหว่างสุขภาพและเศรษฐกิจ

 

รับชม ‘รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส’ กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี ในงาน THAILAND TOMORROW by workpointTODAY ทอล์คความรู้ฉีดวัคซีนเศรษฐกิจไทย

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า