Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ขณะที่สถานการณ์โรคโควิด 19 ในประเทศจีนเริ่มดีขึ้น สวนทางกับประเทศอเมริกาที่กำลังเผชิญกับภาวะเลวร้าย บริษัทที่มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจบันเทิงในสองประเทศได้แก่บริษัท Maoyan Entertainment ผู้ให้บริการระบบจองตั๋วภาพยนตร์ออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศจีน และบริษัท EDO ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยทางด้านสื่อชื่อดังของอเมริกาได้ทำการสำรวจความเห็นของประชาชนในประเทศของตัวเอง ถึงความเป็นไปได้ที่จะกลับกลับเข้าโรงหนังอีกครั้ง หากวิกฤตการณ์โรคโควิด 19 คลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น โดยไม่ได้นัดหมาย

สำหรับประเทศจีน ผลการสำรวจระบุว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 68 ต้องการกลับไปโรงหนังอีกครั้งหลังจากสถานการณ์ดีขึ้น โดยในจำนวนนี้ ร้อยละ 30 จะกลับไปทันทีที่โรงประกาศเปิดให้บริการ ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 33 ระบุว่าจะรอประกาศอย่างเป็นทางการจากรัฐก่อนว่าสามารถควบคุมโรคได้อย่างเด็ดขาดแล้วถึงจะกลับไปดูหนังที่ดรง และกลุ่มตัวอย่างอีกร้อยละ 29% ต้องการรออีกสักพักใหญ่หลังจากประกาศอย่างเป็นทางการจากรัฐ ถึงจะกลับไปดูหนังที่โรง

ข้ามไปที่ประเทศสหรัฐอเมริกาบ้าง รายงานผลการวิจัย ที่ได้จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างจำนวน 6,809 คน สรุปได้ว่า  70% ของกลุ่มตัวอย่างมีแนวโน้มจะกลับมาดูหนังที่โรงหลังผ่านวิกฤต แต่ในจำนวนนี้มีเพียง 25% เท่านั้นที่ยืนยันว่าจะกลับมาทันทีที่โรงเปิด ขณะที่กลุ่มตัวอย่างอีก 45 % ระบุว่า ขอรอให้วิกฤตสงบจริง ๆ อย่างน้อย 2-3 อาทิตย์ และอีก 11% ขอรอให้วิกฤตจบลง 2-3 เดือนก่อน

หากพิจารณาผลสำรวจจากบริษัททั้งสองแห่ง จะพบความคล้ายกันอย่างหนึ่งคือ ไม่ว่าจะอย่างไรประชาชนทั้งสองชาติคงกลับไปดูหนังที่โรงแน่นอน เพียงแต่ว่าอาจจะยังไม่กลับไปทันทีที่โรงหนังเปิด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับการคลี่คลายของวิกฤต 

อย่างไรก็ดี รายงานการวิจัยจากทั้งสองสำนักมุ่งเน้นสำรวจพฤติกรรมของผู้ชมเป็นหลัก โดยปราศจากตัวแปรหลักอย่างมาตรการ “ระยะห่างทางการกายภาพ” ที่โรงภาพยนตร์ทุกโรงจะต้องยึดเป็นแนวปฏิบัติจนกว่าโรคโควิด 19 จะถูกควบคุมได้อย่างสมบูรณ์ มาตรการดังกล่าวอาจส่งผลต่อความสะดวกสบายในการชมภาพยนตร์ ไม่ว่าจะเป็นการเว้นระยะห่างของที่นั่ง หรือการต้องสวมหน้ากากติดใบหน้าตลอดการชม จนอาจทำให้ความกระตือรือร้นในการชมภาพยนตร์ในโรงลดลง  

หากเรายึดเอาผลการสำรวจของทั้งสององค์กรเป็นมาตรวัดพฤติกรรมของผู้ชมภาพยนตร์ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยด้วย แล้วนำมาวิเคราะห์สิ่งที่ผู้ประกอบการโรงภาพยนตร์ต้องประสบภายหลังจากได้รับอนุญาตให้เปิดกิจการได้อีกครั้ง จะพบว่า  ช่วงเวลาสองสัปดาห์แรก หรืออาจนานกว่านั้น  จะเป็นช่วงเวลาที่ท้าทายอย่างสูงของโรงภาพยนตร์ทุกแห่ง เนื่องจากผู้ชมส่วนใหญ่ จะยังไม่กลับมาโรงภาพยนตร์ในทันที  นอกจากนี้มาตการระยะห่างทางสังคมตามที่ได้กล่าวมา จะทำให้รายได้จากการขายบัตรเข้าชมลดลงไปอีกอย่างน้อย 30 %  ( ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของผู้ประกอบการแต่ละราย)  ทั้งนี้ยังไม่นับกรณีหนังฟอร์มใหญ่หลายเรื่องที่เลื่อนกำหนดฉายไปปีหน้าจนทำให้เป้าหมายด้านรายได้ที่วางไว้ต้องเปลี่ยนไป 

สิ่งที่ผู้ประกอบการโรงภาพยนตร์ทั่วโลกต้องเผชิญเหมือนกันคือ ปัญหาสภาพคล่องทางการเงินที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่โรงภาพยนตร์ถูกสั่งปิด  ครั้นพอมีโอกาสได้เปิดก็ต้องมาเผชิญกับภาวะหวาดระแวงต่อการกลับมาระบาดของโรคอีก จนทำให้เกิดความไม่คล่องตัวในการดำเนินธุรกิจ ดังนั้นสิ่งที่เราอาจเห็นจากการเคลื่อนไหวของโรงภาพยนตร์ทั่วโลก  นอกเหนือจากแผนการระยะสั้นอย่างการออกโปรโมชั่นดึงคนกลับมาโรงหนัง ก็คือ การสร้างสมดุลทางการเงินด้วยการทำอย่างไรก็ได้เพื่อให้รายได้มีสัดส่วนไม่น้อยไปกว่ารายจ่าย ซึ่งแน่นอนว่า หนึ่งในวิธีที่จะทำให้เห็นผลชัดเจนที่สุดคือ การกำหนดราคาค่าตั๋วเข้าชม

ในทัศนะของผู้เขียน ความเป็นไปได้ที่อาจเกิดขึ้น มีสองกรณีคือ หากผู้ประกอบการไม่ลดราคาค่าตั๋วหนัง จนทำให้ผู้ชมมีความรู้สึกว่าคุ้มค่ากับการเดินทางมาความสุขในภาวะฝืดเคืองทางเศรษฐกิจเช่นนี้  ก็คงขึ้นราคาค่าเพื่อชดเชยรายได้ที่หายไป แล้วรอลุ้นให้เกิดปรากฏการณ์โรงแตกจากหนังฮิตสักจำนวนหนึ่ง 

แต่ไม่ว่าผู้ประกอบการจะเลือกวิธีใด ก็ต้องรับผลตามมาอยู่ดี  การลดราคาค่าตั๋วลง อาจทำให้ผู้ชมกลับมาชมภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์มากขึ้น แต่เมื่อใดก็ตามที่โรงภาพยนตร์ตัดสินใจเพิ่มราคาค่าตั๋ว ก็จะได้รับผลกระทบในแง่ลบจากผู้ชมในทันที  ส่วนการขึ้นราคาค่าตั๋ว แม้ว่าอาจไม่มีผลกับหนังบางประเภท โดยเฉพาะหนังฟอร์มใหญ่ที่จัดเป็นหนังประเภทอีเวนท์ที่ต้องมาดูในโรงเท่านั้นถึงจะคุ้มค่า  แต่คำถามก็คือ โรงจะพึ่งพาหนังประเภทนี้ได้กี่เรื่องกันเชียว  ครั้นโรงจะยืนราคาเดิม  ผู้บริโภคที่มองว่าค่าตั๋วปัจจุบันมีราคาแพงอยู่แล้วก็จะยิ่งเห็นว่าแพงขึ้นอีกจากสภาพเศรษฐกิจเช่นนี้  ส่วนโรงเองก็อาจมองว่าราคาเดิมในภาวะเช่นนี้ อาจไม่ช่วยกอบกู้วิฤตที่ดำเนินต่อเนื่องมาอย่างต่ำสองเดือนได้ 

แต่ไม่ว่าอย่างไร สุดท้ายธุรกิจโรงภาพยนตร์ ก็ต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เป็นความท้าทายที่มีตัวแปรคือความอดทน ตราบใดที่โรคโควิด 19 ยังคงอยู่ โรงภาพยนตร์จำนวนหนึ่งในโลกนี้คงต้องหายไปจากสารระบบของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ตามวิถีทางธุรกิจ  แต่โรงภาพยนตร์ที่ยังคงอยู่ได้  หากสามารถปรับตัวเข้ากับวิถีใหม่ของธุรกิจภาพยนตร์ได้ ก็น่าจะกลับมาได้รับความนิยมเหมือนเดิม  เพราะหากยึดผลการสำรวจของ ทั้ง Maoyan กับ EDO  เป็นที่ตั้ง สุดท้ายคนก็ยังคงต้องการกลับมาดูหนังในโรงอยู่ดี เพียงแต่จะช้าหรือเร็วเท่านั้นเอง

บทความโดย ภาณุ อารี ผู้อำนวยการฝ่ายจัดซื้อภาพยนตร์ต่างประเทศ สหมงคลฟิล์ม

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า