Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ในยุคที่เครื่องสำอางจากธรรมชาติกำลังเฟื่องฟู จากเทรนด์การดูแลสุขภาพยุคใหม่ THE BODY SHOP ร้านเครื่องสำอางที่ผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติเจ้าแรกของโลกกลับเข้าสู่ภาวะล้มละลาย จากปัญหาการเงินที่สะสมมาจากการเปลี่ยนมือเจ้าของถึง 3 ครั้ง

TODAY Bizview สรุปเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับ THE BODY SHOP ตั้งแต่วันที่เฟื่องฟูสู่วันยื่นล้มละลาย

ผู้นำเทรนด์เครื่องสำอางเพื่อสิ่งแวดล้อม

เมื่อปี 1976 แอนนิต้า ร็อดดิกค์ (Anita Roddick) เปิดร้านเครื่องสำอางชื่อว่า THE BODY SHOP ที่เมืองไบรตัน ประเทศอังกฤษ เพื่อหาเงินเลี้ยงตัวเองและลูก ในช่วงที่สามีเดินทางไปพักร้อนในแอฟริกา โดยได้ไอเดียมาร้านขายเครื่องสำอางที่ผลิตด้วยส่วนผสมจากธรรมชาติชื่อ THE BODY SHOP ในสหรัฐอเมริกา

เครื่องสำอางของ THE BODY SHOP มีความแตกต่างจากร้านอื่นๆ เพราะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ มีการเลือกแหล่งที่มาของวัตถุดิบอย่างพิถีพิถันจากผู้ผลิตโดยตรง ไม่มีการทดลองในสัตว์ และที่สำคัญคือมีการเปิดให้ refill สินค้าได้ ซึ่งไอเดียนี้เกิดมาด้วยความบังเอิญ ตอนนั้นเธอซื้อขวดบรรจุภัณฑ์มาจากโรงพยาบาลใกล้เคียง แล้วแปะฉลากที่เขียนด้วยลายมือ แต่ขวดไม่พอ จึงเปิดโมเดลธุรกิจใหม่ ให้ลูกค้านำขวดเก่ามาเติมสินค้าในร้านได้

สินค้าที่เธอขายยังมีลูกเล่นสนุกๆ เช่น สบู่รูปสัตว์ แชมพูกลิ่นกล้วย ทำให้หลังจากเปิดร้านได้เพียง 6 เดือน ธุรกิจก็เติบโตขึ้น จนในปี 1980 ร้าน THE BODY SHOP กลายเป็นหนึ่งในร้านชั้นนำของอังกฤษเลยทีเดียว และในปี 1984 บริษัทก็เข้าตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน

นอกจากนี้ THE BODY SHOP ยังออกมารณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมอีกในหลายประเด็น ทั้งการต่อต้านการทดลงสินค้าในสัตว์ หรือร่วมมือกับ Greenpeace ทำเคมเปญส่งเสริมการใช้โจโจ้บาออย แทนการใช้น้ำมันจากปลาวาฬ

พอเปิดร้านได้ประมาณสิบปี อุปสรรคก็เริ่มเข้าถาโถม เมื่อ มาร์ก คอนสแตนติน (Mark Constantine) และอลิซาเบธ เวียร์ (Elizabeth Weir) ซัพพลายเออร์รายใหญ่ของ The Body Shop ก็ออกมาเปิดร้านเครื่องสำอางของตัวเองชื่อว่า Lush Cosmetics ที่มีคอนเซปต์เดียวกันและยังสามารถแย่งส่วนแบ่งการตลาดของ THE BODY SHOP ไปได้อีกด้วย

รวมไปถึงแบรนด์อื่นๆ ที่เริ่มหันมาทำการตลาดเครื่องสำอางเพื่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

เปลี่ยนมือเจ้าของ 3 ราย

จนกระทั่งในปี 2006  L’Oréal ก็เข้าซื้อกิจการ THE BODY SHOP ในราคา 642 ล้านปอนด์ หรือเกือบ 30,000 ล้านบาท สื่อต่างประเทศหลายสำนักรายงานถึงข้อกังขาของดีลในครั้งนี้ว่า L’Oréal เป็นบริษัทที่ทดลองสินค้าในสัตว์ก่อนวางจำหน่าย ส่วนผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดก็มองว่า THE BODY SHOP มีรูปแบบการขายแบบร้านค้าปลีก ซึ่งไม่ใช่รูปแบบการขายที่ L’Oréal ถนัด

มาร์ก คอนสแตนติน เจ้าของ Lush Cosmetics เคยพูดถึงกรณีการซื้อกิจการนี้ไว้กับสำนักข่าว The Guardian ว่า “ทั้งๆ ที่ก็รู้อยู่แล้วว่างานแต่งงานจะจบทั้งน้ำตา แต่ยังรู้สึกเหมือนเห็นลูกสาวตัวเองแต่งงานกับผู้ชายผิดคน ” 

เพราะเขามองว่า L’Oréal จะบริหารแบบนักการตลาดที่มองยอดขายมากกว่ามองอุดมการณ์ของแบรนด์

อย่าลืมว่าประวัติอันยาวนานของ THE BODY SHOP ที่สั่งสมชื่อเสียงไว้คือความน่าเชื่อถือของแบรนด์ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมสูงสุด แบรนด์เคยได้รับการรับรอง ‘B Corp’ หรือมาตรฐานสูงสุดในการตรวจกิจการที่ดำเนินการเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคมมาแล้วในปี 2019

ทั้งหมดเป็นไปตามคาดการณ์ของ มาร์ก คอนสแตนติน ขณะเดียวกันยุคนี้สินค้าที่มีรูปแบบคล้ายกับ THE BODY SHOP มีวางจำหน่ายตามร้านคู่แข่งอื่นๆ ผลิตภัณฑ์ก็เริ่มไม่มีความแปลกใหม่

หลังจากเป็นเจ้าของอยู่นาน 11 ปี L’Oréal ตัดสินใจขายกิจการ THE BODY SHOP ให้กับ Natura ผู้จำหน่างเครื่องสำอางรายใหญ่ของบราซิล ไปในราคา 880 ล้านปอนด์ หรือเกือบ 40,000 ล้านบาท

ผู้เชี่ยวชาญยังมองว่าถึงจะมีการเปลี่ยนมือเจ้าของแล้ว สินค้าของ THE BODY SHOP ยังขาดการพัฒนาให้เหมาะกับยุคสมัยและการแข่งขันในตลาดเหมือนเดิม ประกอบกับเศรษฐกิจที่แย่ลง ส่งผลให้ผู้บริโภคพิจารณาเรื่องจริยธรรมในการซื้อสินค้าน้อยลง แล้วหันไปโฟกัสกับความคุ้มค่ามากกว่า

ในปี 2023 ที่ผ่านมา Natura ตัดสินใจขายกิจการ THE BODY SHOP ให้กับ Aulerius เจ้าของกิจการเสื้อผ้ากีฬาและแฟชันสัญชาติเยอรมันในราคาขาดทุนที่ 207 ล้านปอนด์หรือเกือบ 10,000 ล้านบาทจากปัญหาการเงินที่เกิดขึ้นภายในบริษัท

เจ้าของใหม่ยื่นล้มละลาย อ้างว่าปัญหามาจากเจ้าของเก่า

Aulerius คาดว่าจะสามารถพลิกฟื้นร้าน THE BODY SHOP ให้กลับมาเฟื่องฟูได้อีกครั้ง ด้วยกลยุทธ์บุกตลาดออนไลน์

แต่ร้าน THE BODY SHOP จัดแคมเปญลดราคาสินค้าในช่วงคริสต์มาสและปีใหม่ ทำให้ยอดขายไม่ได้มากเท่าที่จะดูแลกิจการต่อไปได้ แถมยังพบปัญหาเงินทุนหมุนเวียนภายในกิจการที่มีอยู่ในระดับวิกฤติ

Aulerius ยังมองว่าร้านค้าที่มีอยู่ถึง 2,500 สาขาทั่วโลกอาจจะมีมากเกินความจำเป็น เพราะบางสาขาไม่สร้างรายได้ให้กับบริษัท

เมื่อเดือนที่แล้ว Aulerius เริ่มปิดกิจการ THE BODY SHOP at Home และร้านค้าในยุโรปและเอเชียบางส่วนไปแล้ว พร้อมแต่งตั้งบริษัทที่ปรึกษาธุรกิจอย่าง FRP เข้ามาเป็นผู้บริหารร่วมของบริษัท และเริ่มเข้าสู่กระบวนการบริหารจัดการล้มละลาย

สถานการณ์นี้ทำให้พนักงาน THE BODY SHOP กว่า 2,000 ชีวิตในอังกฤษกำลังเสี่ยงตกงาน

ทางบริษัทบอกถึงสถานการณ์ตอนนี้ว่า “เราพบความท้าทายด้านการเงินที่มาจากเจ้าของรายเดิม ประกอบกับสภาพเศรษฐกิจกิจและสภาพแวดล้อมที่ยากลำบากในวงการค้าปลีกขณะนี้ แต่เราจะพิจารณาแนวทางในการดำเนินธุรกิจ และจะอัพเดตสถานการณ์ให้เจ้าหนี้และพนักงานของเราต่อไป”

ส่วนในประเทศไทยมีร้าน THE BODY SHOP ทั้งหมด 34 สาขา ซึ่งร้านในประเทศไทยรวมทั้งแฟรนไชน์สาขาในต่างประเทศยังคงดำเนินการตามปกติ

อ้างอิง

https://www.bbc.com/thai/international-38927705

https://www.marketingoops.com/reports/fast-fact-reports/the-body-shop-failure-study/

https://thebodyshop.co.th/pages/our-brand-story

https://thebodyshop.co.th/pages/our-activist-heritage

https://www.theguardian.com/business/2017/apr/08/body-shop-divorce-from-loreal-looms-closer

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า